เครื่องวิเคราะห์โปรตีนตกค้างในยางพารา - ฉลาดคิด

Post Reply
brid.kavee
Posts: 256
Joined: 05 Apr 2013, 08:51

เครื่องวิเคราะห์โปรตีนตกค้างในยางพารา - ฉลาดคิด

Post by brid.kavee »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


เครื่องวิเคราะห์โปรตีนตกค้างในยางพารา - ฉลาดคิด
« on: February 13, 2013, 10:41:52 am »

เครื่องวิเคราะห์โปรตีนตกค้างในยางพารา - ฉลาดคิด


จากแนวคิดประยุกต์ใช้การถ่ายภาพจากเว็บแคมทั่ว ๆ ไป มาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือตรวจวิเคราะห์สารละลายทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ

ทำให้ “เครื่องดิจิตอลอิมเมจเบสคัลเลอริมิเตอร์” ผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา มาสวัสดิ์ นายทศพร มาสวัสดิ์ และ นายนนทวัฒน์ บางเอี่ยม จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คว้ารางวัลประดิษฐ์คิดค้นระดับดีในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสภาวิจัยแห่งชาติไปครอง

โดยสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ผู้วิจัยบอกว่า พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณของโปรตีนและฟอสฟอรัสที่ตกค้างในน้ำยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา

ซึ่งจะทดแทนเครื่องมือที่ใช้อยู่เดิมคือ ยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ ซึ่งใช้เทคนิคการดูดกลืนแสง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาแพงและเป็นเครื่องมือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในภาคสนาม

สำหรับเครื่องดิจิตอลอิมเมจเบสคัลเลอริมิเตอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา บอกว่า จะใช้วิธีการถ่ายภาพสีของสารละลายตัวอย่างด้วยกล้องวิดีโอขนาดจิ๋ว ซึ่งมีเซ็นเซอร์รับภาพชนิดซีมอส ทำหน้าที่ถ่ายภาพด้วยโปรแกรมที่เขียนขึ้น และส่งภาพถ่ายสีไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

โปรแกรมจะอ่านค่าสีอาร์จีบี ซึ่งสามารถบอกความแตกต่างของสีได้มากกว่า 16 ล้านสี แล้วเก็บรวบรวมไว้เป็นค่าสีมาตรฐาน เมื่อนำภาพถ่ายของสารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์มาประมวลค่าสีอาร์จีบี ด้วยเทคนิคการจำลองการจดจำของสมอง จะสามารถบอกได้ว่าสารละลายนั้น ๆ มีความเข้มข้นเท่าใด

สำหรับวัสดุที่ใช้ ผู้วิจัยบอกว่า ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ กล่องควบคุมแสง ประยุกต์มาจากกล่องเครื่องมือแพทย์สีดำ ภายในมีหลอดไดโอดเปล่งแสงสีขาว ตัวต้านทานปรับค่าได้ และแบตเตอรี่ รวมถึงเซลล์ใส่สารตัวอย่าง

ส่วนการถ่ายภาพใช้เป็นกล้องเว็บแคมที่อยู่ในโน้ตบุ๊ก ต้นทุนในการประดิษฐ์รวมโน้ตบุ๊กแล้วไม่เกิน 5 หมื่นบาทเบื้องต้นทดสอบใช้งานแล้วภายในมหาวิทยาลัย โดยใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณของโปรตีนตกค้างในยางพาราผู้วิจัยบอกอีกว่า
ต้นแบบสิ่งประดิษฐ์นี้สามารถ ประยุกต์ใช้งานในการตรวจวิเคราะห์สารละลายได้อีกหลากหลายชนิด ซึ่งพร้อมถ่ายทอดสิทธิในการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป.

ที่มา : เดลินิวส์
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 00:00 น.
นาตยา คชินทร
nattayap.k@dailynews.co.th
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”