Page 1 of 1

นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ ขึ้น VAT 10% กระทบขยายตัว ศก.-การบริโภคชะ

Posted: 18 Jul 2014, 15:42
by brid.siriwan
นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ ขึ้น VAT 10% กระทบขยายตัว ศก.-การบริโภคชะลอ

"อนุสรณ์ ธรรมใจ" ชี้ขึ้น VAT 10% กระทบประชาชนบริโภค-อุปโภคชะลอตัวระยะสั้น แต่ช่วยหนุนรายได้เข้ารัฐ พัฒนาประเทศ ด้าน "คำนูณ" ระบุประกาศภาษีมูลค่าเพิ่มของ คสช. เป็นเรื่องทางเทคนิค...

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยกับ "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" ว่า จากกรณีที่จะมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากเดิม 7% ปรับเพิ่มให้อยู่ในอัตรา 10% ตามเพดานสูงสุดที่มีอยู่เดิมตามกฎหมาย โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2558 เป็นต้นไป หากนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้น มีแนวคิดปรับขึ้น VAT ไปเป็น 10% อาจจะส่งผลให้การบริโภคของภาคประชาชนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ เกิดการชะลอตัวลงในระยะสั้น

การปรับขึ้น VAT เป็น 10% อาจทำให้รายได้โดยรวมของประเทศอยู่ในอัตราที่ลดลง แต่ก็ไม่ถึงกับลดลงมากและกินเวลายาวนาน เนื่องจากสินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิดนั้น เป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนต้องกินต้องใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"มองว่าการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% ควรโดย ไทยรัฐออนไลน์ 18 ก.ค. 2557 15:07

ทำตั้งนานแล้ว แต่ในช่วงแรกๆ ประชาชนอาจเกิดความไม่พอใจ ที่มีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 10% แต่ในอีกทางหนึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถนำเงินนั้นๆ มาใช้ เพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไป" นายอนุสรณ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันจะพบว่าอัตราภาษีมีมูลค่าเพิ่ม ของไทยอยู่ที่ 7% ซึ่งถือว่าต่ำสุดในอาเซียน เนื่องจากบางประเทศมีการเรียกเก็บสูงถึง 15% ดังนั้น หากครบกำหนด 1 ปี จะมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 10% ตามเพดานสูงสุด ที่มีอยู่เดิมตามกฎหมายหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลในขณะนั้น ที่จะเป็นผู้ตัดสินใจ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ระบุประกาศภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเรื่องทางเทคนิค

ขณะที่ช่วงเช้าที่ผ่านมา (18 ก.ค. 57) นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีต ส.ว. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Kamnoon Sidhisamarn" โดยระบุถึงประกาศณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 92/2557 เรื่อง การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ว่า ประกาศ คสช.ฉบับ 92 เมื่อคืนนี้ไม่ใช่ลด VAT เหลือ 6.3% ตามข่าวที่บางสื่อพาดหัว เพราะถ้ารวมภาษีท้องถิ่นอีก 1 ใน 9 ของอัตรา VAT ที่จัดเก็บ (คือ 6.3 %) ก็คือ ต้องเก็บเพิ่มอีก 0.7% ก็จะเท่ากับ 7% เท่าเดิมเหมือนเดิมทุกประการ (ทำนองเดียวกับประกาศข้อ 2 ที่ให้เก็บ 9% ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2558 เมื่อรวมภาษีทัองถิ่นแล้ว ก็เท่ากับ 10% เท่าอัตราที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. VAT ตั้งแต่ปี 2535 ไม่มีอะไรใหม่) สรุปคือ เป็นประกาศของรัฏฐาธิปัตย์เทียบเท่าพระราชกฤษฎีกาให้คงอัตรา VAT ไว้ที่ 7% ต่อไปจนถึง 30 ก.ย. 2558

ทั้งนี้ เป็นประกาศที่จำเป็นในทางเทคนิค เพราะถ้าไม่ประกาศอัตรา VAT จะขึ้นไปเป็น 10% นับแต่วันที่ 1 ต.ค. 2557 ทันที ตาม พ.ร.บ.ที่ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2535 เพราะพระราชกฤษฎีกาฉบับล่าสุด ปี 2555 ที่ให้คงอัตรา VAT ไว้ที่ 7% จะหมดอายุลงในวันที่ 30 ก.ย. 2557 นี้แล้ว

ขณะเดียวกัน คงทราบกันดีแล้วว่า พ.ร.บ. VAT ที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 กำหนดให้เก็บในอัตรา 10% แต่มีพระราชกฤษฎีกาให้เก็บเพียง 7% มาโดยตลอด เหตุผลเริ่มแรกก็เพื่อจูงใจให้คนเข้าสู่ระบบ VAT เหตุผลต่อๆ มาคงเป็นประเด็นทางการเมือง จะมียกเว้นก็ในช่วง 2 ปียุควิกฤติเศรษฐกิจปี 2540-2542 เท่านั้นที่ต้องเก็บ 10% ตามเงื่อนไขที่ IMF กำหนดให้ปฏิบัติ

อนึ่ง การคงเก็บ 7% เรื่อยมาเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาในแต่ละช่วง มีอายุคราวละ 1-2 ปี ล่าสุด ก็เมื่อปี 2555 มีอายุ 2 ปี และล่าสุดจริงก็คือ ประกาศ คสช.ฉบับที่ 92 เมื่อคืนนี่ที่มีอายุ 1 ปี ไปหมดอายุเอาวันที่ 30 ก.ย. 2558 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าวันที่ 1 ต.ค. 2558 จะขึ้นไปเป็น 10% เพราะขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลในขณะนั้น ว่าจะตราพระราชกฤษฎีกาออกมาต่ออายุคงอัตราไว้ที่ 7% ไปอีก 1-2 ปีตามประเพณีหรือไม่ หรืออาจมีแนวคิดขึ้นอัตราจาก 7% เป็น 8% หรือ 9% คือ ไม่ถึง 10% ก็ยังอาจเป็นไปได้

"สรุป คือ ประกาศ คสช.ฉบับที่ 92 เป็นเพียงประกาศทางเทคนิคที่ต้องทำ ไม่ใช่ คสช.ลดหรือเพิ่มอัตรา VAT ครับ" นายคำนูณ ระบุ.
โหวตข่าวนี้

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 18 ก.ค. 2557