Page 1 of 1

สมการที่สุดแห่งศตวรรษ ? - รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

Posted: 19 Mar 2014, 14:13
by brid.ladawan
สมการที่สุดแห่งศตวรรษ ? - รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

ในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของศตวรรษได้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ และต่อยอดมาเป็นสมการ E = mc 2 อันโด่งดังที่สุดในโลก

ในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของศตวรรษได้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ และต่อยอดมาเป็นสมการ E = mc 2 อันโด่งดังที่สุดในโลกสมการหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกของเราไปอย่างสิ้นเชิง และต่อมาถูกพัฒนาจนกลายเป็นที่มาของระเบิดปรมาณู

จนถึงศตวรรษที่ 21 ในทุกวันนี้ สมการต่าง ๆ ก็ยังคงถูกนำเสนอและคิดค้นขึ้นมาอย่างต่อเนื่องครับ และในปีค.ศ. 2013 นี้เองมีการพูดถึงสมการหนึ่งซึ่งนักวิชาการหลายคนถึงขนาดเปรียบเปรยว่าโดดเด่นใกล้เคียงกับสมการของไอน์สไตน์ในศตวรรษที่ 20 โดยสมการนี้มีชื่อว่า Equation of Intelligence ซึ่งผมขอเรียกว่า “สมการแห่งความฉลาด”

สมการแห่งความฉลาดที่ผมพูดถึงนี้ถูกคิดค้นโดย Dr. Alex Wissner-Gross นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันจากฮาร์วาร์ดและ MIT ซึ่งสมการสั้น ๆ ที่เขาคิดขึ้นนี้ให้ความหมายของความฉลาดไว้ว่า “Intelligence = Maximizing diversity of future options” หรือก็คือ “ความฉลาดคือกระบวนการอันเป็นรูปธรรม ที่คนหรือสัตว์หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์พยายามขวนขวายเพื่อจะให้ได้มาซึ่งทางเลือกในอนาคตที่มากขึ้นและหลากหลายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

ฟังดูแล้วเข้าใจยากน่าดูนะครับความหมายนี้ ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ อย่างนี้ดีกว่าครับ เช่น ตอนผมเรียนมัธยม ที่ต้องตั้งใจอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ตั้งใจทำคะแนนเอนทรานซ์ให้ได้สูง ๆ ทั้งหมดนั้นก็เพื่อเปิดทางเลือกอนาคต ให้ตัวผมเองมีสิทธิเลือกเข้าเรียนได้ในหลายมหาวิทยาลัย พอเข้ามหาวิทยาลัยได้ ที่ผมต้องตั้งใจเรียนให้ได้เกียรตินิยมก็เพื่อจะเตรียมทางเลือกขั้นต่อไปในอนาคต ให้ตัวเองได้เป็นผู้มีคุณสมบัติในการสอบชิงทุนต่าง ๆ เพื่อไปเรียนต่อต่างประเทศ พอเรียนจนจบปริญญาเอกได้ ตอนนี้ผมเองก็ยังคงพยายามต่อครับ ต้องสอน ต้องทำวิจัย ต้องขอตำแหน่งวิชาการ ถามว่าที่ทำอยู่ทุกวันนี้เพื่ออะไร ผมไม่ได้ทำโดยมีจุดมุ่งหมายว่าอยากจะฉลาดขึ้น ๆ แต่ทำเพื่อสร้างทางเดินในอนาคตของผมให้มันมากขึ้นและกว้างขึ้นไปได้อีก ซึ่งก็บังเอิญว่าสิ่งที่ทำนี้มันทำให้ความรู้ความฉลาดเพิ่มขึ้นเองโดยปริยาย

นี่ล่ะครับคือตัวอย่างของสมการนี้ ซึ่งก็ไม่จำกัดแค่เฉพาะมิติในการเรียน แต่ใช้ได้กับองค์ความรู้ด้านอื่น ๆ ได้ด้วย ผมลองเอาสมการของเขามาคิดวิเคราะห์และตั้งคำถามเพิ่มเติมครับ ว่าอย่างนี้แปลว่าคนที่มีทางเลือกเยอะคือฉลาดกว่าคนที่มีทางเลือกน้อยหรือ? ซึ่งด้วยสามัญสำนึกก็คงตอบว่าไม่ใช่ ทางเลือกเยอะหรือน้อยไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าใครจะฉลาดมากกว่าหรือน้อยกว่ากัน คนที่ทั้งชีวิตมีทางเดียวให้เดินอาจมีความฉลาดมากกว่าคนที่มีทางเป็นสิบเป็นร้อยทางให้เดินหรือในทางกลับกันก็เป็นได้ แต่สิ่งที่คนทางเลือกเยอะเหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัดก็คือโอกาสครับ โอกาสที่จะเพิ่มพูนความฉลาดให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังมีทางอีกมากมายให้เลือกเดินต่อไป

ผมเทียบเคียงกับเหตุการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบันเลยละกันครับ ซึ่งก็เหมือนกับการเลือกทางขับไล่รัฐบาลด้วยการออกมาประท้วงโดยปฏิเสธข้อต่อรองใด ๆ สถานการณ์ตอนนี้จะเห็นว่าเส้นทางประท้วงที่เลือกนี้บีบทางไปต่อในอนาคตให้เหลือแค่สองทาง ทางหนึ่งถ้าชนะฝ่ายประท้วงก็สมหวังเต็มร้อย ได้ไปต่อในทางที่ดูแล้วยังเดินต่อไปได้อีกไกล แต่อีกทางนึงถ้าแพ้ขึ้นมา คนที่ออกมาประท้วงก็ต้องเป็นกบฏ ฝ่ายรัฐบาลก็สมหวังเต็มที่ เรียกว่าทางเดินต่อแทบจะถูกหั่นขาดกันตรงนั้นเลย แต่หากเราเลือกวิธีการอื่น แม้ว่าผลที่ได้สำหรับทั้งสองฝ่ายอาจจะไม่ได้สมการที่สุดแห่งศตวรรษ ? - รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยีถูกใจเต็มร้อยไปเสียหมด แต่สิ่งที่มีแน่ ๆ คือโอกาสที่มากกว่าสองทาง ที่จะมีให้เลือกไปต่อได้โดยไม่ต้องเสี่ยง
ดวง 50:50 กับทางตัน ซึ่งอย่างที่บอกไปข้างต้นนะครับ ทางเลือกน้อยหรือมากไม่ได้ตัดสินความฉลาดหรือความสำเร็จว่าน้อยหรือมาก แต่เป็นการประกันมากกว่าว่าเส้นทางแห่งความฉลาดเราจะยังคงแตกแขนงทอดยาวต่อไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

สมการสั้น ๆ ที่ดูเหมือนง่ายนี้ เอาจริง ๆ เห็นไหมครับว่าเข้าใจยากไม่เบา ในแวดวงวิชาการก็ยังถกเถียงกันอยู่ครับว่าจะพิสูจน์สมการนี้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรดี ซึ่งงานนี้ก็คงต้องให้เวลาพิสูจน์กันสักหน่อย อ่านจนถึงตอนนี้แล้วคุณผู้อ่านก็มีทางเลือกเพิ่มขึ้นแล้วนะครับ เราจะเลือกแนวไหน ระหว่างทุบหม้อข้าวตีเมือง ซึ่งถ้าสำเร็จเส้นทางเดินต่อสำหรับเพิ่มพูนความฉลาดก็คงไปได้อีกไกล แต่ถ้าพลาดเส้นทางก็ตันไปต่อไม่ได้เลย หรือจะเลือกแนวนักบริหารความเสี่ยง เปิดโอกาสให้ตัวเองมีทางเลือกมากที่สุดเพื่อการันตีว่าหนทางข้างหน้าเรายังจะได้ไปต่อ ยังมีทางให้ได้พัฒนาความฉลาดต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่เจอทางตัน.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่19 มีนาคม 2557