Page 1 of 1

นักวิจัยมหิดลคว้าทุนนาสด้า แชร์โปรเฟสเซอร์ปี56

Posted: 30 Jun 2014, 18:00
by brid.siriwan
นักวิจัยมหิดลคว้าทุนนาสด้า แชร์โปรเฟสเซอร์ปี56

นักวิจัยโรคติดเชื้อม.มหิดล คว้าทุนนาสด้า แชร์ โปรเฟสเซอร์ ปี2556 รับทุน 20 ล้านในการต่อยอดงานวิจัยโรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังและโรคภูมิแพ้

วันนี้(30 มิย.57) ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เทเวศน์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ( สวทช. ) ร่วมกับ มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนนาสด้า แชร์โปรเฟสเซอร์( NSTDA Chair Professor) ประจำปี 2556 ซึ่งจะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจำนวน 20 ล้านบาทภายในระยะเวลา 5ปีให้กับ ศ.ดร. วันเพ็ญ ชัยคำภาและทีมวิจัย เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านโรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังโดยมีศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ร่วมเป็นประธานในงานดังกล่าว

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูลผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) กล่าวว่าโครงการทุน นาสด้า แชร์ โปรเฟสเซอร์ประจำปี 2556 เป็นทุนที่ 3ที่สนับสนุนโดยมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่ง สวทช. ได้เปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการวิจัยโดยมีขอบเขตในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยมุ่งหวังจะเป็นการยกระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้านสุขภาพและการแพทย์

ที่ผ่านมามีผู้ที่ได้รับทุนดังกล่าวไปแล้ว 2ทุนคือศ.ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ผู้ได้รับทุน นาสด้า แชร์ โปรเฟสเซอร์ประจำปี 2552 โดยนำเสนอผลงานเรื่อง “การออกแบบและการผลิตวัสดุนาโนที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม” และ ศ. ดร. พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ผู้ได้รับทุน นาสด้าแชร์ โปรเฟสเซอร์ ประจำปี 2554นำเสนอความก้าวหน้าโครงการเรื่อง “การปรับปรุงเพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำพันธุ์ใหม่สำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์”

สำหรับปีนี้คณะกรรมการมีมติให้มอบทุนดังกล่าวให้กับศ.ดร. วันเพ็ญ ชัยคำภาและทีมวิจัย จากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อทำการวิจัยผลิตแอนติบอดีสำหรับรักษาโรคตับอักเสบชนิดซีเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งตับแข็งหรือตับวาย โรคจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกและโรคภูมิแพ้

ด้านศาสตราจารย์ ดร. วันเพ็ญ กล่าวว่า ทุนดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ให้ทำการวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านโรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง และโรคภูมิแพ้ในการผลิตแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันของคนที่พร้อมใช้สำหรับรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดื้อยาหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อและอาจเสียชีวิตได้เช่นผู้สูงวัย เด็กทารก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มกันพร่อ

ทั้งนี้แอนติบอดีเหล่านี้สามารถรักษาโรคจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ใดก็ได้เป็นภูมิคุ้มกันที่สามารถฉีดให้แก่ผู้ป่วยและออกฤทธิ์ต้านไวรัสได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง ซึ่งจะต่างจากวัคซีนที่ต้องรอเป็นเวลา7-10วันกว่าที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันออกมา จะไม่ทันการ

นอกจากนี้ปัจจุบันไวรัสไข้หวัดใหญ่ดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทำ ?นักวิจัยมหิดลคว้าทุนนาสด้า แชร์โปรเฟสเซอร์ปี56?

นักวิจัยมหิดลคว้าทุนนาสด้า แชร์โปรเฟสเซอร์ปี56

นักวิจัยโรคติดเชื้อม.มหิดล คว้าทุนนาสด้า แชร์ โปรเฟสเซอร์ ปี2556 รับทุน 20 ล้านในการต่อยอดงานวิจัยโรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังและโรคภูมิแพ้
วันจันทร์ 30 มิถุนายน 2557 เวลา 17:00 น.

วันนี้(30 มิย.57) ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เทเวศน์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ( สวทช. ) ร่วมกับ มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนนาสด้า แชร์โปรเฟสเซอร์( NSTDA Chair Professor) ประจำปี 2556 ซึ่งจะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจำนวน 20 ล้านบาทภายในระยะเวลา 5ปีให้กับ ศ.ดร. วันเพ็ญ ชัยคำภาและทีมวิจัย เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านโรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังโดยมีศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ร่วมเป็นประธานในงานดังกล่าว

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูลผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) กล่าวว่าโครงการทุน นาสด้า แชร์ โปรเฟสเซอร์ประจำปี 2556 เป็นทุนที่ 3ที่สนับสนุนโดยมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่ง สวทช. ได้เปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการวิจัยโดยมีขอบเขตในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยมุ่งหวังจะเป็นการยกระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้านสุขภาพและการแพทย์

ที่ผ่านมามีผู้ที่ได้รับทุนดังกล่าวไปแล้ว 2ทุนคือศ.ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ผู้ได้รับทุน นาสด้า แชร์ โปรเฟสเซอร์ประจำปี 2552 โดยนำเสนอผลงานเรื่อง “การออกแบบและการผลิตวัสดุนาโนที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม” และ ศ. ดร. พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ผู้ได้รับทุน นาสด้าแชร์ โปรเฟสเซอร์ ประจำปี 2554นำเสนอความก้าวหน้าโครงการเรื่อง “การปรับปรุงเพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำพันธุ์ใหม่สำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์”

สำหรับปีนี้คณะกรรมการมีมติให้มอบทุนดังกล่าวให้กับศ.ดร. วันเพ็ญ ชัยคำภาและทีมวิจัย จากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อทำการวิจัยผลิตแอนติบอดีสำหรับรักษาโรคตับอักเสบชนิดซีเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งตับแข็งหรือตับวาย โรคจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกและโรคภูมิแพ้

ด้านศาสตราจารย์ ดร. วันเพ็ญ กล่าวว่า ทุนดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ให้ทำการวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านโรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง และโรคภูมิแพ้ในการผลิตแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันของคนที่พร้อมใช้สำหรับรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดื้อยาหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อและอาจเสียชีวิตได้เช่นผู้สูงวัย เด็กทารก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มกันพร่อ

ทั้งนี้แอนติบอดีเหล่านี้สามารถรักษาโรคจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ใดก็ได้เป็นภูมิคุ้มกันที่สามารถฉีดให้แก่ผู้ป่วยและออกฤทธิ์ต้านไวรัสได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง ซึ่งจะต่างจากวัคซีนที่ต้องรอเป็นเวลา7-10วันกว่าที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันออกมา จะไม่ทันการ

นอกจากนี้ปัจจุบันไวรัสไข้หวัดใหญ่ดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทำให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีล้มเหลวดังนั้นทีมวิจัยจึงจะผลิตแอนติบอดีของคนชนิดโมเลกุลเล็กที่เรียกว่าแอนติบอดีสายเดี่ยวซึ่งจะเข้าไปจับไวรัสในเซลล์ที่ติดเชื้อได้จากแอนติบอดีต้นแบบที่มีอยู่แล้วในห้องปฏิบัติการวิจัยในรูปแบบที่สามารถนำไปขยายการผลิตในอุตสาหกรรมได้เพื่อพร้อมฉีดให้แก่ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดนกซึ่งน่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการพึ่งตนเองของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อย่างไรก็ดีทีมวิจัยยังมีแผนในการผลิตแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันพร้อมใช้สำหรับรักษาโรคตับอักเสบชนิดซีซึ่งขณะนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบซีได้ รวมถึงจะมีการทดสอบวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่ ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นเองอีกด้วย
ให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีล้มเหลวดังนั้นทีมวิจัยจึงจะผลิตแอนติบอดีของคนชนิดโมเลกุลเล็กที่เรียกว่าแอนติบอดีสายเดี่ยวซึ่งจะเข้าไปจับไวรัสในเซลล์ที่ติดเชื้อได้จากแอนติบอดีต้นแบบที่มีอยู่แล้วในห้องปฏิบัติการวิจัยในรูปแบบที่สามารถนำไปขยายการผลิตในอุตสาหกรรมได้เพื่อพร้อมฉีดให้แก่ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดนกซึ่งน่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการพึ่งตนเองของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อย่างไรก็ดีทีมวิจัยยังมีแผนในการผลิตแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันพร้อมใช้สำหรับรักษาโรคตับอักเสบชนิดซีซึ่งขณะนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบซีได้ รวมถึงจะมีการทดสอบวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่ ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นเองอีกด้วย

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 30 มิถุนายน 2557