Page 1 of 1

ระทึก! นักวิทย์ชาวญี่ปุ่นสร้าง “เชื้อไข้หวัดนก” ที่ฝ่า “ภูมิ

Posted: 03 Jul 2014, 10:16
by brid.siriwan
ระทึก! นักวิทย์ชาวญี่ปุ่นสร้าง “เชื้อไข้หวัดนก” ที่ฝ่า “ภูมิคุ้มกัน” ในร่างกายมนุษย์ได้

โยชิฮิโร คาวาโอกะ นักไวรัสวิทยาชาวญี่ปุ่นซึ่งเชี่ยวชาญด้านไวรัสไข้หวัดใหญ่และอีโบลา ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสันระทึก! นักวิทย์ชาวญี่ปุ่นสร้าง “เชื้อไข้หวัดนก” ที่ฝ่า “ภูมิคุ้มกัน” ในร่างกายมนุษย์ได้
เอเอฟพี – นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นในสหรัฐฯ อ้างว่าประสบความสำเร็จในการสร้างเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ได้ วานนี้(2)

แม้งานวิจัยเกี่ยวไวรัส H1N1 หรือ “ไข้หวัดนก 2009” ภายในห้องทดลองความมั่นคงสูงของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมืองเมดิสัน จะยังไม่ได้เผยแพร่อย่างเป็นทางการ แต่ความคืบหน้าของโครงการก็ถูกนำมาตีแผ่เป็นครั้งแรกโดยหนังสือพิมพ์ ดิ อินดิเพนเดนท์ ของอังกฤษ วานนี้(1)

บทความดังกล่าวเอ่ยถึงนักไวรัสวิทยาชาวญี่ปุ่นนาม โยชิฮิโร คาวาโอกะ ว่าเป็นคนที่ชอบ “ขัดแย้งกับชาวบ้าน” และนักวิทยาศาสตร์บางคนที่ล่วงรู้ว่า คาวาโอกะ กำลังทดลองอะไรอยู่ถึงกับ “ขวัญผวา” ไปตามๆ กัน

คาวาโอกะ ยืนยันกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า เขาประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งจะทำให้ไวรัส H1N1 หลบหลีกภูมิคุ้มกันที่ปกป้องร่างกายมนุษย์อยู่ได้

“จากการคัดเลือกไวรัสบางตัวที่สามารถเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ ภายในห้องแล็บที่ควบคุมอย่างเหมาะสม เราค้นพบหัวใจสำคัญที่จะทำให้ไวรัส 2009 H1N1 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์” นักวิทยาศาสตร์สายเลือดปลาดิบให้สัมภาษณ์ผ่านอีเมล์

อย่างไรก็ตาม เขาชี้ว่า การที่ ดิ อินดิเพนเดนท์ เอางานวิจัยของเขาไปเผยแพร่ และวิจารณ์ว่าเป็น “การปลุกปั่นให้สังคมวุ่นวาย” เพราะเท่ากับสร้างไวรัสร้ายแรงที่มนุษย์ไม่อาจจะต้านทานได้นั้น ออกจะเป็นการ “ใส่สีตีไข่” ไปสักหน่อย

“เป็นเรื่องน่าเสียดายที่สื่อออนไลน์มักจะใส่สีตีไข่เพื่อดึงดูดผู้อ่าน ใช้ข้อความพาดหัวข่าวให้คนตื่นเต้น โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และสุขภาพของคน”

คาวาโอกะ อธิบายว่า วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ก็เพื่อศึกษาว่า เชื้อไข้หวัดนกอาจกลายพันธุ์ในธรรมชาติได้อย่างไร ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นวัคซีนต่อต้านที่ได้ผลยิ่งขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ยืนยันว่า เขาได้เสนอผลการศึกษาเบื้องต้นต่อคณะกรรมการองค์การอนามัยโลก (WHO) และ “ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

เมื่อช่วงปี 2011 และ 2012 เกิดกระแสความตื่นกลัวเกี่ยวกับงานวิจัยไข้หวัดนก H5N1 เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากเนเธอร์แลนด์และทีมนักวิทศาสตร์ในสหรัฐฯ ต่างก็พบวิธีที่จะดัดแปลงพันธุกรรมไวรัสให้สามารถแพร่กระจายในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้อย่างง่ายดาย

ทั้งนี้ มีความกังวลกันว่า นักวิทยาศาสตร์อาจสร้างเชื้อไวรัสที่ร้ายแรงเหมือนเช่น “ไข้หวัดใหญ่สเปน” ที่เคยแพร่ระบาดในช่วงปี 1918-1919 และคร่าชีวิตประชากรโลกไปถึง 50 ล้านคน แต่สิ่งที่คนกลัวกันมากที่สุดก็คือ ผู้ก่อการร้ายอาจค้นพบวิธีเพาะพันธุ์และปล่อยไวรัสนั้นออกมา หรือไม่ก็อาจเกิดอุบัติเหตุในห้องแล็บที่ทำให้ไวรัสแพร่กระจายสู่โลกภายนอก

ทีมา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 3 กรกฎาคม 2557