Page 1 of 1

ปฏิรูปโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ "สรรพากร"ดึงเอกชนร่วมสู่โรดแม็ป

Posted: 30 Jun 2014, 18:31
by brid.siriwan
ปฏิรูปโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ "สรรพากร"ดึงเอกชนร่วมสู่โรดแม็ปฟื้นฟูประเทศ

ในขณะที่ภาคเอกชนรวมตัวกันขึ้นเป็นภาคเอกชน 7 องค์กรชั้นนำของประเทศ ออกมาประกาศถึงจุดยืน และข้อเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปฏิรูประบบราชการและลดปัญหาการคอร์รัปชันในกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ

เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทย ให้พ้นจากวังวนของการจ่ายใต้โต๊ะ และการหาผลประโยชน์อันมิควรได้ ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สูงมากของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา

แต่ “ตบมือข้างเดียวคงไม่ดัง” ในเวลาเดียวกันกับการปฏิรูปภาคราชการ การละเลิกเสนอผลประโยชน์ใต้โต๊ะจากภาคเอกชนเพื่อช่วยให้ธุรกิจของตนเองเดินหน้า หรือความพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในอัตราที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าควบคู่กันไปด้วย

แต่เป้าหมายนี้จะสำเร็จได้อย่างไร “ทีมเศรษฐกิจ” ขอเริ่มจากภาคการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเป็นภาคแรก โดยถือโอกาสสัมภาษณ์ “นายสุทธิชัย สังขมณี” อธิบดีกรมสรรพากร ถึงแนวทางและข้อเสนอในการ “ปฏิรูปโครงสร้างภาษี” ครั้งใหญ่ของกรมสรรพากร

แนวทางนี้จะสร้างความโปร่งใส และลดการคอร์รัปชันในภาคการจัดเก็บภาษีของประเทศลง ขณะเดียวกันยังป้องปราม และลดความพยายามหลีก เลี่ยงภาษีของภาคธุรกิจ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโรดแม็ปการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในระยะต่อไป

โรดแม็ป “สรรพากร” ลดคอร์รัปชัน

“ข้อเสนอของกรมสรรพากรที่ถูกส่งไปยัง คสช.เพื่อนำไปสู่การจัดทำโรดแม็ปของเศรษฐกิจโดยรวม คือ การปฏิรูปโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ของกรม โดยมีวัตถุประสงค์สร้างความโปร่งใส และความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย” อธิบดีกรม สรรพากร ได้กล่าวกับ “ทีมเศรษฐกิจ” ในช่วงต้นการสัมภาษณ์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงทิศทางของกรมสรรพากรในอนาคต

ทั้งนี้ ยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมา ภาคเอกชนมักจะออกมาตำหนิการทำงานของภาครัฐ โดยเฉพาะส่วนราชการว่า ขาดความโปร่งใส มีการทุจริต หรือคอร์รัปชันกัน

“แต่ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า ภาคราชการคงจะทำเพียงคนเดียวไม่ได้ แต่ภาคเอกชนเอง รวมถึง 7 องค์กรภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ก็ต้องเข้ามามีส่วนช่วย หรือร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความโปร่งใสด้วย ไม่ใช่เพียงแต่เสนอข้อเรียกร้องให้ภาครัฐต้องเปลี่ยนแปลง หรือเร่งปฏิรูประบบราชการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น”

กระบวนการทำงานของภาคเอกชน หากหยุดอยู่นิ่งๆ ขาดความร่วมมือหรือการประสานงานกับภาครัฐอย่างเต็มที่แล้วโอกาสที่จะสร้างความโปร่งใสให้กับประเทศชาติก็ลดน้อยลง โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดเก็บภาษีที่ถูกต้องเพราะแม้ว่ากรมสรรพากรจะมีฐานข้อมูลและประวัติผู้เสียภาษีอยู่จำนวนมาก ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลก็ตาม แต่มันก็เป็นตัวเลขที่สามารถตกแต่งบัญชีขึ้นมาได้

“เพราะทุกวันนี้ พฤติกรรมของผู้เสียภาษีในอดีตกับปัจจุบันยังคงเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยน แปลง หากมีช่องทางใดที่สามารถเสียภาษีได้น้อย หรือไม่เสียภาษีเลยก็จะเดินไปตามช่องทางนั้น”

เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ผมเริ่มต้นทำงานครั้งแรกที่ฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อก็จะโชว์ฐานะการเงินที่ดี บริษัทมีกำไรเพื่อชี้ให้เห็นถึงอนาคตที่สดใส เพราะต้องการเงินทุนเพื่อขยายกิจกรรม จึงพยายามทำทุกอย่างดูดีไปทั้งหมด แต่เมื่อถึงเวลาของการเสียภาษี ก็กลับแสดงตัวเลขบัญชีของบริษัทว่า มีกำไรเพียงเล็กน้อย หรือแทบจะขาดทุนวนเวียนอยู่แบบนี้ตลอดเวลา ทำให้ผมได้มองเห็นภาพนักธุรกิจทั้งสองด้าน

“โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ในปัจจุบันกรมสรรพากรก็ไม่สามารถไปบอกได้ว่า ตัวเลขที่ผู้ประกอบการยื่นเสียภาษีนั้น มันผิดหรือถูก เพราะกรมสรรพากรไม่มีข้อมูลใดๆ ที่จะไปพิสูจน์ยอดขายของสินค้าทั้งหมด กรมสรรพากรจึงได้แต่ตรวจสอบเอกสารของผู้เสียภาษี ไม่มีสิทธิ์เข้าไปตรวจสอบแหล่งข้อมูลทางการเงินที่แท้จริงของผู้เสียภาษี เพราะกฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจเอาไว้ ยกเว้นแต่จะเป็นคดีความทางกฎหมาย เมื่อเจอกรณีที่เราสงสัยและมองเห็นความผิดอย่างชัดเจน โดยอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจในการเรียกข้อมูลจากสถาบันการเงินมาดูได้”

ตัวอย่างเช่น คนมีรถยนต์หรูราคา 3 ล้านบาทขึ้นไป หรือมีบ้านราคา 40 ล้านบาท คนที่มีรายได้ขนาดไหนถึงจะมีเงินซื้อรถซื้อบ้านในราคาที่แพงลิบลิ่วเช่นนี้ ผมต้องการฉายภาพเหล่านี้ออกมาให้สังคมได้เห็นกันอย่างชัดเจน ขณะที่มนุษย์เงินเดือน ข้าราชการหรือแม้กระทั่งพนักงานรัฐวิสาหกิจ จะมีความสามารถซื้อครอบครองเป็นของตนเองได้หรือไม่ คงจะมีคำตอบที่กรมสรรพากรสามารถเฉลยได้เร็วๆนี้

“กรมสรรพากรได้ออกจดหมายไปถึงคนเหล่านี้ ซึ่งมีประมาณ 10,000 คน ให้กรอกแบบฟอร์มตามที่กรมสรรพากรกำหนด เช่น ครอบครองบ้าน หรือรถยนต์รุ่นอะไร ยี่ห้อใด ซื้อในราคาเท่าไหร่ ซื้อจากใครหรือบริษัทไหน เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาเปรียบกับยอดรายได้ที่แจ้งไว้กับสรรพากร ซึ่งตรงจุดนี้คือ ข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครดิ้นหลุดไปได้ ซึ่งส่วนนี้จะช่วยลดการเลี่ยงภาษีลงได้”

โครงสร้างภาษีใหม่ “โปร่งใส–เป็นธรรม”

อย่างไรก็ตาม เมื่อในขณะนี้ภาพรวมของการเสียภาษียังมีบุคคล หรือบริษัทนิติบุคคล ที่เสียภาษีไม่ครบถ้วน ข้อเสนอของกรมสรรพากรที่ถูกส่งไปยัง คสช. คือ 1.การเพิ่มอำนาจให้แก่กรมสรรพากร ในการขอรับข้อมูลจากสถาบันการเงินโดยไม่ต้องใช้หมายเรียก เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีส่วนช่วยในการสร้างความโปร่งใสให้กับภาครัฐ เพื่ออุดรูรั่วที่เกิดขึ้นกับระบบภาษี

“ส่วนตัวมองว่า หากทุกอย่างมีความโปร่งใส การคอร์รัปชันจะไม่เกิดขึ้น และหากมีการคอร์รัปชันเกิดขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเกิดขึ้นจากภาครัฐเพียงส่วนเดียว แต่ต้องมีภาคเอกชนมาเป็นคู่ “ตบมือให้ดัง” ผมสังเกตเห็นภาคเอกชนออกมาต่อต้านการคอร์รัปชัน เสนอมาตรการต่างๆ มากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ได้พูดถึงแต่ภาครัฐเพียงอย่างเดียว ไม่ได้พูดถึงฝั่งเอกชนของตัวเอง”

แตกต่างไปจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ มีเรื่อง Foreign Account Tax Compliance Act หรือ FATCA คือ กรณีสถาบันการเงินของประเทศนั้นๆ มีคนอเมริกันทำธุรกรรมทางการเงินจะต้องส่งข้อมูลทางการเงินของคนอเมริกันไปให้ทางการของสหรัฐฯด้วย เพื่อป้องกันการฟอกเงิน และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี แต่ประเทศไทยไม่มีเรื่องเหล่านี้ ทำให้เกิดช่องโหว่ในการตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้ เพราะถูกปกปิดเป็นความลับของลูกค้า โดยคนที่ซื้อสินค้าราคาแพง เช่น บ้าน หรือรถยนต์หรู ไม่จำเป็นต้องสำแดงรายได้ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ 2.คือ สิ่งที่กรมสรรพากรเสนอ คสช.และอยากได้มากที่สุด คือ การหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีซื้อมาขายไป

ประเด็นเหล่านี้ หากทำได้สำเร็จประสิทธิภาพการทำงานของกรมสรรพากรจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว เนื่องจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทำให้กรมสรรพากรได้รับรู้ข้อมูลธุรกิจและการค้าอย่างครบวงจร ตัวเลขข้อมูลของธุรกิจการค้าเหล่านั้นก็จะกลับมาเป็นเครื่องมือของกรมสรรพากรในการควบคุมผู้เสียภาษีให้ตามใจชอบไม่ได้อีกแล้ว

“ธุรกิจปัจจุบันที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายมีไม่กี่ประเภท เช่น การว่าจ้างทำของ เงินข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เงินเดือนพนักงานบริษัทเอกชน รายได้จากนักแสดง ดาราพิธีกร และรายได้ ที่เกิดจากการจับรางวัลหรือจับสลาก ซึ่งกรมสรรพากรใช้เป็นเครื่องติดตามยอดรายรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและธุรกิจต่างๆ ได้เป็นอย่างดี”

ขณะที่ร้านค้าทั่วไป ที่มีการซื้อขายเงินสด เช่น สำเพ็ง เยาวราช วัดตึก ในกรณีที่ขายสินค้าในปริมาณมากๆ หรือจัดอยู่ในกลุ่มพวกร้านค้าส่ง (ยี่ปั๊ว) เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าก็จะออกใบส่งของชั่วคราวเกือบ 90% มากกว่าใบกำกับภาษี ซึ่งการออกใบส่งของชั่วคราวทำให้ไม่มีหลักฐาน และไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี เพราะไม่ใช่ใบกำกับภาษี แต่เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างเอกชนกับเอกชนในการส่งมอบสินค้าระหว่างกัน โดยไม่มีการลงบันทึกเป็นประวัติของผู้เสียภาษี เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้า ร้านค้าเหล่านี้ จึงไม่กล้าออกใบกำกับภาษี เพราะเป็นธุรกิจที่หนีภาษีมาตั้งแต่ต้นทาง ปลายทางเมื่อมาถึงผู้บริโภคก็ไม่มีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% เกิดขึ้น “ตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งเป็นปีแรกที่กรมสรรพากรเริ่มใช้แวต 7% โดยเก็บภาษีจากผู้บริโภคคนสุดท้าย แต่ลืมดูขั้นตอนระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก วงจรของภาษีแวตนั้นถูกตัดตอนออกไป ธุรกิจเหล่านี้ ไม่มีประวัติไม่มีหลักฐานของภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่ต้องออกใบกำกับภาษี ผมจึงต้องมาเริ่มนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง เพื่อที่จะพยายามผลักดันให้เรื่องนี้สำเร็จโดยเร็ว โดยไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องของการจัดเก็บรายได้ แต่ต้องการทราบข้อมูลของธุรกิจทุกการซื้อขายที่เกิดขึ้น เพื่อควบคุมการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล”

คงอัตราภาษีเดิมกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่อัตราภาษีอื่นๆ ที่กรมสรรพากรประกาศใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น มีโครงสร้างใหญ่ๆ คือภาษีเงินนิติบุคคลที่จัดเก็บในอัตรา 20% ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เริ่มตั้งแต่ 5% ไปจนถึง 35% รวมทั้งหมด 7 ขั้น และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ระดับ 7% ได้ยืนยันกับ คสช.ว่า ควรจัดเก็บอยู่ในอัตราเดิมทั้งหมด

“ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% ในปัจจุบัน ถือว่าเหมาะสมกับค่าครองชีพและความเป็นอยู่คนไทยในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้แล้ว หากขึ้นอัตราภาษีแวตขึ้นไปอีก ผมมองว่า ภาระทั้งหมดจะไปตกอยู่ที่ประชาชนที่ซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค ที่จะต้องจ่ายเงินมากขึ้นตามอัตราภาษีที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่คนบางกลุ่ม หรือผู้ประกอบการบางรายที่ไม่เคยเสียภาษีแวตเลย คือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการขึ้นอัตราภาษีทุกครั้ง” อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงสาเหตุที่กรมสรรพากรเสนอให้ คสช.คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% ต่อไปอีก 1 ปี

สำหรับสิ่งที่กรมสรรพากรเร่งดำเนินการในขณะนี้ คือ การดึงธุรกิจหรือคนที่อยู่นอกระบบภาษีให้เข้ามาอยู่ในระบบ หรือเข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลของกรมสรรพากรให้มากขึ้น เนื่องจากภาระภาษีของคนกลุ่มนี้ ในปัจจุบันและอนาคตอาจจะไม่เคยมีเลย ก็จะมีมากขึ้น และจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนเสียภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนกับธุรกิจทั่วไป ซึ่งเป็นการดีกว่าขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 10% เนื่องจากทุกๆ 1% ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้น กรมสรรพากรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 70,000 ล้านบาท มันก็คือ ภาระภาษีของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

“ผมได้ตั้งคำถามขึ้นมาในใจก่อนทุกครั้งที่จะตัดสินใจว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องย้อนกลับมาดูการทำงานของตัวเองและของกรมสรรพากรก่อนว่า ผู้ประกอบการในปัจจุบันได้แสดงรายได้ไว้ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ ถ้าผู้ประกอบการทุกรายแสดงรายได้ตรงตามความเป็นจริง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ระดับ 7% ถือว่ายังมีความเพียงพอและยังมีความเหมาะสมกับเศรษฐกิจไทย หมายความว่า ไม่มีคนที่หลีกเลี่ยงภาษี แต่ในความจริงยังปรากฏอยู่ว่า มีผู้ประกอบการอีกจำนวนมากที่เสียภาษียังไม่ครบถ้วน”

ขณะที่การขึ้นอัตราภาษีในแต่ละครั้งคนที่เดือดร้อนก็คือ ประชาชน และยังจะยิ่งไปเพิ่ม ภาระให้แก่คนระดับรากหญ้า ดังนั้น อัตราภาษีที่ 7% ควรจะอยู่ที่เดิม แต่กรมสรรพากรก็ต้องหันมาเพิ่มน้ำหนักกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้มากขึ้น ประชาชนทั่วไปจะได้ไม่เดือดร้อน ภาครัฐเองก็ได้ภาษีเพิ่มขึ้น น่าจะเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง

หักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท

“อีกประเด็นหนึ่งน่าสนใจ หาก คสช.ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และลดการใช้นโยบายประชานิยม ก็ควรจะปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนเองให้ความสำคัญมาก เพราะในช่วงที่ผ่านมา นักการเมือง ไม่ว่าพรรคการเมืองใดมักจะใช้เครื่องมือภาษีของกรมสรรพากรไปหาเสียง โดยอ้างว่าเพื่อลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ทำให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของผู้เสียภาษี ที่จนหรือรวยล้นฟ้าก็ได้สิทธิ์หักค่าลดหย่อนเท่ากันหมด

“สิ่งที่เรากำลังดำเนินปฏิรูปโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ "สรรพากร"ดึงเอกชนร่วมสู่โรดแม็ปฟื้นฟูประเทศ
โดย ทีมเศรษฐกิจ 30 มิ.ย. 2557 05:01


ในขณะที่ภาคเอกชนรวมตัวกันขึ้นเป็นภาคเอกชน 7 องค์กรชั้นนำของประเทศ ออกมาประกาศถึงจุดยืน และข้อเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปฏิรูประบบราชการและลดปัญหาการคอร์รัปชันในกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ

เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทย ให้พ้นจากวังวนของการจ่ายใต้โต๊ะ และการหาผลประโยชน์อันมิควรได้ ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สูงมากของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา

แต่ “ตบมือข้างเดียวคงไม่ดัง” ในเวลาเดียวกันกับการปฏิรูปภาคราชการ การละเลิกเสนอผลประโยชน์ใต้โต๊ะจากภาคเอกชนเพื่อช่วยให้ธุรกิจของตนเองเดินหน้า หรือความพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในอัตราที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าควบคู่กันไปด้วย

แต่เป้าหมายนี้จะสำเร็จได้อย่างไร “ทีมเศรษฐกิจ” ขอเริ่มจากภาคการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเป็นภาคแรก โดยถือโอกาสสัมภาษณ์ “นายสุทธิชัย สังขมณี” อธิบดีกรมสรรพากร ถึงแนวทางและข้อเสนอในการ “ปฏิรูปโครงสร้างภาษี” ครั้งใหญ่ของกรมสรรพากร

แนวทางนี้จะสร้างความโปร่งใส และลดการคอร์รัปชันในภาคการจัดเก็บภาษีของประเทศลง ขณะเดียวกันยังป้องปราม และลดความพยายามหลีก เลี่ยงภาษีของภาคธุรกิจ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโรดแม็ปการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในระยะต่อไป

โรดแม็ป “สรรพากร” ลดคอร์รัปชัน

“ข้อเสนอของกรมสรรพากรที่ถูกส่งไปยัง คสช.เพื่อนำไปสู่การจัดทำโรดแม็ปของเศรษฐกิจโดยรวม คือ การปฏิรูปโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ของกรม โดยมีวัตถุประสงค์สร้างความโปร่งใส และความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย” อธิบดีกรม สรรพากร ได้กล่าวกับ “ทีมเศรษฐกิจ” ในช่วงต้นการสัมภาษณ์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงทิศทางของกรมสรรพากรในอนาคต

ทั้งนี้ ยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมา ภาคเอกชนมักจะออกมาตำหนิการทำงานของภาครัฐ โดยเฉพาะส่วนราชการว่า ขาดความโปร่งใส มีการทุจริต หรือคอร์รัปชันกัน

“แต่ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า ภาคราชการคงจะทำเพียงคนเดียวไม่ได้ แต่ภาคเอกชนเอง รวมถึง 7 องค์กรภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ก็ต้องเข้ามามีส่วนช่วย หรือร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความโปร่งใสด้วย ไม่ใช่เพียงแต่เสนอข้อเรียกร้องให้ภาครัฐต้องเปลี่ยนแปลง หรือเร่งปฏิรูประบบราชการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น”

กระบวนการทำงานของภาคเอกชน หากหยุดอยู่นิ่งๆ ขาดความร่วมมือหรือการประสานงานกับภาครัฐอย่างเต็มที่แล้วโอกาสที่จะสร้างความโปร่งใสให้กับประเทศชาติก็ลดน้อยลง โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดเก็บภาษีที่ถูกต้องเพราะแม้ว่ากรมสรรพากรจะมีฐานข้อมูลและประวัติผู้เสียภาษีอยู่จำนวนมาก ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลก็ตาม แต่มันก็เป็นตัวเลขที่สามารถตกแต่งบัญชีขึ้นมาได้

“เพราะทุกวันนี้ พฤติกรรมของผู้เสียภาษีในอดีตกับปัจจุบันยังคงเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยน แปลง หากมีช่องทางใดที่สามารถเสียภาษีได้น้อย หรือไม่เสียภาษีเลยก็จะเดินไปตามช่องทางนั้น”

เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ผมเริ่มต้นทำงานครั้งแรกที่ฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อก็จะโชว์ฐานะการเงินที่ดี บริษัทมีกำไรเพื่อชี้ให้เห็นถึงอนาคตที่สดใส เพราะต้องการเงินทุนเพื่อขยายกิจกรรม จึงพยายามทำทุกอย่างดูดีไปทั้งหมด แต่เมื่อถึงเวลาของการเสียภาษี ก็กลับแสดงตัวเลขบัญชีของบริษัทว่า มีกำไรเพียงเล็กน้อย หรือแทบจะขาดทุนวนเวียนอยู่แบบนี้ตลอดเวลา ทำให้ผมได้มองเห็นภาพนักธุรกิจทั้งสองด้าน

“โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ในปัจจุบันกรมสรรพากรก็ไม่สามารถไปบอกได้ว่า ตัวเลขที่ผู้ประกอบการยื่นเสียภาษีนั้น มันผิดหรือถูก เพราะกรมสรรพากรไม่มีข้อมูลใดๆ ที่จะไปพิสูจน์ยอดขายของสินค้าทั้งหมด กรมสรรพากรจึงได้แต่ตรวจสอบเอกสารของผู้เสียภาษี ไม่มีสิทธิ์เข้าไปตรวจสอบแหล่งข้อมูลทางการเงินที่แท้จริงของผู้เสียภาษี เพราะกฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจเอาไว้ ยกเว้นแต่จะเป็นคดีความทางกฎหมาย เมื่อเจอกรณีที่เราสงสัยและมองเห็นความผิดอย่างชัดเจน โดยอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจในการเรียกข้อมูลจากสถาบันการเงินมาดูได้”

ตัวอย่างเช่น คนมีรถยนต์หรูราคา 3 ล้านบาทขึ้นไป หรือมีบ้านราคา 40 ล้านบาท คนที่มีรายได้ขนาดไหนถึงจะมีเงินซื้อรถซื้อบ้านในราคาที่แพงลิบลิ่วเช่นนี้ ผมต้องการฉายภาพเหล่านี้ออกมาให้สังคมได้เห็นกันอย่างชัดเจน ขณะที่มนุษย์เงินเดือน ข้าราชการหรือแม้กระทั่งพนักงานรัฐวิสาหกิจ จะมีความสามารถซื้อครอบครองเป็นของตนเองได้หรือไม่ คงจะมีคำตอบที่กรมสรรพากรสามารถเฉลยได้เร็วๆนี้

“กรมสรรพากรได้ออกจดหมายไปถึงคนเหล่านี้ ซึ่งมีประมาณ 10,000 คน ให้กรอกแบบฟอร์มตามที่กรมสรรพากรกำหนด เช่น ครอบครองบ้าน หรือรถยนต์รุ่นอะไร ยี่ห้อใด ซื้อในราคาเท่าไหร่ ซื้อจากใครหรือบริษัทไหน เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาเปรียบกับยอดรายได้ที่แจ้งไว้กับสรรพากร ซึ่งตรงจุดนี้คือ ข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครดิ้นหลุดไปได้ ซึ่งส่วนนี้จะช่วยลดการเลี่ยงภาษีลงได้”

โครงสร้างภาษีใหม่ “โปร่งใส–เป็นธรรม”

อย่างไรก็ตาม เมื่อในขณะนี้ภาพรวมของการเสียภาษียังมีบุคคล หรือบริษัทนิติบุคคล ที่เสียภาษีไม่ครบถ้วน ข้อเสนอของกรมสรรพากรที่ถูกส่งไปยัง คสช. คือ 1.การเพิ่มอำนาจให้แก่กรมสรรพากร ในการขอรับข้อมูลจากสถาบันการเงินโดยไม่ต้องใช้หมายเรียก เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีส่วนช่วยในการสร้างความโปร่งใสให้กับภาครัฐ เพื่ออุดรูรั่วที่เกิดขึ้นกับระบบภาษี

“ส่วนตัวมองว่า หากทุกอย่างมีความโปร่งใส การคอร์รัปชันจะไม่เกิดขึ้น และหากมีการคอร์รัปชันเกิดขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเกิดขึ้นจากภาครัฐเพียงส่วนเดียว แต่ต้องมีภาคเอกชนมาเป็นคู่ “ตบมือให้ดัง” ผมสังเกตเห็นภาคเอกชนออกมาต่อต้านการคอร์รัปชัน เสนอมาตรการต่างๆ มากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ได้พูดถึงแต่ภาครัฐเพียงอย่างเดียว ไม่ได้พูดถึงฝั่งเอกชนของตัวเอง”

แตกต่างไปจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ มีเรื่อง Foreign Account Tax Compliance Act หรือ FATCA คือ กรณีสถาบันการเงินของประเทศนั้นๆ มีคนอเมริกันทำธุรกรรมทางการเงินจะต้องส่งข้อมูลทางการเงินของคนอเมริกันไปให้ทางการของสหรัฐฯด้วย เพื่อป้องกันการฟอกเงิน และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี แต่ประเทศไทยไม่มีเรื่องเหล่านี้ ทำให้เกิดช่องโหว่ในการตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้ เพราะถูกปกปิดเป็นความลับของลูกค้า โดยคนที่ซื้อสินค้าราคาแพง เช่น บ้าน หรือรถยนต์หรู ไม่จำเป็นต้องสำแดงรายได้ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ 2.คือ สิ่งที่กรมสรรพากรเสนอ คสช.และอยากได้มากที่สุด คือ การหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีซื้อมาขายไป

ประเด็นเหล่านี้ หากทำได้สำเร็จประสิทธิภาพการทำงานของกรมสรรพากรจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว เนื่องจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทำให้กรมสรรพากรได้รับรู้ข้อมูลธุรกิจและการค้าอย่างครบวงจร ตัวเลขข้อมูลของธุรกิจการค้าเหล่านั้นก็จะกลับมาเป็นเครื่องมือของกรมสรรพากรในการควบคุมผู้เสียภาษีให้ตามใจชอบไม่ได้อีกแล้ว

“ธุรกิจปัจจุบันที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายมีไม่กี่ประเภท เช่น การว่าจ้างทำของ เงินข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เงินเดือนพนักงานบริษัทเอกชน รายได้จากนักแสดง ดาราพิธีกร และรายได้ ที่เกิดจากการจับรางวัลหรือจับสลาก ซึ่งกรมสรรพากรใช้เป็นเครื่องติดตามยอดรายรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและธุรกิจต่างๆ ได้เป็นอย่างดี”

ขณะที่ร้านค้าทั่วไป ที่มีการซื้อขายเงินสด เช่น สำเพ็ง เยาวราช วัดตึก ในกรณีที่ขายสินค้าในปริมาณมากๆ หรือจัดอยู่ในกลุ่มพวกร้านค้าส่ง (ยี่ปั๊ว) เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าก็จะออกใบส่งของชั่วคราวเกือบ 90% มากกว่าใบกำกับภาษี ซึ่งการออกใบส่งของชั่วคราวทำให้ไม่มีหลักฐาน และไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี เพราะไม่ใช่ใบกำกับภาษี แต่เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างเอกชนกับเอกชนในการส่งมอบสินค้าระหว่างกัน โดยไม่มีการลงบันทึกเป็นประวัติของผู้เสียภาษี เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้า ร้านค้าเหล่านี้ จึงไม่กล้าออกใบกำกับภาษี เพราะเป็นธุรกิจที่หนีภาษีมาตั้งแต่ต้นทาง ปลายทางเมื่อมาถึงผู้บริโภคก็ไม่มีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% เกิดขึ้น “ตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งเป็นปีแรกที่กรมสรรพากรเริ่มใช้แวต 7% โดยเก็บภาษีจากผู้บริโภคคนสุดท้าย แต่ลืมดูขั้นตอนระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก วงจรของภาษีแวตนั้นถูกตัดตอนออกไป ธุรกิจเหล่านี้ ไม่มีประวัติไม่มีหลักฐานของภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่ต้องออกใบกำกับภาษี ผมจึงต้องมาเริ่มนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง เพื่อที่จะพยายามผลักดันให้เรื่องนี้สำเร็จโดยเร็ว โดยไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องของการจัดเก็บรายได้ แต่ต้องการทราบข้อมูลของธุรกิจทุกการซื้อขายที่เกิดขึ้น เพื่อควบคุมการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล”

คงอัตราภาษีเดิมกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่อัตราภาษีอื่นๆ ที่กรมสรรพากรประกาศใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น มีโครงสร้างใหญ่ๆ คือภาษีเงินนิติบุคคลที่จัดเก็บในอัตรา 20% ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เริ่มตั้งแต่ 5% ไปจนถึง 35% รวมทั้งหมด 7 ขั้น และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ระดับ 7% ได้ยืนยันกับ คสช.ว่า ควรจัดเก็บอยู่ในอัตราเดิมทั้งหมด

“ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% ในปัจจุบัน ถือว่าเหมาะสมกับค่าครองชีพและความเป็นอยู่คนไทยในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้แล้ว หากขึ้นอัตราภาษีแวตขึ้นไปอีก ผมมองว่า ภาระทั้งหมดจะไปตกอยู่ที่ประชาชนที่ซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค ที่จะต้องจ่ายเงินมากขึ้นตามอัตราภาษีที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่คนบางกลุ่ม หรือผู้ประกอบการบางรายที่ไม่เคยเสียภาษีแวตเลย คือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการขึ้นอัตราภาษีทุกครั้ง” อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงสาเหตุที่กรมสรรพากรเสนอให้ คสช.คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% ต่อไปอีก 1 ปี

สำหรับสิ่งที่กรมสรรพากรเร่งดำเนินการในขณะนี้ คือ การดึงธุรกิจหรือคนที่อยู่นอกระบบภาษีให้เข้ามาอยู่ในระบบ หรือเข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลของกรมสรรพากรให้มากขึ้น เนื่องจากภาระภาษีของคนกลุ่มนี้ ในปัจจุบันและอนาคตอาจจะไม่เคยมีเลย ก็จะมีมากขึ้น และจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนเสียภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนกับธุรกิจทั่วไป ซึ่งเป็นการดีกว่าขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 10% เนื่องจากทุกๆ 1% ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้น กรมสรรพากรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 70,000 ล้านบาท มันก็คือ ภาระภาษีของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

“ผมได้ตั้งคำถามขึ้นมาในใจก่อนทุกครั้งที่จะตัดสินใจว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องย้อนกลับมาดูการทำงานของตัวเองและของกรมสรรพากรก่อนว่า ผู้ประกอบการในปัจจุบันได้แสดงรายได้ไว้ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ ถ้าผู้ประกอบการทุกรายแสดงรายได้ตรงตามความเป็นจริง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ระดับ 7% ถือว่ายังมีความเพียงพอและยังมีความเหมาะสมกับเศรษฐกิจไทย หมายความว่า ไม่มีคนที่หลีกเลี่ยงภาษี แต่ในความจริงยังปรากฏอยู่ว่า มีผู้ประกอบการอีกจำนวนมากที่เสียภาษียังไม่ครบถ้วน”

ขณะที่การขึ้นอัตราภาษีในแต่ละครั้งคนที่เดือดร้อนก็คือ ประชาชน และยังจะยิ่งไปเพิ่ม ภาระให้แก่คนระดับรากหญ้า ดังนั้น อัตราภาษีที่ 7% ควรจะอยู่ที่เดิม แต่กรมสรรพากรก็ต้องหันมาเพิ่มน้ำหนักกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้มากขึ้น ประชาชนทั่วไปจะได้ไม่เดือดร้อน ภาครัฐเองก็ได้ภาษีเพิ่มขึ้น น่าจะเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง

หักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท

“อีกประเด็นหนึ่งน่าสนใจ หาก คสช.ต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และลดการใช้นโยบายประชานิยม ก็ควรจะปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนเองให้ความสำคัญมาก เพราะในช่วงที่ผ่านมา นักการเมือง ไม่ว่าพรรคการเมืองใดมักจะใช้เครื่องมือภาษีของกรมสรรพากรไปหาเสียง โดยอ้างว่าเพื่อลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ทำให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของผู้เสียภาษี ที่จนหรือรวยล้นฟ้าก็ได้สิทธิ์หักค่าลดหย่อนเท่ากันหมด

“สิ่งที่เรากำลังดำเนินการปรับปรุงอยู่ในเวลานี้ คือ การกำหนดเพดานสูงสุดในการหักค่าลดหย่อนส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันรายการหักค่าลดหย่อนส่วนบุคคลมีจำนวนมากกว่า 25 รายการ เช่น ดอกเบี้ยบ้านไม่เกิน 100,000 บาท ประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท การเลี้ยงดูบุพการี ไม่เกิน 30,000 บาท คนพิการไม่เกิน 60,000 บาท”

ขณะที่ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งซึ่งมีฐานะดี และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือแอลทีเอฟ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรืออาร์เอ็มเอฟ ฝั่งละไม่เกิน 500,000 บาท หรือไม่เกิน 15% ของรายได้ ทำให้รวมแล้วเมื่อหารหักค่าลดหย่อนกับจำนวนผู้ได้รับการลดหย่อนทั้งหมดแล้ว มีผู้มีเงินได้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีไม่น้อยกว่า 1.7 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเงินที่มากเกินไป

“ดังนั้น ผมมองว่าถึงเวลาแล้ว ที่กรมสรรพากรต้องพิจารณาปรับปรุงการใช้สิทธิ์ในการหักค่าลดหย่อนต่างๆ โดยให้นำค่าลดหย่อนทั้งหมดมาคำนวณรวมกันแล้ว สามารถหักค่าลดหย่อนสูงสุดได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท”

นายสุทธิชัยชี้ให้เห็นด้วยว่า การลดหย่อนภาษีในปัจจุบันนี้ คนที่มีรายได้สูงๆ ที่อยู่บนยอดพีระมิดแม้จะมีจำนวนแค่ 40,000 ราย เมื่อเทียบกับผู้เสียภาษีส่วนใหญ่ที่เป็นคนชั้นกลางและคนที่มีรายได้น้อย 10 ล้านคน คนรวยก็ได้ประโยชน์มากกว่าคนทั่วไป เพราะคนที่จะมีเงินออมและลงทุนผ่านแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟได้นั้น ต้องมีเงินเหลือเก็บ แตกต่างกับชีวิตคนทำงานทั่วไปที่มีเงินออมเหลือเก็บอยู่น้อยมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องลดช่องว่างดังกล่าวให้แคบลง เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางภาษีระหว่างคนที่มีรายได้มากกับคนที่มีรายได้น้อย

ทั้งนี้ “อธิบดีกรมสรรพากร” กล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า “ทุกมาตรการ คสช.มีนโยบายออกมา กรมสรรพากรและหน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องถือปฏิบัติ และต้องทำให้เกิดผลเป็นจริงๆขึ้นมาด้วย เพราะ คสช.ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ โดยยังคงยึดแนวทางวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด ดังนั้น ภายใต้การปรับปรุงระบบภาษีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว กรมสรรพากรมีหน้าที่ต้องพยายามหารายได้เข้าสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลให้มากที่สุด”

โดยยืนยันว่า กรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2557 ตามเป้าหมาย 1.89 ล้านล้านบาท และในปีงบประมาณหน้าอีก 1.96 ล้านล้านบาท โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน เว้นแต่ผู้ที่เสียภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน.

ทีมเศรษฐกิจ
การปรับปรุงอยู่ในเวลานี้ คือ การกำหนดเพดานสูงสุดในการหักค่าลดหย่อนส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันรายการหักค่าลดหย่อนส่วนบุคคลมีจำนวนมากกว่า 25 รายการ เช่น ดอกเบี้ยบ้านไม่เกิน 100,000 บาท ประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท การเลี้ยงดูบุพการี ไม่เกิน 30,000 บาท คนพิการไม่เกิน 60,000 บาท”

ขณะที่ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งซึ่งมีฐานะดี และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือแอลทีเอฟ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรืออาร์เอ็มเอฟ ฝั่งละไม่เกิน 500,000 บาท หรือไม่เกิน 15% ของรายได้ ทำให้รวมแล้วเมื่อหารหักค่าลดหย่อนกับจำนวนผู้ได้รับการลดหย่อนทั้งหมดแล้ว มีผู้มีเงินได้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีไม่น้อยกว่า 1.7 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเงินที่มากเกินไป

“ดังนั้น ผมมองว่าถึงเวลาแล้ว ที่กรมสรรพากรต้องพิจารณาปรับปรุงการใช้สิทธิ์ในการหักค่าลดหย่อนต่างๆ โดยให้นำค่าลดหย่อนทั้งหมดมาคำนวณรวมกันแล้ว สามารถหักค่าลดหย่อนสูงสุดได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท”

นายสุทธิชัยชี้ให้เห็นด้วยว่า การลดหย่อนภาษีในปัจจุบันนี้ คนที่มีรายได้สูงๆ ที่อยู่บนยอดพีระมิดแม้จะมีจำนวนแค่ 40,000 ราย เมื่อเทียบกับผู้เสียภาษีส่วนใหญ่ที่เป็นคนชั้นกลางและคนที่มีรายได้น้อย 10 ล้านคน คนรวยก็ได้ประโยชน์มากกว่าคนทั่วไป เพราะคนที่จะมีเงินออมและลงทุนผ่านแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟได้นั้น ต้องมีเงินเหลือเก็บ แตกต่างกับชีวิตคนทำงานทั่วไปที่มีเงินออมเหลือเก็บอยู่น้อยมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องลดช่องว่างดังกล่าวให้แคบลง เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางภาษีระหว่างคนที่มีรายได้มากกับคนที่มีรายได้น้อย

ทั้งนี้ “อธิบดีกรมสรรพากร” กล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า “ทุกมาตรการ คสช.มีนโยบายออกมา กรมสรรพากรและหน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องถือปฏิบัติ และต้องทำให้เกิดผลเป็นจริงๆขึ้นมาด้วย เพราะ คสช.ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ โดยยังคงยึดแนวทางวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด ดังนั้น ภายใต้การปรับปรุงระบบภาษีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว กรมสรรพากรมีหน้าที่ต้องพยายามหารายได้เข้าสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลให้มากที่สุด”

โดยยืนยันว่า กรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2557 ตามเป้าหมาย 1.89 ล้านล้านบาท และในปีงบประมาณหน้าอีก 1.96 ล้านล้านบาท โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน เว้นแต่ผู้ที่เสียภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน.

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 30 มิ.ย. 2557