Page 1 of 1

นำร่องโครงการปลอด ‘เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล’ - เกษตรทั่วไทย

Posted: 30 Jun 2014, 13:00
by brid.siriwan
นำร่องโครงการปลอด ‘เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล’ - เกษตรทั่วไทย

“เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” ศัตรูตัวสำคัญของข้าวที่สร้างความเสียหายทางมูลค่าเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ที่ผ่านมา กรมการข้าว ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้โดยตรง เพื่อไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลย้อนกลับมาสร้างความเสียหายให้กับชาวนาได้อีก

นายชาญพิทยา ฉิมพาลี อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวถือเป็นหน่วยงานหลักที่หาทางแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการ ด้วยการจัดทำ โครงการหมู่บ้านนำร่องปลอดการระบาดของเพลี้ยกระโดด โดยเริ่มใน 3 จังหวัด จังหวัดละ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ สุพรรณบุรี ชัยนาทและปราจีนบุรี สำหรับหมู่บ้านนำร่อง กรมการข้าวได้นำความรู้และเทคโนโลยีทั้งหมดเข้าไปถ่ายทอดและส่งเสริมให้ชาวนานำไปปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การใช้พันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จัดระบบการปลูกข้าวที่เหมาะสม การสำรวจเฝ้าระวังศัตรูพืช การปรับสภาพนิเวศในแปลงนา ที่สำคัญคือการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ ลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นการแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้หมดไปจากแปลงนาอย่างยั่งยืน

“กับดักแสงไฟ” ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยติดตามการเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้ามาในพื้นที่ เป็นการป้องกันปัญหาตั้งแต่ชาวนายังไม่เริ่มต้นปลูกข้าว เนื่องจากถ้ามีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้ามาเล่นไฟในกับดักแสงไฟในปริมาณมากกว่า 10,000 ตัวต่อวันต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ แสดงว่า ถ้ามีการปลูกข้าวในช่วงนี้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายผลผลิต ฉะนั้นชาวนาก็ควรหลบการปลูกข้าวช่วงที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอพยพเข้ามาในพื้นที่จำนวนมากออกไปก่อน

ถ้าชาวนามีการนำความรู้และเทคโนโลยีที่กรมการข้าวแนะนำไปปฏิบัติ ก็จะสามารถบริหารจัดการแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยโครงการนำร่องมีระยะเวลา 2 ปี กรมการข้าวจะเก็บข้อมูลเป็นพื้นฐานของหมู่บ้านนั้น เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลการเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลของศูนย์วิจัยข้าวที่มีการจัดทำสถิติต่อเนื่องมา 5 ปีแล้ว ถ้าข้อมูลตรงกันแสดงว่าข้อมูลเป็นที่น่าเชื่อถือ จึงจะจัดทำฐานข้อมูลได้ว่าพื้นที่ใดเหมาะสมที่จะปลูกข้าวช่วงไหนที่ปลอดภัยต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ก่อนจะส่งข้อมูลต่อให้กรมชลประทานในการจัดสรรน้ำไปยังพื้นที่นั้น ๆ ต่อไป

น.ส.วารินทร์ บุญช่วย เลขากลุ่มลดต้นทุนการผลิตข้าวบ้านท่าช้าง จ.นครนายก หนึ่งในกลุ่มที่ได้นำเทคโนโลยีของกรมการข้าวไปต่อยอด เล่าว่า ตนยึดอาชีพทำนาด้วยการปลูกข้าวพันธุ์ กข47 ในพื้นที่ 20 ไร่ แต่หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ก็พบปัญหาแมลงเข้าทำลายผลผลิตจนเสียหาย กระทั่งมีโอกาสได้ไปดูงานที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีทำให้ทราบว่าศัตรูตัวร้ายมาทำลายต้นข้าวคือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จากนั้นจึงเข้าไปรับการอบรมก่อนจะได้ “กับดักแสงไฟ” มาติดตั้งไว้ในบริเวณแปลง นา โดยเปิดทิ้ง

ไว้ตั้งแต่เวลา 18.00-21.00 น. พอรุ่งเช้าเราก็จะไปเก็บแมลงมาคัดแยกว่ามีแมลงชนิดใดบ้าง เพื่อนำมาคำนวณว่าแมลงในแต่ละวันมีแมลงอะไรบ้าง ?นำร่องโครงการปลอด ‘เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล’ - เกษตรทั่วไทย?

นำร่องโครงการปลอด ‘เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล’ - เกษตรทั่วไทย

“เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” ศัตรูตัวสำคัญของข้าวที่สร้างความเสียหายทางมูลค่าเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ที่ผ่านมา กรมการข้าว ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้โดยตรง
วันจันทร์ 30 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.

“เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” ศัตรูตัวสำคัญของข้าวที่สร้างความเสียหายทางมูลค่าเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ที่ผ่านมา กรมการข้าว ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้โดยตรง เพื่อไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลย้อนกลับมาสร้างความเสียหายให้กับชาวนาได้อีก

นายชาญพิทยา ฉิมพาลี อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวถือเป็นหน่วยงานหลักที่หาทางแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการ ด้วยการจัดทำ โครงการหมู่บ้านนำร่องปลอดการระบาดของเพลี้ยกระโดด โดยเริ่มใน 3 จังหวัด จังหวัดละ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ สุพรรณบุรี ชัยนาทและปราจีนบุรี สำหรับหมู่บ้านนำร่อง กรมการข้าวได้นำความรู้และเทคโนโลยีทั้งหมดเข้าไปถ่ายทอดและส่งเสริมให้ชาวนานำไปปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การใช้พันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จัดระบบการปลูกข้าวที่เหมาะสม การสำรวจเฝ้าระวังศัตรูพืช การปรับสภาพนิเวศในแปลงนา ที่สำคัญคือการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ ลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นการแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้หมดไปจากแปลงนาอย่างยั่งยืน

“กับดักแสงไฟ” ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยติดตามการเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้ามาในพื้นที่ เป็นการป้องกันปัญหาตั้งแต่ชาวนายังไม่เริ่มต้นปลูกข้าว เนื่องจากถ้ามีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้ามาเล่นไฟในกับดักแสงไฟในปริมาณมากกว่า 10,000 ตัวต่อวันต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ แสดงว่า ถ้ามีการปลูกข้าวในช่วงนี้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายผลผลิต ฉะนั้นชาวนาก็ควรหลบการปลูกข้าวช่วงที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอพยพเข้ามาในพื้นที่จำนวนมากออกไปก่อน

ถ้าชาวนามีการนำความรู้และเทคโนโลยีที่กรมการข้าวแนะนำไปปฏิบัติ ก็จะสามารถบริหารจัดการแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยโครงการนำร่องมีระยะเวลา 2 ปี กรมการข้าวจะเก็บข้อมูลเป็นพื้นฐานของหมู่บ้านนั้น เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลการเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลของศูนย์วิจัยข้าวที่มีการจัดทำสถิติต่อเนื่องมา 5 ปีแล้ว ถ้าข้อมูลตรงกันแสดงว่าข้อมูลเป็นที่น่าเชื่อถือ จึงจะจัดทำฐานข้อมูลได้ว่าพื้นที่ใดเหมาะสมที่จะปลูกข้าวช่วงไหนที่ปลอดภัยต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ก่อนจะส่งข้อมูลต่อให้กรมชลประทานในการจัดสรรน้ำไปยังพื้นที่นั้น ๆ ต่อไป

น.ส.วารินทร์ บุญช่วย เลขากลุ่มลดต้นทุนการผลิตข้าวบ้านท่าช้าง จ.นครนายก หนึ่งในกลุ่มที่ได้นำเทคโนโลยีของกรมการข้าวไปต่อยอด เล่าว่า ตนยึดอาชีพทำนาด้วยการปลูกข้าวพันธุ์ กข47 ในพื้นที่ 20 ไร่ แต่หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ก็พบปัญหาแมลงเข้าทำลายผลผลิตจนเสียหาย กระทั่งมีโอกาสได้ไปดูงานที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีทำให้ทราบว่าศัตรูตัวร้ายมาทำลายต้นข้าวคือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จากนั้นจึงเข้าไปรับการอบรมก่อนจะได้ “กับดักแสงไฟ” มาติดตั้งไว้ในบริเวณแปลง นา โดยเปิดทิ้ง

ไว้ตั้งแต่เวลา 18.00-21.00 น. พอรุ่งเช้าเราก็จะไปเก็บแมลงมาคัดแยกว่ามีแมลงชนิดใดบ้าง เพื่อนำมาคำนวณว่าแมลงในแต่ละวันมีแมลงอะไรบ้าง

แมลงที่พบก็พบทั้งแมลงที่ดีและไม่ดี แมลงที่ไม่ดีคือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่น ผีเสื้อ หนอน

กอ หนอนห่อ และในกับดักนี้ก็มีแมลงที่มีประโยชน์อยู่ด้วย เช่น มวนเขียวดูดไข่ มวนจิงโจ้น้ำ ด้วง เป็นต้น ซึ่งในการคัดแยกเราก็จะดูปริมาณว่า ศัตรูธรรมชาติมีความสมดุลกันหรือไม่ ถ้ามีแมลงจำพวกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือแมลงไม่ดีมากกว่าแมลงที่เป็นประโยชน์ เราก็จะแจ้งเตือนเกษตรกรภายในกลุ่มและขยายไปยังในส่วนของเกษตรกรที่ทำนารายอื่น ๆ ขณะนี้สามารถรวมกลุ่มประมาณ 10 กว่าคน ที่ผลิตสารไล่แมลง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ น้ำหมักจุลินทรีย์ สมุนไพรไล่แมลง ทำใช้เองภายในกลุ่ม นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มากแล้ว ยังคืนสุขภาพที่ดีให้กับชาวนาอย่างเราอีกด้วย

วารินทร์ บุญช่วย ปิดท้ายรายการว่า ก่อนหน้านี้ ไม่รู้เลยว่าแมลงที่เจอคืออะไร มีประโยชน์หรือไม่ เจอปุ๊บฉีดยาฆ่าอย่างเดียว การที่ทางศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีมาสอนเราตรงนี้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีลง โดยหันมาใช้สารชีวภาพในการกำจัดแมลง รวมทั้งได้เรียนรู้ว่าสารเคมีตัวไหนที่ต้องห้าม และไม่ใช่ว่าเราจะไม่ใช้สารเคมีเลย บางกรณีที่มีแมลงที่เข้ามาอยู่ในแปลงนาเรามากเกินไป เราจึงจะนำสารเคมีมาใช้บ้าง

...แต่ส่วนใหญ่จะใช้ธรรมชาติดูแลกันเองมากกว่า ตั้งแต่เริ่มทำตามแนวทางของกรมการข้าวก็ยังไม่ได้รับผลกระทบจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเลย.


แมลงที่พบก็พบทั้งแมลงที่ดีและไม่ดี แมลงที่ไม่ดีคือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่น ผีเสื้อ หนอน

กอ หนอนห่อ และในกับดักนี้ก็มีแมลงที่มีประโยชน์อยู่ด้วย เช่น มวนเขียวดูดไข่ มวนจิงโจ้น้ำ ด้วง เป็นต้น ซึ่งในการคัดแยกเราก็จะดูปริมาณว่า ศัตรูธรรมชาติมีความสมดุลกันหรือไม่ ถ้ามีแมลงจำพวกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือแมลงไม่ดีมากกว่าแมลงที่เป็นประโยชน์ เราก็จะแจ้งเตือนเกษตรกรภายในกลุ่มและขยายไปยังในส่วนของเกษตรกรที่ทำนารายอื่น ๆ ขณะนี้สามารถรวมกลุ่มประมาณ 10 กว่าคน ที่ผลิตสารไล่แมลง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ น้ำหมักจุลินทรีย์ สมุนไพรไล่แมลง ทำใช้เองภายในกลุ่ม นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มากแล้ว ยังคืนสุขภาพที่ดีให้กับชาวนาอย่างเราอีกด้วย

วารินทร์ บุญช่วย ปิดท้ายรายการว่า ก่อนหน้านี้ ไม่รู้เลยว่าแมลงที่เจอคืออะไร มีประโยชน์หรือไม่ เจอปุ๊บฉีดยาฆ่าอย่างเดียว การที่ทางศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีมาสอนเราตรงนี้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีลง โดยหันมาใช้สารชีวภาพในการกำจัดแมลง รวมทั้งได้เรียนรู้ว่าสารเคมีตัวไหนที่ต้องห้าม และไม่ใช่ว่าเราจะไม่ใช้สารเคมีเลย บางกรณีที่มีแมลงที่เข้ามาอยู่ในแปลงนาเรามากเกินไป เราจึงจะนำสารเคมีมาใช้บ้าง

...แต่ส่วนใหญ่จะใช้ธรรมชาติดูแลกันเองมากกว่า ตั้งแต่เริ่มทำตามแนวทางของกรมการข้าวก็ยังไม่ได้รับผลกระทบจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเลย.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 30 มิถุนายน 2557