Page 1 of 1

"เรืองศักดิ์” นำร่องรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยในเด็ก

Posted: 20 Mar 2014, 17:20
by brid.ladawan
"เรืองศักดิ์” นำร่องรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยในเด็ก

"เรืองศักดิ์” นำร่องรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยในเด็ก เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิต

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.)พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ จริตเอก ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประชุมหารือกับผู้แทนมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชียและองค์การ Save thechildren ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยในเด็กโดย พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ กล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นในแต่ละปีส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมหาศาล โดยในช่วง 10ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้เสียชีวิติจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 100,000 คนหรือเฉลี่ยวันละ 30 คน โดยร้อยละ 70-80 เกิดอุบัติเหตุกับผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งสาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิตก็คือการบาดเจ็บที่ศรีษะอย่างรุนแรงเนื่องจากการไม่สวมหมวกนิรภัย โดยในปี 2554 คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติกำหนดให้ปี 2554 เป็นปีแห่งการรณรงค์การสวมหมวกนิรภัย 100%ต่อมาครม. ได้มีมติให้ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย100% ต่อไปอีก 3 ปี(พ.ศ.2555-2557) เพื่อเพิ่มสถิติผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ให้สวมหมวกนิรภัยมากขึ้นทุกปีและเพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิต ของผู้ขับขี่และผู้โดยสารจากการใช้รถจักรยานยนต์

พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ กล่าวว่ามีโครงการที่จะทำให้เป็นรูปธรรมคือโครงการที่จะมุ่งให้เกิดผลดีของการใช้หมวกนิรภัยในเด็กและเยาวชนให้มากที่สุดจากนั้นก็ทำโครงการธนาคารหมวกนิรภัยในโรงเรียน, การบังคับใช้กฎหมาย,เร่งประชาสัมพันธ์ในที่สาธารณะต่างๆ, มีการหาและช่วยเหลือหมวกนิรภัยให้กับเด็กตามสถานีบริการน้ำมัน,หมวกนิรภัยสำหรับนักเรียนที่สามารถซื้อและหาได้แบบสะดวกและมีหมวกนิรภัยตามวินมอไซค์รับจ้างประกอบกับสิ่งที่ต้องทำคือการเจริญของวิทยาศาสตร์โดยการจัดหาหมวกนิรภัยที่มีความปลอดภัยสูงในรูปแบบหมวกพับได้เพื่อสะดวกในการพกพาซึ่งยกตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นที่ใช้หมวกนิรภัยและสามารถปรับให้ใช้ได้โดยไม่รังเกียจและใช้ได้ทุกคนและได้มาตราฐานสูงสุดในโลกโดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเร่งดำเนินการในเรื่องหมวกนิรภัย

ด้านนางรัตนวดี เหมนิธิ วินเธอร์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย กล่าวว่า โคงการ SHIFT ได้ทำการทดลองมา4 วิธี ได้แก่ 1.การทำธนาคารหมวกนิรภัยผลที่ได้คือมีการยืมหมวกนิรภัยสูงแต่จำนวนนักเรียนที่ใส่หมวกนิรภัยที่ยืมไปมีจำนวนน้อยมาก 2.จัดจุดบริการรถจักรยานยนต์รับจ้างกับหมวกนิรภัยผลที่ได้คือผู้โดยสารที่เป็นเด็กยอมรับและใส่หมวกนิรภัยแต่อัตราการสวมหมวกนิรภัยยังคงน้อย 3.จัดจุดบริการสถานนีน้ำมันกับหมวกนิรภัย ผลที่ได้คือยอดจำหน่ายหมวกนิรภัยกับเด็กน้อยมาก และ 4.การใช้กฏหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจผลที่ได้คืออัตราเพิ่มการใส่หมวกนิรภัยทำได้อย่างจำกัดส่วนโครงการที่จะนำมาเสนอในวันนี้จะมีการสำรวจก่อนที่จะปฏิบัติการทดลองเพื่อต้องการทราบว่าเด็กจะมีการสวมหมวกนิรภัยกี่เปอร์เซ็นต์และหลังจากที่ทำการทดลองจะเพิ่มปริมาณกี่เปอร์เซ็นต์

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 20 มีนาคม 2557