Page 1 of 1

กรมอุทยานฯ จัดทัพกวาดล้างแก๊งลอบตัดไม้พะยูง

Posted: 04 Apr 2014, 13:49
by brid.ladawan
กรมอุทยานฯ จัดทัพกวาดล้างแก๊งลอบตัดไม้พะยูง

อย่างไรก็ตามไม้พะยูง ที่ถูกตัดส่วนใหญ่อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี จากนั้นจะแปรรูปเพื่อสะดวกต่อการขนย้าย จากนั้นจะนำไปรวบรวมซุกซ่อนบริเวณอ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ บ่อน้ำ และไร่นาของชาวบ้าน

นายนิพนธ์ โชติบาล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ลักลอบตัดไม้พะยูง ยังคงมีอยู่อย่างรุนแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่อยลงมาถึงภาคตะวันออก ครอบคลุม จ.ขอนแก่น หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสระแก้ว

อย่างไรก็ตามไม้พะยูง ที่ถูกตัดส่วนใหญ่อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี จากนั้นจะแปรรูปเพื่อสะดวกต่อการขนย้าย จากนั้นจะนำไปรวบรวมซุกซ่อนบริเวณอ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ บ่อน้ำ และไร่นาของชาวบ้าน รอการขนย้ายข้ามชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านตลอดแนวลำน้ำโขง และพื้นที่แนวชายแดนติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา เพื่อรวบรวมส่งไปยังประเทศปลายทางที่มีคำสั่งซื้อ

ทั้งนี้จาก สถิติการจับกุมตั้งแต่ ปี 2552 สามารถจับกุมได้ 134 คดี ปี 2553 จับกุมได้ 223 คดี ปี 2554 จับกุมได้ 687 คดี ปี 2555 จับกุมได้ 1,190 คดี และปี 2556 จับกุมได้ 1,619 คดี ขณะที่ปี 2557 เพียง 2 เดือนเศษจับ กุมได้ถึง 484 คดี โดยกรมอุทยานฯ จึงมีมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูง คือ

1. การป้องกันและปราบปรามไม่ให้ไม้พะยูง ถูกตัดโดยร่วมกับทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน และฝ่ายปกครอง เพิ่มความเข้มงวดและความถี่ในการลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งได้มีการสนธิกำลังร่วมกันลาดตระเวนในพื้นที่ที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่กลุ่มป่ามรดกโลกป่าดงพญา เย็น–เขาใหญ่ พื้นที่กลุ่มป่าพนมดงรัก และพื้นที่กลุ่มป่าภูพาน

2. การตรวจสอบการเคลื่อนย้ายและการครอบครองไม้พะยูงที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครองและป่าไม้ รวมทั้งตั้งด่านและจุดสกัดการลักลอบเคลื่อนย้ายตามเส้นทางเข้า–ออกพื้นที่ป่าอนุรักษ์และเส้นทางอื่น ๆ ที่ล่อแหลม

3. การป้องกันและปราบปรามไม่ให้ไม้พะยูงออกนอกประเทศ โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจตระเวนชายแดน ศุลกากร ทหารเรือ และกองกำลังเฉพาะกิจตามแนวชายแดน ในการประสานการปฏิบัติงานด้านการข่าวและสืบสวน เพื่อสกัดกั้นการลักลอบนำไม้พะยูงออกนอกประเทศทุกรูปแบบ

4. การควบคุมการนำเข้า-ส่งออกไม้พะยูง โดยขอความร่วมมือและสนับสนุนให้ประเทศภาคี อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)ให้ช่วยสกัดกั้นและเข้ม งวดในการตรวจสอบการนำเข้าไม้พะยูงจากประเทศไทย

ส่วนมาตรการด้านการส่งเสริมและพัฒนา ได้แก่ 1. การร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาวิจัยในการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของไม้พะยูง 2. การประชาสัมพันธ์และปลุกจิตสำนึกให้กับประชาชน และ 3. การส่งเสริมให้ภาคเอกชนปลูกไม้พะยูงในพื้นที่ป่า เพื่อเพิ่มจำนวนและทดแทนไม้พะยูงที่ถูกลักลอบตัด ตลอดจนการส่งเสริมปลูกสวนป่าไม้พะยูง เพื่อลดการลักลอบตัดไม้พะยูงจากธรรมชาติ

“กรมอุทยานฯ ให้ความสำคัญมาก กับการดำเนินการป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูง เพราะถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ รวมทั้งขอความร่วมมือจากประชาชน หากพบการกระทำผิด ช่วยแจ้งเบาะแสมายังสายด่วนกรมอุทยานฯ 1362 เพื่อเข้าตรวจสอบและหากพบการ กระทำผิดจะมีการจับกุมดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดทันที”.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่1 เมษายน 2557