"โครมบุ๊ก" โน้ตบุ๊กแนวคิดใหม่

Post Reply
brid.kavee
Posts: 256
Joined: 05 Apr 2013, 08:51

"โครมบุ๊ก" โน้ตบุ๊กแนวคิดใหม่

Post by brid.kavee »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


"โครมบุ๊ก" โน้ตบุ๊กแนวคิดใหม่
« on: February 04, 2013, 03:41:08 pm »

"โครมบุ๊ก" โน้ตบุ๊กแนวคิดใหม่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ pairat@matichon.co.th

ผมเคยได้ยินผู้สันทัดกรณีบอกเอาไว้ว่า ในโลกยุคข้อมูลข่าวสารมหาศาลเลื่อนไหลไปมาอยู่ในอินเตอร์เน็ตรอให้ทุกคนหยิบฉวยมาใช้นั้น "ฮาร์ดแวร์" มีความสำคัญน้อยลงไปทุกที สิ่งที่ทวีความสำคัญมากขึ้นก็คือ "ซอฟต์แวร์" ที่มีศักยภาพในการเอื้ออำนวยให้เราเข้าไปหยิบฉวยเอาข้อมูลหลากสิ่ง หลายอย่างและมากรูปแบบเหล่านั้นมาใช้เท่านั้นเอง

"โครมบุ๊ก" คือตัวแทนของแนวคิดดังกล่าวนั้นครับ

โดยนิยามแล้ว "โครมบุ๊ก" ก็คือคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ไม่มีอะไรมาให้เลย นอกจากซอฟต์แวร์เพียงตัวเดียวนั่นคือ "เว็บเบราเซอร์" ส่วนที่เหลือทั้งหมด รวมทั้งอะไรต่อมิอะไรที่เราเรียกกันว่า "ระบบปฏิบัติการ" หรือ "โอเอส" นั้น ถูกรวมเอาไว้ใน "เซิร์ฟเวอร์" ที่ใช้เบราเซอร์ที่ให้มาเพื่อการ "เข้าถึง" เซิร์ฟเวอร์ที่ว่าแล้วหยิบมันมาใช้งานตามความต้องการ

สิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการทำงานของ "โครมบุ๊ก" ก็คือ ซอฟต์แวร์เล็กๆ ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ที่เราเรียกกันว่า "แอพพลิเคชั่น" หรือ "แอพพ์" ต่างๆ นั่นเอง มันทำหน้าที่ตั้งแต่

ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เรื่อยไปจนถึงการทำงานเอกสารต่างๆ แอพพ์เหล่านี้จะทำหน้าที่แทน "ซอฟต์แวร์" ต่างๆ ที่ติดตั้งลงบนเครื่องโน้ตบุ๊กเมื่อก่อนนี้ ในขณะเดียวกันก็มีที่เก็บข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้ใช้แต่ละคน (ผ่านกูเกิลไดรฟ์ ที่แถมพื้นที่ 100 GB มาให้ผู้ซื้อโครมบุ๊กทุกเครื่องใช้งานฟรีๆ เป็นระยะเวลา 2 ปี)

ถ้าใครยังนึกภาพโครมบุ๊กไม่ออก ก็ขอให้ถือเสียว่ามันคือสมาร์ทโฟนเครื่องหนึ่ง ที่มีจอขนาดใหญ่และมีคีย์บอร์ดมาให้ทำงานได้สบายๆ กว่าการจิ้มทีละตัวนั่นเอง

ภายใต้กระบวนการทำงานดังกล่าว "ฮาร์ดแวร์" หรือเครื่องโน้ตบุ๊กของเราก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง "โอเอส" ไม่จำเป็นต้องมีขีดความสามารถในการประมวลผลสูงมากๆ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดไดรฟ์ความจุเยอะๆ และออปติคอลไดรฟ์อีกต่อไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา?

ก็คือ ราคาลดลงกว่าโน้ตบุ๊กเต็มประสิทธิภาพมาก ตัวเครื่องบางแถมยังเบา เหมาะต่อการพกพาไปไหนต่อไหน และสามารถทำหน้าที่เป็นเสมือนพีซีประจำโต๊ะทำงานได้สบายๆ

สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการทำงานกับโครมบุ๊กนอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการใช้คอมพิวเตอร์ใหม่เล็กๆ น้อยๆ ก็คือ การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะแบบมีสาย ไร้สาย หรือ 3จี แต่ต้องมี ไม่เช่นนั้นโครมบุ๊กก็ไม่สามารถทำงานใดๆ ได้โดยสิ้นเชิงนั่นเอง

ตอนนี้มีผู้ผลิตพีซีหลายรายหันมาผลิตโครมบุ๊กออกมาวางจำหน่ายกันแล้ว อย่างเช่น เอเซอร์ ซัมซุง แล้วก็คาดว่าจะมีอีกหลายรายทยอยออกผลิตภัณฑ์มามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น เลอโนโว เตรียมวาง "ธิงค์แพด โครมบุ๊ก" ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การเป็นอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนโดยเฉพาะในราวเดือนกุมภาพันธ์นี้ แล้วก็ เอชพี ที่จะประเดิมเจเนอเรชั่นแรกของโครมบุ๊กของตัวเองในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ด้วยราคาที่ดึงดูดใจเอามากๆ เพราะเริ่มต้นตั้งแต่ไม่ถึง 6 พันบาทเท่านั้นเอง

ข้อเท็จจริงที่ว่ามีผู้ผลิตทยอยผลิตโครมบุ๊กออกมาสู่ท้องตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนถึงข้อเท็จจริงที่ว่าโครมบุ๊กนั้นขายได้ อันที่จริง จิม หว่อง ประธานของเอเซอร์ ยักษ์ใหญ่วงการคอมพิวเตอร์จากไต้หวัน ที่วางตลาดโครมบุ๊กมาตั้งแต่ราวๆ เดือนกันยายนหรือตุลาคมปีที่ผ่านมา บอกว่า ยอดวางขายของโครมบุ๊กไปได้ดีกว่าที่คาดไว้ ถึงตอนนี้กินสัดส่วนยอดขายโน้ตบุ๊กของเอเซอร์เข้าไปแล้วระหว่าง 5-10 เปอร์เซ็นต์

ยอดวางขายของโน้ตบุ๊กเอเซอร์ในสหรัฐ อเมริกาในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา อยู่ระหว่าง 803,000-1,377,824 ตัว ในขณะที่โครมบุ๊กมียอดวางขายอยู่ระหว่าง 26,900-92,314 ตัว ซึ่งจะว่าไปแล้ว สูงกว่ายอดขาย โครเมีย 700 แท็บเล็ตของเอเซอร์เองที่ยอดวางขายในช่วงเดียวกันอยู่ที่เกินกว่า 5,000 เครื่องนิดหน่อยเท่านั้นเอง

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าโครมบุ๊กจะไม่สามารถทดแทนสิ่งที่พีซีและโน้ตบุ๊กทั่วไปทำได้อยู่ในเวลานี้อย่างเต็มที่ (โดยเฉพาะเรื่องของการทำงานในสถานะออฟไลน์) แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็เชื่อว่ามันสามารถสั่นคลอนการผูกขาดโอเอสในเครื่องพีซีของไมโครซอฟท์ได้แน่ๆ

ที่เห็นกันชัดเจนก็คือเรื่อง "รายได้" ที่ไมโครซอฟท์จะได้จากการขายระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และซอฟต์แวร์เพื่อการใช้งานเอกสารอย่างไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ คงกระทบกระเทือนจากโครมบุ๊ก

แต่จะมากหรือน้อยต้องคอยจับตาดูกันอีกทีครับ

ที่มา : นสพ.มติชน
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”