ปุ๋ยละลายช้าลดต้นทุนการเกษตร

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

ปุ๋ยละลายช้าลดต้นทุนการเกษตร

Post by brid.ladawan »

ปุ๋ยละลายช้าลดต้นทุนการเกษตร

วว. ผลิตปุ๋ยละลายช้า หวังเพิ่มมูลค่าน้ำเสีย ลดต้นทุนภาคเกษตร ระบุคุณสมบัติเด่นมีอัตราการละลายต่ำ พืชสามารถนำแร่ธาตุไปใช้ได้ยาวนาน

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า จากปัญหาน้ำเสียส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและเป็นหนึ่งในต้นทุนการผลิตซึ่งภาคอุตสาหกรรมจะต้องให้ความสำคัญในการบริหารจัดการ ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร วว. จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าน้ำเสีย โดยการผลิตเป็นปุ๋ยละลายช้า ให้อยู่ในรูปของเกลือ MAP (Magnesium Ammonium Phosphate) โดยใช้หลักการนำแร่ธาตุที่มีประโยชน์ในน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ได้สำหรับการเพาะปลูก

“ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศในแถบยุโรป ได้หันมาสนใจปุ๋ยละลายช้า ในรูปของเกลือ MAP มากขึ้น ด้วยคุณสมบัติเด่นคือ เมื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยจะมีอัตราการละลายที่ต่ำ พืชสามารถนำแร่ธาตุไปใช้ได้ยาวนาน ซึ่งจะทำให้ปริมาณการใช้ปุ๋ยต่อพื้นที่ไร่น้อยกว่าปุ๋ยเคมีทั่วไป การใส่ปุ๋ยลงไปในดินเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยพืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้อย่างเต็มที่ และมีการสูญเสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้หากมีการใช้ปุ๋ยละลายช้าอย่างแพร่หลายจะช่วยลดต้นทุนในภาคเกษตรกรรมได้...”ผู้ว่าการ วว. กล่าว

นางพัทธนันท์ นาถพินิจ นักวิจัย ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร กล่าวว่า การผลิตปุ๋ยละลายช้า หรือเกลือ MAP สามารถทำได้ง่าย เนื่องจากในน้ำเสียมีแร่ธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัสอยู่สูง โดยเฉพาะน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมผลิตเอทานอลจากโมลาส ฟาร์มสุกร และน้ำเสียชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้การตกตะกอนเกลือ MAP จากน้ำเสียชุมชน หรือน้ำเสียจากฟาร์มสุกรได้มีการศึกษากันมากขึ้น เพื่อลดปริมาณแร่ธาตุที่มีประโยชน์ในน้ำเสีย และเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการบูมของสาหร่าย ในต่างประเทศ ได้แก่ ตรุกี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ กรีซ และสเปน นิยมใช้ปุ๋ย MAP ในการเพาะปลูก

โดยมีอัตราการใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดพืช และลักษณะ โดยเฉลี่ยอัตราการใช้ปุ๋ย MAP ของแต่ละประเทศทั่วโลกอยู่ที่ 116 กก./เฮกแตร์ ซึ่งมีร้อยละการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับประเทศไทยในปี 2552 มีการนำปุ๋ยเคมีเข้าจากต่างประเทศ 3.9 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 42,000 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร, 2553) โดยมีราคาซื้อขายปุ๋ยเคมีในประเทศประมาณ 10,500-10,700 บาท/50 กก. ขึ้นกับเกรดและอัตราส่วนของปุ๋ย (สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย, 2553)

สำหรับมูลค่าทางการตลาดของปุ๋ย MAP จากการตกตะกอนออกจากน้ำเสียในต่างประเทศ พบว่าอยู่ที่ 275.47-2,254.71 ดอลล่าร์ต่อตันโดยในต่างประเทศได้มีการตั้งโรงงานระดับเชิงอุตสาหกรรมในการตกตะกอนเกลือ AP ออกจากน้ำเสีย

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 18 มีนาคม 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”