Page 1 of 1

ไอเอ็มซี เผยไทยขาดบุคลากรพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์

Posted: 07 Oct 2014, 15:51
by brid.siriwan
ไอเอ็มซี เผยไทยขาดบุคลากรพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์

สถาบัน IMCเผยผลสำรวจบุคลากรไทยในการพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์ คอมพิวติ้งยังมีค่อนข้างน้อยถือเป็นอุปสรรค์ใหญ่ขององค์กรที่เห็นโอกาสทางธุรกิจและต้องการก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีคลาวด์ เหตุความเสี่ยงด้านระบบความปลอดภัยโดยเฉพาะเรื่องข้อมูล อีกทั้งกฎระเบียบของหน่วยงานและภาครัฐยังไม่เอื้อต่อการใช้งาน

วันนี้(7ต.ค.)ที่โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพฯ ดร.ธนชาตินุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบัน IMC กล่าวถึงผลสำรวจ CloudComputing Readiness in Thailand 2014 ที่จัดทำขึ้นจากแบบสอบถามออนไลน์และการสัมภาษณ์ระหว่างวันที่15พ.ค.-18ก.ย.57ในกลุ่มผู้บริหารผู้อํานวยการ ผู้จัดการและพนักงานทั้งในสายไอทีและอื่นๆในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจํานวน 383 รายและได้คัดกรองข้อมูลเหลือจำนวน 177 หน่วยงานว่าในจำนวนนี้เป็นองค์กรบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีพนักงานมากกว่า1,000 คนจํานวน 61หน่วยงานคิดเป็น 34%ของกลุ่มตัวอย่างและองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่มีพนักงานน้อยกว่า1,000 คนจํานวน 116 หน่วยงาน 66 %ของกลุ่มตัวอย่าง

ทั้งนี้ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจไอที26%กลุ่มธุรกิจอื่นเช่น ห้างสรรพสินค้า พลังงานก่อสร้าง และสิ่งพิมพ์ 15%กลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคาร12%กลุ่มธุรกิจการผลิต 10%และหน่วยงานภาครัฐ9%ซึ่งการสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่าง39%มีพนักงานไอทีน้อยกว่า20คน33%มีพนักงานไอทีจํานวนระหว่าง21-100คนและอีก28%เท่านั้นที่มีจํานวนพนักงานไอทีมากกว่า100คน

โดยส่วนของไพรเวทคลาวด์ (PrivateCloud) ในการสำรวจเพื่อประเมินรูปแบบการใช้บริการ(CloudService Models) พบว่ากลุ่มตัวอย่างจํานวนถึง167ราย(94%)มีServersใช้งานในองค์กรแต่ในกลุ่มนี้มีเพียง 47รายเท่านั้น(28%)ที่มีการใช้งานไพรเวท คลาวด์ อยู่แล้วโดยกลุ่มตัวอย่าง 48ราย(29%)มีแผนการใช้ติดตั้งในอนาคตขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่72ราย(43%)ยังไม่มีแผนงานด้านไพรเวท คลาวด์ แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามแนวโน้มที่น่าสนใจของการสำรวจที่พบคือแม้ปัจจุบันบริษัทหรือหน่วยงานขนาดใหญ่จะมีการใช้งานไพรเวท คลาวด์ เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าเอสเอ็มอีซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจขนาดใหญ่มีความซับซ้อนของข้อมูลในการดําเนินงานและเข้มงวดในเรื่องข้อมูลความลับทางการค้าแต่ปรากฏว่า เอสเอ็มอีมีแผนการใช้งาน ไพรเวทคลาวด์ ในอนาคตสูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ถือเป็นแนวโน้มสำคัญที่อุตสาหกรรมคลาวด์ในประเทศไทยไม่ควรมองข้าม

นอกจากนี้ในส่วนของการใช้บริการพับบลิคคลาวด์ (PublicCloud) ของหน่วยงานในประเทศไทยในปัจจุบันพบว่าหน่วยงานไทยใช้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งแพร่หลายมากขึ้นโดยเฉพาะรูปแบบการบริการ Infrastructureas a Services (IaaS) และSoftwareas a Service (SaaS)ส่วนหนึ่งเป็นผลจากจํานวนผู้ให้บริการในประเทศที่มีจํานวนเพิ่มขึ้นแต่ในส่วนรูปแบบการบริการPlatformas a Service (PaaS) ยังไม่มีข้อมูลว่ามีผู้ให้บริการภายในประเทศ

“แม้บริษัทหรือหน่วยงานขนาดใหญ่ในไทยมีการใช้งานไพรเวท คลาวด์ เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าเอสเอ็มอีซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจขนาดใหญ่มีความซับซ้อนของข้อมูลในการดําเนินงานและเข้มงวดในเรื่องข้อมูลความลับทางการค้า แต่ เอสเอ็มอีกลับมีสัดส่วนแผนการใช้งานPrivateCloud ในอนาคตที่สูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่”

ดร.ธนชาติ กล่าวว่า 5 ประเภทของซอฟต์แวร์ที่องค์กรไทยต้องการใช้บริการSaaSPublic Cloud ได้แก่ระบบอีเมล์,ระบบซอฟต์แวร์สร้างงานเอกสารเช่น Office365, ระบบพื้นที่เก็บข้อมูลเช่น Dropbox,ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า(CRM)และระบบบริหารทรัพยากรขององค์กร(ERP)

อย่างไรก็ตามบริการ คลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยยังคงต้องก้าวข้ามอุปสรรคที่หน่วยงานไทยเผชิญอยู่อาทิ ความเสี่ยงด้านระบบความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลการขาดบุคลากรที่มีความรู้ที่ดีพอกฎระเบียบของหน่วยงานและภาครัฐยังไม่เอื้อต่อการใช้งานการใช้งานคลาวด์ในประเทศไทยยังขาดมาตรฐานอีกหลายด้านและบุคลากรที่พัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์ยังน้อยอยู่

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 7 ตุลาคม 2557