Page 1 of 1

‘โรงไฟฟ้าเคลื่อนที่’ ฝีมือนักวิจัยทหาร - ฉลาดคิด

Posted: 27 Jun 2014, 10:08
by brid.siriwan
‘โรงไฟฟ้าเคลื่อนที่’ ฝีมือนักวิจัยทหาร - ฉลาดคิด

โชว์ฝีมืองานวิจัยด้านความมั่นคงของประเทศ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2557 ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือวช . จัดขึ้นที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายนนี้

โชว์ฝีมืองานวิจัยด้านความมั่นคงของประเทศ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2557 ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือวช . จัดขึ้นที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายนนี้

กับผลงานที่น่าสนใจ “ระบบสูบน้ำและผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบลากจูง” ของกองพลังงานทดแทน กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ซึ่งหากได้รู้ถึงประโยชน์การใช้งานแล้ว คงต้องเรียกได้ว่าเป็นเสมือน “โรงไฟฟ้าเคลื่อนที่” นั่นเอง

นักวิจัยในโครงการซึ่งเป็นกำลังพลของกรมการพลังงานทหาร บอกว่า นี่คือต้นแบบเครื่องแรกและเครื่องเดียวในประเทศไทย ที่นอกจากจะสูบน้ำได้แล้วยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้งานได้อีกด้วย

โดยระบบดังกล่าวออกแบบมาเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าให้กับฐานปฏิบัติการของกองกำลังป้องกันชายแดน รวมถึงหน่วยงานทหารที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สายส่งไฟฟ้าไปไม่ถึง

ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังการผลิต 1.2 กิโลวัตต์

กำลังการผลิตขนาดนี้ ?‘โรงไฟฟ้าเคลื่อนที่’ ฝีมือนักวิจัยทหาร - ฉลาดคิด?
?‘โรงไฟฟ้าเคลื่อนที่’ ฝีมือนักวิจัยทหาร - ฉลาดคิด?

‘โรงไฟฟ้าเคลื่อนที่’ ฝีมือนักวิจัยทหาร - ฉลาดคิด

โชว์ฝีมืองานวิจัยด้านความมั่นคงของประเทศ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2557 ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือวช . จัดขึ้นที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายนนี้

โชว์ฝีมืองานวิจัยด้านความมั่นคงของประเทศ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2557 ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือวช . จัดขึ้นที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายนนี้

กับผลงานที่น่าสนใจ “ระบบสูบน้ำและผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบลากจูง” ของกองพลังงานทดแทน กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ซึ่งหากได้รู้ถึงประโยชน์การใช้งานแล้ว คงต้องเรียกได้ว่าเป็นเสมือน “โรงไฟฟ้าเคลื่อนที่” นั่นเอง

นักวิจัยในโครงการซึ่งเป็นกำลังพลของกรมการพลังงานทหาร บอกว่า นี่คือต้นแบบเครื่องแรกและเครื่องเดียวในประเทศไทย ที่นอกจากจะสูบน้ำได้แล้วยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้งานได้อีกด้วย

โดยระบบดังกล่าวออกแบบมาเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าให้กับฐานปฏิบัติการของกองกำลังป้องกันชายแดน รวมถึงหน่วยงานทหารที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สายส่งไฟฟ้าไปไม่ถึง

ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังการผลิต 1.2 กิโลวัตต์

กำลังการผลิตขนาดนี้ นักวิจัยบอกว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานในสำนักงานหนึ่งสำนักงานทีเดียว

นอกจากนี้บนรถลากจูงยังติดตั้งปั๊มสูบ

น้ำที่สามารถสูบน้ำได้ทั้งน้ำผิวดินและใต้ดิน

สำหรับใช้งานในภารกิจทหารหรือภารกิจบรรเทาสาธารณภัยได้

สำหรับการออกแบบระบบ ประกอบไปด้วยชุดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 150 วัตต์ จำนวน 8 แผง ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (DC) จ่ายไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ควบคุมการประจุไฟฟ้า เพื่อประจุไฟฟ้าเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่

จากนั้นกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (AC) ขนาด 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ จ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในสำนักงานรวมถึงเครื่องมือสื่อสาร

ส่วนรถบรรทุกพ่วงลากจูง สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่า 2,500 กิโลกรัม

นักวิจัย บอกอีกว่า ระบบนี้สามารถประจุไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ในตอนกลางวันเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ที่รองรับการใช้งานตอนกลางคืนได้ถึง 8 ชั่วโมง สามารถลากจูงไปใช้ในพื้นที่สนามรบหรือพื้นที่ประสบภัยได้ทันที

ปัจจุบันต้นแบบถูกนำไปทดสอบใช้งานที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ จ.ปราจีนบุรี และล่าสุดถูกนำไปใช้ในการฝึกนักเรียนนายร้อย จปร.

ผลจากการทดสอบใช้งาน พบว่าระบบสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานไฟฟ้าของหน่วยทหารได้เป็นอย่างดี

อนาคต จะมีการพัฒนาต่อยอดให้มีน้ำหนักเบาขึ้นและสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น

งานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ห่างไกล หรือบรรเทาด้านสาธารณภัยแล้ว ยังเป็นการสร้างความยั่งยืนทางด้านพลังงาน

และที่สำคัญเป็นผลงานของนักวิจัยไทย ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ราคาแพง !

นักวิจัยบอกว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานในสำนักงานหนึ่งสำนักงานทีเดียว

นอกจากนี้บนรถลากจูงยังติดตั้งปั๊มสูบ

น้ำที่สามารถสูบน้ำได้ทั้งน้ำผิวดินและใต้ดิน

สำหรับใช้งานในภารกิจทหารหรือภารกิจบรรเทาสาธารณภัยได้

สำหรับการออกแบบระบบ ประกอบไปด้วยชุดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 150 วัตต์ จำนวน 8 แผง ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (DC) จ่ายไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ควบคุมการประจุไฟฟ้า เพื่อประจุไฟฟ้าเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่

จากนั้นกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (AC) ขนาด 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ จ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในสำนักงานรวมถึงเครื่องมือสื่อสาร

ส่วนรถบรรทุกพ่วงลากจูง สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่า 2,500 กิโลกรัม

นักวิจัย บอกอีกว่า ระบบนี้สามารถประจุไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ในตอนกลางวันเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ที่รองรับการใช้งานตอนกลางคืนได้ถึง 8 ชั่วโมง สามารถลากจูงไปใช้ในพื้นที่สนามรบหรือพื้นที่ประสบภัยได้ทันที

ปัจจุบันต้นแบบถูกนำไปทดสอบใช้งานที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ จ.ปราจีนบุรี และล่าสุดถูกนำไปใช้ในการฝึกนักเรียนนายร้อย จปร.

ผลจากการทดสอบใช้งาน พบว่าระบบสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานไฟฟ้าของหน่วยทหารได้เป็นอย่างดี

อนาคต จะมีการพัฒนาต่อยอดให้มีน้ำหนักเบาขึ้นและสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น

งานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ห่างไกล หรือบรรเทาด้านสาธารณภัยแล้ว ยังเป็นการสร้างความยั่งยืนทางด้านพลังงาน

และที่สำคัญเป็นผลงานของนักวิจัยไทย ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ราคาแพง !

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 26 มิถุนายน 2557