เกาะติด "Digital Trend 2013" แนะธุรกิจปรับตัวรับ "อีคอมเมิร

Post Reply
brid.kavee
Posts: 256
Joined: 05 Apr 2013, 08:51

เกาะติด "Digital Trend 2013" แนะธุรกิจปรับตัวรับ "อีคอมเมิร

Post by brid.kavee »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


เกาะติด "Digital Trend 2013" แนะธุรกิจปรับตัวรับ "อีคอมเมิร์ซ" บูม
« on: February 04, 2013, 03:14:16 pm »

เกาะติด "Digital Trend 2013" แนะธุรกิจปรับตัวรับ "อีคอมเมิร์ซ" บูม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

โลกออนไลน์เปลี่ยนเร็วมากยากต่อการคาดเดา การเรียนรู้และติดตามข่าวสารเพื่อพัฒนาตนเองตลอดเวลา ทั้งเรื่องเทคโนโลยีของอุปกรณ์และเทรนด์ผู้บริโภคว่าเดินหน้าไปทางไหน จึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยจัดงานจิบกาแฟคนทำเว็บ WebPresso หัวข้อ "Digital Trend 2013"

โดย "ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ" กรรมการผู้จัดการ และเจ้าของเว็บไซต์ตลาดดอตคอม กล่าวว่า การใช้อีคอมเมิร์ซเพื่อซื้อสินค้าแฟชั่น และอาหารในประเทศญี่ปุ่นได้รับความนิยมสูงมาก แต่ประเทศไทยไม่ได้รับความนิยม ส่วนหนึ่งเพราะการขนส่งยังไม่เต็มรูปแบบ มีเพียงเจ้าเดียวที่ผูกตลาด คือ ไปรษณีย์ไทย ฝั่งญี่ปุ่นถ้าให้ยกตัวอย่างน่าจะเป็น "Yamamoto" บริษัทนี้มีการขนส่งตั้งแต่ใช้เครื่องบินไปจนถึงรถคันเล็ก ๆ ที่เข้าได้ทุกซอกซอย มีระบบห้องเย็นทำให้ส่งอาหารได้สะดวก ที่สำคัญสินค้าของไทยยังขาด story หรือความมีเนื้อเรื่องของผลิตภัณฑ์ เช่น ทำขึ้นมาเป็น OTOP แต่ไม่รู้มาจากไหนอย่างไร ต่างจากญี่ปุ่นที่วัสดุทุกอย่างมีที่มา ทำให้สินค้าดึงดูดความสนใจมากกว่ารสชาติหรือดีไซน์เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ก่อนก้าวเข้าสู่อีคอมเมิร์ซเต็มตัวผู้ค้าควรพัฒนาเรื่องนี้ด้วย

ถ้ากลับมาที่การขายของออนไลน์ ประเทศไทยก็ยังขาดคุณสมบัติบางข้อ เมื่ออ้างอิงจากทฤษฎี 3L หรือ Long Page (ทำเว็บไซต์ที่ยาวกว่าปกติ), Live (ติดต่อกลับได้ทันที) และ Long Tail (เพิ่มสินค้าให้หลายหมวดหมู่) เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซไทยเมื่อลูกค้าสนใจและต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกลับติดต่อไม่ได้ หรือบางครั้งเว็บไซต์ไม่ดึงดูดความสนใจผู้ซื้อ

"ญี่ปุ่นล้ำกว่าเรามาก แม้แต่ไข่ไก่ก็ยังซื้อออนไลน์ บางเว็บขายแต่ไข่ไก่ 5-6 ล้านบาทต่อเดือน ตอนนี้ก็มีกลุ่มโมเดิร์นเทรดหลายเจ้าในไทย ทั้งบิ๊กซี และท็อปส์เริ่มขายสินค้าออนไลน์แล้ว เพราะผู้บริโภคเริ่มมาซื้อของบนนี้กันมากขึ้น"

เมื่อกลับมามองอีกบริการที่ได้รับความนิยมเร็วมากอย่าง "เดลี่ดีล" ซึ่งปัจจุบันลดความนิยมลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะร้านต่าง ๆ เริ่มอยู่ไม่ได้จากการลดราคา รวมถึงผู้บริโภคไม่ยอมซื้อเพราะไม่มีสินค้าใหม่ ๆ เช่นกัน ซึ่งเทคนิคของการทำเว็บประเภทนี้นักพัฒนาต้องหันมามองที่การใช้มือถือผ่านเว็บไซต์ด้วย ทำให้การออกแบบเปิดได้รวดเร็วหรือภายใน 3 วินาที ระบบการวางปุ่ม และข้อมูลต้องไม่มากเกินไป เพื่อให้ใช้งานง่ายและน่าอ่านเมื่ออยู่บนมือถือ

รวมถึงเรื่องการใช้เดบิตการ์ด หรือบัตรเอทีเอ็มที่รูดซื้อของได้ ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ปัจจุบันมีกว่า 35 ล้านใบ เกือบทุกใบธนาคารพัฒนาระบบให้รูดซื้อของบนอินเทอร์เน็ตได้ ถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการปั้นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสักแห่ง เพราะผู้บริโภคแทบจะพร้อม 100% แล้วผู้ค้ากลุ่มเอสเอ็มอีควรหันมาใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ รองรับการเปิดเสรีอาเซียนและต้องอย่าลืมสร้างสินค้าให้มีจุดเด่น

ด้าน "ศิวัตร เชาวรียวงษ์" นายกสมาคมเว็บไทย กล่าวเสริมว่า การใช้อีคอมเมิร์:ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเร็วมาก ถ้าจะเน้นตลาดนี้การประชาสัมพันธ์ต้องเป็นรูปแบบใหม่ คือใช้เสิร์ชและโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการสร้างความสนใจ มองเห็นสินค้าและบริการของผู้ทำเว็บ

นอกจากนี้ การใช้สื่อออนไลน์เพื่อติดต่อกับลูกค้ายังมีประโยชน์มากกว่าการใช้สื่อหลัก เช่น การนับจำนวนผู้สนใจได้ชัดเจนผ่านการคลิก หรือ Mention ชื่อเว็บนั้นไปสู่คนนอก ที่สำคัญขั้นตอนการใช้งานควรสั้นที่สุด หรืออยู่ในช่วงคลิกครั้งเดียว

สำหรับเทรนด์ปีนี้ การใช้ภาพเคลื่อนไหวมาดึงดูดผู้บริโภคบนเว็บจะมีมากขึ้นชัดเจน ด้วยพฤติกรรมคนไทยชอบดูมากกว่าอ่าน ทำให้วิดีโอต่าง ๆ เป็นภาพจำสินค้าได้มากกว่า เช่น ตอนนี้มีบางเว็บนำวิดีโอของผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาสนับสนุนแทรกไว้ก่อนคลิปวิดีโอที่ผู้ใช้ต้องการดู แต่ปีนี้อาจได้เห็นวิดีโอโฆษณาแทรกอยู่ภายในคลิปก็ได้ เหมือนโฆษณาในโทรทัศน์ทุกประการ

และยังมีการใช้งานดาราต่าง ๆ เป็นพรีเซ็นเตอร์ควบคู่ไปกับการทำตลาดบนโลกออนไลน์อีกด้วย ตัวอย่างที่ดีที่สุดไม่พ้นไอศกรีมยี่ห้อหนึ่งที่แจกสินค้าให้ดาราเพื่อโพสต์รูปคู่สินค้าบน Instragram ที่สุดแล้วทำให้สินค้าติดตลาด เพราะผู้คนหลายล้านได้เห็นสินค้าผ่านไทม์ไลน์ของดารา

"สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี" ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เพย์สบาย จำกัด กล่าวว่า ปีที่ผ่านมามีเม็ดเงินในอีคอมเมิร์ซเพียง 4 พันล้านบาท แต่ปีนี้น่าจะโตขึ้นเกือบเท่าตัว หรือ 7,000-10,000 ล้านบาท ปัจจัยหลักคือโทรศัพท์มือถือที่จะมีการใช้งานเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาถูกลง พร้อมระบบดาต้าที่เป็น 3G แบบ 2.1 GHz ทำให้ความเร็วสูงกว่าที่ใช้ปัจจุบันมาก หากเอสเอ็มอีรายใดไม่รีบปรับตัว โอกาสที่ร้านนั้นจะหายไปจากตลาดมีสูง หรือถ้าไม่หายไปการทำธุรกิจก็จะยากกว่าเดิม ผ่านการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น

เชื่อว่าภายในไม่เกิน 5 ปีทุกรายจะขยับมาออนไลน์มากขึ้น ซึ่งระบบต่าง ๆ น่าจะเอื้อกับการซื้อของบนอีคอมเมิร์ซแล้ว รวมถึงระบบชำระเงิน ซึ่งอาจมีชาวต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในไทยมากขึ้นก็ได้

ด้านยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอ็นจิ้น "พรทิพย์ กองชุน" ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประจำประเทศไทย กูเกิล เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า ยุคนี้ถือเป็นยุคแห่งการก้าวไปสู่มือถือ ถ้าทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ขึ้นมาแล้วไม่สนใจฟังก์ชั่นนี้ โอกาสที่จะไม่ได้รับความนิยมมีสูง ทั้งการใช้แบบมัลติสกรีนเป็นอีกเทรนด์ที่ทำให้ผู้ค้าปรับตัวอย่างง่าย ๆ คือ ปกติแล้วจะรับสื่อจากโทรทัศน์ แต่ตอนนี้ระหว่างที่ดูโทรทัศน์ ทุกคนจะหยิบมือถือ หรือแท็บเลตขึ้นมาเล่น ถ้านำสินค้าไปแทรกอยู่ตรงนั้นได้ โอกาสที่จะสำเร็จก็มีสูง

"เรามองว่าทุกอย่างน่าจะก้าวมาสู่โลกโมบาย จึงพยายามเป็นผู้ช่วยของผู้ประกอบการ เช่น ส่งเว็บไซต์ www.howtogomo.com/th เพื่อให้ทุกคนตรวจสอบเว็บไซต์ของตัวเองว่าเหมาะสมกับการอ่านบนมือถือหรือไม่ รวมถึงแนะนำ http://www.dudamobile.com/ ที่ให้ผู้สนใจทำเว็บบนมือถือนำไปโหลดใช้ได้ฟรี โดยจะมีเลย์เอาต์คร่าว ๆ ในการวางหน้าเว็บบนมือถือ ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อผู้เริ่มต้น"

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
Prachachat Online
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”