Page 1 of 1

ไขข้อสงสัย เด็ก 4 เดือนกินอาหารขยะได้หรือไม่

Posted: 29 Jul 2014, 12:25
by brid.siriwan
ไขข้อสงสัย เด็ก 4 เดือนกินอาหารขยะได้หรือไม่

หลังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กระหึ่มโลกออนไลน์ กรณี ไก่-มีสุข แจ้งมีสุข พิธีกรชื่อดัง โพสต์ภาพและคลิปป้อนแฮมเบอร์เกอร์ให้ลูกน้อยวัย 4 เดือน กลายเป็นประเด็นที่ใครหลายคนให้ความสนใจ โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่ว่าแท้จริงแล้ว เด็กวัย 4 เดือนกินอาหารขยะได้หรือไม่

เรื่องนี้ พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช และอนุกรรมการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ให้ความรู้ไว้อย่างละเอียดในเพจ "สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ" ซึ่งเป็นเพจให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูก โดยทีมข่าว ASTVผู้จัดการ Live ได้ต่อสายตรงพูดคุยกับคุณหมอ และได้รับอนุญาตให้นำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับวิธีการให้อาหารเสริมมานำเสนอต่อเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่พ่อแม่ทุกคน

พญ.สุธีรา ออกตัวก่อนว่า การให้ความรู้ต่อไปนี้ ไม่ได้มีเจตนาตำหนิใคร แต่เป็นการให้ข้อมูลวิธีให้อาหารเสริมที่ถูกต้อง และให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อควรระวังของอาหารขยะเท่านั้น

กล่าวถึงการให้เด็ก 4 เดือนดูดแฮมเบอร์เกอร์ หรือมะเขือเทศที่อยู่ในแฮมเบอร์เกอร์ คุณหมอ บอก พร้อมเตือนว่า ต้องระวังเรื่องการสำลักชิ้นส่วน หรือเศษอาหารเข้าปากลงหล22:07 น.
อดลม ทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจจนเป็นอันตรายได้ ดังนั้น พ่อแม่ หรือผู้ดูแลจึงควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีที่มีปัญหาสำลักเศษอาหารเข้าหลอดลมไว้ด้วย

ลึกลงไปถึงเรื่องการให้อาหารเสริมลูกน้อย งานวิจัยล่าสุดปี 2012 จาก Cochrane review กล่าวว่า ถึงแม้จะมีงานวิจัยบางฉบับ แนะนำให้เริ่มอาหารเสริมตอน 4 เดือน โดยอ้างว่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิแพ้ แต่จากการรีวิวโดย Cochrane แล้ว ยังไม่พบข้อเสียของการเริ่มอาหารเสริมที่อายุ 6 เดือนตามที่งานวิจัยเหล่านั้นกล่าวอ้าง Cochrane จึงยังคงคำแนะนำเหมือนเดิม คือ เริ่มอาหารเสริมที่ 6 เดือน ยกเว้นกรณีมีปัญหาการเติบโตน้อยเกินไปในทารกบางราย เช่น แม่ขาดสารอาหารขั้นรุนแรง หรือลูกมีโรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้การเติบโตน้อยเกินไป

ส่วนเหตุผลที่ไม่ควรให้อาหารเสริมก่อนอายุ 6 เดือน คุณหมอบอกไว้เป็นข้อๆ ดังนี้

- ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วย เพราะได้รับภูมิต้านทานจากนมแม่เต็มที่ การศึกษาหนึ่งพบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรกมีปัญหาโรคหูชั้นกลางอักเสบน้อยกว่ากลุ่มที่เริ่มอาหารเสริมเร็ว โดยลดลงถึง 40% และมีปัญหาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจลดลงอย่างชัดเจน

- ไม่ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนักเกินไป ถ้าเริ่มเร็วเกินไป อาจมีปัญหา ท้องอืด ท้องผูก น้ำย่อยโปรตีนยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ย่อยโปรตีนได้ไม่เต็มที่ น้ำย่อยคาร์โบไฮเดรตยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะอายุ 6-7 เดือน น้ำย่อยไขมันยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะอายุ 6-9 เดือน

ที่มา ASTVผู้จัดการรายวัน
วันที่ 28 กรกฎาคม 2557