รับมือป้องกันอุบัติเหตุสงกรานต์ มุ่งเน้น ‘7 วันแห่งความปลอดภ

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

รับมือป้องกันอุบัติเหตุสงกรานต์ มุ่งเน้น ‘7 วันแห่งความปลอดภ

Post by brid.ladawan »

รับมือป้องกันอุบัติเหตุสงกรานต์ มุ่งเน้น ‘7 วันแห่งความปลอดภัย’

เหลืออีกไม่ถึง 1 เดือน ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ไทย ในช่วงวันที่ 12-16 เม.ย. 57 เป็นวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน และเป็นช่วงเวลาที่มีประชาชนจำนวนมากใช้รถใช้ถนนในการเดินทางกลับภูมิลำเนาตามต่างจังหวัด

เหลืออีกไม่ถึง 1 เดือน ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ไทย ในช่วงวันที่ 12-16 เม.ย. 57 เป็นวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน และเป็นช่วงเวลาที่มีประชาชนจำนวนมากใช้รถใช้ถนนในการเดินทางกลับภูมิลำเนาตามต่างจังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศเพื่อปฏิบัติตามประเพณีสงกรานต์ด้วยการรดน้ำดำหัวขอพรจากญาติผู้ใหญ่ และท่องเที่ยวไปตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ๆ

เพื่อความปลอดภัยของพ่อแม่พี่น้องประชาชนคนไทยในปีนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. จึงได้เตรียมมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 ภายใต้หัวข้อในการรณรงค์ว่า “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยสงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เตรียมความพร้อมในส่วนของตำรวจ พร้อมบูรณาการในการร่วมปฏิบัติกับหน่วยงาน คณะบุคคล รวมถึงบุคคลนอกหน่วย เพื่ออำนวยความสะดวกปลอดภัยสูงสุดให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลนี้

อย่างไรก็ดี สตช.ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ จริตเอก ผู้ช่วย ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการจราจรทั้งประเทศดูแลรับผิดชอบเร่งหามาตรการป้องกัน หลังจากเพิ่งจะผ่านการทำงานในช่วงเทศกาลปีใหม่มาไม่นานเท่าไรนัก พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ กล่าวกับทีมข่าวเดลินิวส์ว่า เมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา มีประชาชนเป็นจำนวนมากใช้รถใช้ถนนในการเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยว จากข้อมูลและบทเรียนได้สรุปว่ามีสถิติการเกิดอุบัติเหตุขึ้น 2,828 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 3,040 คน และผู้เสียชีวิต 321 คน และสถิติย้อนหลัง 3 ปี พบว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ระหว่างปี 54-56 มีอุบัติเหตุเฉลี่ยวันละ 437 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บเฉลี่ยวันละ 468 คน ผู้เสียชีวิตวันละ 43 คน

จากการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ยังหนีไม่พ้นคือ เมาสุรา,การขับรถเร็ว และตัดหน้ากระชั้นชิด ส่วนใหญ่จะเกิดกับรถจักรยานยนต์ รถปิกอัพปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด พบว่ามี 3 ปัจจัยหลักคือ 1.ด้านคน ความไม่พร้อมของร่างกาย มีอาการง่วง เพลียขณะขับขี่เป็นระยะเวลานาน ไม่คุ้นเคยเส้นทาง ไม่มีวินัยในการขับขี่ ขาดความระมัดระวัง 2.ด้านกายภาพทางถนน เป็นหลุมเป็นบ่อ อยู่ระหว่างการปรับปรุงซ่อมแซม ทางลาดชันลงเขา และ 3.ด้านยานพาหนะ รถจักรยานยนต์มีสภาพไม่ปลอดภัย อุปกรณ์ส่วนควบไม่ครบถ้วน ยานพาหนะมีสภาพไม่ปลอดภัย มีการดัดแปลงสภาพ เมื่อบรรทุกเกินอัตรา โดยภาพรวมการดำเนินการทั่วประเทศได้ตั้งเป้าหมายการดำเนินการไว้คือให้ลดจำนวนครั้งในการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้บาดเจ็บและจำนวนผู้เสียชีวิตให้ลดลงเหลือน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงสงกรานต์ปีที่ผ่านมา

ผู้ช่วย ผบ.ตร.กล่าวต่อว่า สำหรับการปฏิบัติงานของตำรวจในปีนี้ ได้เริ่มวางแผนเตรียมความพร้อมประชุม ซักซ้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภายใต้ฐานข้อมูลปรากฏตามรายการดังนี้ 1.สำรวจจุดเสี่ยง 2,317 จุด 2.จุดตรวจจุดสกัดและตรวจจับความเร็ว 2,971 จุด (ใช้กำลังตำรวจ 39,531 นาย) 3.จุดบริการ 2,272 จุด (ใช้กำลังตำรวจ 24,304 นาย) 4.ชุดตรวจเคลื่อนที่ 2,042 ชุด (ใช้กำลังตำรวจ 10,453 นาย) 5.ชุดตรวจแอลกอฮอล์ 1,665 ชุด (ใช้กำลังตำรวจ 9,352 นาย) รวมใช้กำลังตำรวจทั้งสิ้นประมาณ 83,640 นาย

นอกจากนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำชับให้ตำรวจทั่วประเทศปฏิบัติงานแต่ละพื้นที่ โดยจะต้องวิเคราะห์สถิติการเกิดอุบัติเหตุ ให้รู้ว่า จุดใดที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ศึกษาถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ นำผลการปฏิบัติที่ผ่านมาเป็นบทเรียน เพื่อนำมากำหนดเป็นเป้าหมายการปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ เพื่อวางมาตรการป้องกันและหาทางแก้ไขให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง ตามสภาพพื้นที่เป็นการป้องกันในแต่ละพื้นที่เฉพาะใน 1,465 สถานี และ 41 สถานีตำรวจทางหลวง ตามหลักการแก้ปัญหาและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

โดยกำชับให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องนำมาตรการและแนวทางการปฏิบัติที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สั่งการหรือกำชับไป ให้นำไปถ่ายทอดลงสู่ผู้ปฏิบัติให้เกิดความเข้าใจ พร้อมจัดให้มีการประชุมชี้แจงตำรวจในเรื่องการปฏิบัติให้เข้าใจทุกขั้นตอน และได้ผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง และเตรียมความพร้อมในด้านกำลังพล อุปกรณ์เครื่องมือ ที่ใช้ในขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะเครื่องตรวจวัดความเร็ว และเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ อีกทั้งยังได้จัดเตรียมจุดบริการประชาชนหรือจุดพักรถ ให้พร้อม มีเครื่องดื่ม กาแฟ ผ้าเย็น ห้องน้ำสะอาด เพื่อให้คนขับ ผู้โดยสาร ประชาชนได้ผ่อนคลาย เกิดความสดชื่น ตื่นตัว ในระหว่างการเดินทางอีกด้วย

ที่สำคัญยังเปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถสอบถามขอคำแนะนำหรือขอความช่วยเหลือได้ ที่ สายด่วน 1197 และ 1193 นอกจากนี้ยังประชาสัมพันธ์เส้นทางการให้บริการสาธารณะให้ประชาชนทราบมากที่สุดในทุกช่องทาง ทุกสื่อแขนงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จส.100 (สถานีวิทยุข่าวและการจราจร) สวพ.91 (สถานีวิทยุเพื่อความปลอดภัยและการจราจร) เอฟเอ็ม 99.5 (เครือข่ายจราจรเพื่อสังคม)

สำหรับช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ปี พ.ศ. 2557 จะเริ่มหยุดและเดินทางกันตั้งแต่วันศุกร์ที่ 11 เม.ย.57 ซึ่งจะมีเวลาเดินทางประมาณ 2-3 วัน ส่วนวันหยุดราชการ จะเริ่มตั้งแต่ 12-16 เม.ย.57 บางส่วนจะเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ เพื่อรีบกลับมาทำงานในวันที่ 17 เม.ย. (แต่บางส่วนอาจหยุดต่ออีก 2 วันคือวันพฤหัส-ศุกร์และเดินทางกลับในช่วงเสาร์-อาทิตย์ 19-20 เม.ย.) จึงได้เน้นย้ำทุกหน่วยทั้ง บช.ภ.1-9, บช.ก. และ บช.น. เริ่มวางแผนปรับแผนการจัดกำลังให้มีการสับเปลี่ยนกำลังตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ในช่วง 7 วัน (11-17 เม.ย.)

พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในส่วนการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดทั้งถนนสายหลัก ถนนสายรอง เส้นทางเสี่ยง เส้นทางลัด รวมทั้งการเตรียมเปิดช่องทางเดินรถพิเศษนั้น เตรียมวางกำลังเน้น 2 วันแรก และ 2 วันหลังของเทศกาลสงกรานต์ ให้แต่ละหน่วยกำหนด “ผบ.เหตุการณ์” พื้นที่เพื่อกำกับดูแลสั่งการแก้ไขกรณีที่มีปัญหา โดยจะมีกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และกองบังคับการตำรวจทางหลวง (บก.ทล.) ร่วมประสานการปฏิบัติการควบคุมสั่งการในการอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาการจราจรในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สถานการณ์ คือมุ่งเน้นช่วงปฏิบัติการเข้มข้นจากที่เรียกกันมานานว่า “7 วันอันตราย” เพื่อเปลี่ยนเป็น “7 วันแห่งความปลอดภัย”.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่18 มีนาคม 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”