Page 1 of 1

เพิ่มมูลค่าอัญมณีด้วยแสงซินโครตรอน

Posted: 04 Oct 2014, 08:50
by brid.siriwan
เพิ่มมูลค่าอัญมณีด้วยแสงซินโครตรอน

ประเทศไทยเป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของโลกที่มีอัญมณีหลากหลายชนิด โดยอุตสาหกรรมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ได้รับการยกย่องทั้งในด้านคุณภาพและราคาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ประเทศไทยเป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของโลกที่มีอัญมณีหลากหลายชนิด โดยอุตสาหกรรมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ได้รับการยกย่องทั้งในด้านคุณภาพและราคาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และทำรายได้เข้าประเทศเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพื่อยกระดับวงการอัญมณีไทย ด้วยงานวิจัยทางด้านวิทยา ศาสตร์แสงซินโครตรอน ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและสร้างองค์ ความรู้ใหม่ ๆ สถาบัน วิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงสร้างกลุ่มวิจัยที่มุ่งเน้นงานวิเคราะห์และพัฒนาคุณภาพอัญมณีด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง กล่าวถึงที่มาของการนำแสงซินโครตรอนมาใช้กับงานด้านอัญมณีว่า สีสันอันสวยงามของอัญมณีนั้นเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ชนิดของแร่ รูปแบบโครงสร้างของสารประกอบ และอะตอมของธาตุชนิดต่าง ๆ ที่เจือปนอยู่ในผลึก โดยธาตุเจือปนบางชนิดนั้นมีอยู่ในปริมาณน้อยมาก ตรวจสอบได้ยากโดยวิธีทั่ว ๆ ไป จึงมีการนำเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (X-ray Absorption Spectroscopy) ซึ่งผลิตได้ ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มาใช้ในการศึกษาหาองค์ประกอบของธาตุและสารประกอบที่มีผลต่อสีและความงามของอัญมณีแต่ละชนิดได้นอกจากนี้ ในอุตสาหกรรมอัญมณียังมีความพยายามที่จะสรรหากรรมวิธีในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพเพื่อเปลี่ยนสภาพพลอยดิบที่มีสีขุ่น ไม่สดใส หรือมีการกระจายตัวของสีไม่สม่ำเสมอ ให้มีความสวยงามและแวววาวมากยิ่งขึ้น เช่น การเผาหรือการหุงพลอย การเคลือบสี การฉายรังสี การย้อมสี และการฉาบสีซึ่งแต่ละกรรมวิธีรวมถึงขั้นตอนและปัจจัยต่าง ๆ ของกระบวนการเหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความสวยงามของอัญมณีทั้งสิ้นดังนั้นนอกจากจะ ใช้เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ของแร่อัญมณีแล้ว เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ได้ถูกนำมาใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอะตอมด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ รวมถึงการใช้แยกแยะ ตรวจสอบ และการนำมาซึ่งความรู้ใหม่ ๆ สำหรับศึกษากระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณีต่ออีกด้วยทั้งนี้ปัจจุบันกลุ่มนักวิจัยระบบลำเลียงแสงที่ 8 ได้ทำการค้นคว้าวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น ความร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการศึกษากระบวนการเปลี่ยนสีของพลอยแซฟไฟร์ การทำความเข้าใจองค์ประกอบที่มีผลต่อสีของโทแพซ การหาธาตุที่เป็นองค์ประกอบในกลไกการเปลี่ยนสีของไข่มุกดำ เป็นต้นและจากการใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ศึกษาไข่มุก ทำให้ได้องค์ความรู้ที่นำมาสู่นวัตกรรมการวิจัยเพื่อผลิตไข่มุกสีทองด้วยแสง ซินโครตรอน ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ไข่มุกน้ำจืดซึ่งปกติมีราคาต่ำ สามารถเปลี่ยนสีเป็นสีเมทัลลิกทองที่โดดเด่น สวยงาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการคิดค้นกระบวนการสร้างลวดลายบนไข่มุกด้วยแสงซินโครตรอน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดตัวอักษรขนาดเล็ก หรือลวดลายที่มีรายละเอียดสูงระดับไมโครเมตรลงบนไข่มุกกระบวนการเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการเพิ่มมูลค่าไข่มุก และถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการอัญมณีระดับโลก .


ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 3 ตุลาคม 2557