Page 1 of 1

ไมโครซอฟท์ 'Dynamic CRM' สู่การตลาดแบบใหม่ภายใต้คลาวด์ (Cybe

Posted: 06 Oct 2014, 13:46
by brid.siriwan
ไมโครซอฟท์ 'Dynamic CRM' สู่การตลาดแบบใหม่ภายใต้คลาวด์ (Cyber Weekend)

ซีซ่าร์ เซอร์นูด้า ประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์ จุดพลุ ไดนามิกซ์ ซีอาร์เอ็ม พร้อมเปิดโอกาสให้ลูกค้าไทยใช้งานผ่านระบบคลาวด์ ชูความโดดเด่นในแง่ของการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในงานด้านการตลาดและ บริการลูกค้า พร้อมประสบการณ์ใช้งานด้วยยูสเซอร์อินเตอร์เฟสบนแพลตฟอร์มที่คุ้นเคย

ซีซ่าร์ เซอร์นูด้า ประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไมโครซอฟท์ กล่าวย้ำถึงแนวคิดในการที่จะนำพาไมโครซอฟท์เข้าสู่การเป็นบริษัทผู้นำในแง่ของอุปกรณ์พกพา และบริการคลาวด์ (Mobile First, Cloud First) เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจที่ใช้งาน สามารถนำแพลตฟอร์มการใช้งานที่คุ้นเคยเข้าไปช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กรธุรกิจ

โดยปัจจุบันไมโครซอฟท์จะให้ความสำคัญกับการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ในแง่ของการบริการเพื่อออกมาตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในแง่ของการเพิ่มประสบการณ์ในการใช้งานของลูกค้า การเปลี่ยนผ่านธุรกิจให้เข้าสู่ยุคดิจิตอล เพื่อให้บริษัทกลายเป็นองค์กรที่เข้าถึงผู้บริโภคอย่างแท้จริง

'ที่ผ่านมาลูกค้าของไมโครซอฟท์ในกลุ่มองค์กร ธุรกิจ จะนิยมนำโซลูชันต่างๆของไมโครซอฟท์ไปใช้งานภายในองค์กรโดยนำข้อมูลเก็บไว้บน ดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเองเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล แต่ก็ทำให้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไประบบคลาวด์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นจึงทำให้หลาย องค์กรเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานมาใช้บริการบนคลาวด์แทน'

ข้อมูลที่ น่าสนใจคือ ปัจจุบันไมโครซอฟท์มีฐานลูกค้าที่ใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์อยู่ไม่ต่ำ กว่า 1.5 หมื่นล้านคนในแต่ละวัน โดยในจำนวนนี้ 200 ล้านคนใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 (Windows 8) แยกย่อยลงไปอีกจะพบว่า 1.1 หมื่นล้านคนมีการใช้งานไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ (Microsoft Office)

เมื่อมองลงไปในกลุ่มบริษัทที่ถูกจัดอันดับจาก ฟอร์จูน โกลบอล (Fortune Global) พบว่ามากกว่า 90% ภายใน 100 อันดับแรกมีการใช้งานไมโครซอฟท์ ลิงค์ (Microsoft Lync) ที่เป็นเสมือนระบบติดต่อสื่อสารภายในองค์กร 85% ในกลุ่ม 500 อันดับมีการใช้งาน ไมโครซอฟท์ แยมเมอร์ (Microsoft Yammer) ที่เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กภายในองค์กร 7 ใน 10 อันดับแรกมีใช้งาน ไมโครซอฟท์ ไดนามิกซ์ (Microsoft Dynamic) และ 60% จาก 500 อันดับ ได้มีการเปลี่ยนมาใช้งาน ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 365 เรียบร้อยแล้ว

โซลูชัน และบริการต่างๆของไมโครซอฟท์ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มลูกค้าองค์กร ส่งผลให้ผู้ใช้งานเกิดความคุ้นเคย พร้อมกับเห็นเทรนด์ในการใช้งานบริการที่เริ่มจะหันไปให้ความสนใจกับระบบ คลาวด์มากขึ้น จากการที่กว่า 57% ของ 500 อันดับในฟอร์จูน โกลบอล ได้มีการนำไมโครซอฟท์ อะซัว (Microsoft Azure) เข้าไปใช้งาน

เมื่อเจาะลึกเข้ามาในกลุ่มบริการธุรกิจของ ไมโครซอฟท์ อย่างไมโครซอฟท์ ไดนามิกซ์ ที่มีทั้งบริการในรูปแบบของการบริหารจัดการธุรกิจขององค์กร (ERP : Enterprise resource planning) รวมไปถึงบริการที่จะเริ่มเปิดให้ใช้งานในประเทศไทยผ่านระบบคลาวด์เพิ่มเติม คือการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM : Customer relationship management) ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพขององค์กรธุรกิจในตลาดได้

โดยกลุ่มผู้ใช้งาน Dynamic ERP จะมีบริษัทในระดับโลกอย่างโกดัก สตาร์บัค โรเลกซ์ จีเอ็ม รวมไปถึงทีมที่เข้าแข่งขันฟอร์มูล่าวัน (Formula 1) หลายๆทีม โดยเฉพาะโลตัส (Lotus) ที่ถือว่าเป็น 1 ในทีมที่ประสบความสำเร็จจากการนำ ERP มาบริหารจัดการในภาวะที่บริษัทกำลังตกต่ำ และฟื้นฟูกลับขึ้นมาได้ด้วยความรวดเร็ว ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากปกติไปได้มากกว่า 30%

อีกส่วน หนึ่งคือ Microsoft CRM 2015 ที่ทางไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดตัวออกสู่ตลาดในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2014 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ครอบคลุมการให้บริการในหลากหลายประเทศมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่มีให้บริการในภูมิภาคเอเชียแค่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ ล่าสุดได้มีการเพิ่มอินโดนีเชีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และไทย เข้ามาเป็น 12 ประเทศ

ความโดดเด่นของ Microsoft CRM 2015 คือการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยให้องค์กรสามารถนำ ข้อมูลต่างๆมาวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอแคมเปญหรือโปรโมชันที่ดีที่สุดไปยังกลุ่มผู้บริโภค รวมไปถึงการนำมาขยายขีดความสามารถทางด้านการขายให้มีศักยภาพ พร้อมกับความเป็นโมบิลิตีมากขึ้น เพื่อให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ได้ตลอดเวลา

เอเดรียน จอนห์สัน รองประธานฝ่ายธุรกิจไดนามิกซ์ ไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก ให้ข้อมูลเสริมว่า สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดของ Dynamic CRM ในธุรกิจที่มีเครือข่ายข้ามประเทศคือทุกประเทศ จะสามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อความร่วมมือที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

'ที่สำคัญคือนักการตลาด และฝ่ายขาย จะทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภค โดยในการใช้งานจะทำงานบนอินเตอร์เฟสที่คุ้นเคยคล้ายๆกับไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ และไมโครซอฟท์เองก็มีดีไวซ์ที่รองรับการใช้งานที่หลากหลายด้วย'

ก่อนหน้า นี้ นายอัลวาโร เซลิส รองประธานบริหารฝ่ายขายการตลาด บริการ สารสนเทศและปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ เอเชียแปซิฟิก เคยให้ข้อมูล ถึงตลาดคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่ามีอัตราการเติบโตสูงมาก ส่งผลให้บริการด้านคลาวด์ของไมโครซอฟท์ในภูมิภาคนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด ถึง 4.2 เท่าตัว ซึ่งที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ให้บริการผ่านพันธมิตรทางธุรกิจกว่า 14,000 รายทั่วเอเชียแปซิฟิก ส่วนตลาดในประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีของคลาวด์เช่นกัน ซึ่งไมโครซอฟท์มีพันธมิตรพร้อมให้บริการ 1,800 ราย

ขณะที่ทาง ไอดีซี คาดการณ์ว่า ตลาดโซลูชันพลับบลิคลาวด์ในเอเชียแปซิฟิกจะสูงถึง 8.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 และแอปพลิเคชันบนโมบายจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัวเช่นกัน ส่วนการลงทุนด้านอุปกรณ์ที่จะรองรับจะพุ่งมาแตะที่ระดับ 6.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2560

ปัจจุบัน ฐานลูกค้าของไมโครซอฟท์ ไดนามิกซ์ จะมีมากกว่า 5.5 ล้านผู้ใช้งาน จากกว่า 3.75 แสนลูกค้า มีการเติบโตต่อเนื่องในระดับ 2 ดิจิตต่อเนื่อง 40 ไตรมาส ส่วนถ้านับเฉพาะ CRM Online จะมีอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาอยู่ที่ราว 80% และ 2 ใน 3 ของลูกค้าใหม่เลือกใช้งานบริการดังกล่าวบนคลาวด์

ส่วนใน ตลาดประเทศไทย องค์กรธุรกิจหลายแห่งมีการเช่าใช้งาน Dynamic CRM จากประเทศสิงคโปร์อยู่แล้ว และเมื่อมีการเปิดให้บริการในประเทศไทยด้วย ก็เชื่อว่าจะมีลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังรอนำบริการดังกล่าวมาใช้งานด้วย พร้อมไปกับการลงทุนระบบคลาวด์ในด้านอื่นๆต่อไป


ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 4 ตุลาคม 2557