Page 1 of 1

‘KBANK’ปรับระบบไอทีรับ‘ดิจิตอล อีโคโนมี’

Posted: 08 Oct 2014, 13:20
by brid.siriwan
‘KBANK’ปรับระบบไอทีรับ‘ดิจิตอล อีโคโนมี’

ทั้งนี้ ได้วางรูปแบบการให้บริการธุรกรรมการเงินดิจิตอล ด้วยกลุ่มบริการทางการเงินภายใต้แนวคิด BIZ Automation ประกอบด้วย 2 บริการหลัก คือ บริการจัดการด้านการเงิน และบริการการค้าระหว่างประเทศ

เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้ผู้ให้บริการธนาคารต่าง ๆ ต้องปรับตัวกับระบบบริการเพื่อตอบรับกระแสดิจิิตอล นายวศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เล่าว่า ธนาคารได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกรรมการเงินดิจิตอล ซึ่งมีจำนวนและมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ใช้เม็ดเงินลงทุนเพื่อพัฒนาระบบไอทีต่าง ๆ ไปแล้วกว่า 1,500 ล้านบาท ถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ดิจิตอล อีโคโนมี (Digital Economy) ของรัฐบาลด้วย ผ่านกสิกรไทยกว่า 1,000 สาขาทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ได้วางรูปแบบการให้บริการธุรกรรมการเงินดิจิตอล ด้วยกลุ่มบริการทางการเงินภายใต้แนวคิด BIZ Automation ประกอบด้วย 2 บริการหลัก คือ บริการจัดการด้านการเงิน และบริการการค้าระหว่างประเทศ

ซึ่งทั้ง 2 บริการอยู่บนฐานของการทำธุรกรรมการเงินจำนวนมหาศาลในแต่ละวันเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และธุรกิจการค้าใน 5 หมวด คือ 1.ทำธุรกรรมการเงินทั่วโลกได้ทุกที่ทุกเวลา ทั้งในและต่างประเทศ โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบการตรวจสอบยอดเงินและการเห็นสถานะทางการเงินของบริษัทในเครือได้แบบเรียลไทม์พร้อมรับเงินและทั้งชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากลผ่านเครื่องมือสื่อสารทุกรูปแบบ

2.บริการธุรกรรมการเงินได้หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินดิจิตอลทางโทรศัพท์มือถือพร้อมกับออนไลน์ทำธุรกรรมการเงินที่รวดเร็วมั่นใจได้ว่าทุกธุรกรรมทั้งในและต่างประเทศของธุรกิจจะทำได้อย่างสะดวกสบาย

3.ทำธุรกรรมได้ด้วยสกุลเงินหลักทั่วโลก ช่วยให้การรับและจ่ายเงินจากการค้าระหว่างประเทศไม่ล่าช้าและมีต้นทุนที่ถูกลง พร้อมรายงานสถานะทางบัญชีได้บนระบบอิเล็กทรอนิกส์

4.ทำธุรกรรมจำนวนมากได้ง่ายไม่วุ่นวาย ผ่าน Bulk Payment and Collection ช่วยให้ลูกค้าทำธุรกรรมได้ครั้งละหลาย ๆ ธุรกรรมจบได้ในครั้งเดียวครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ

และ 5.ธุรกรรมต่างประเทศถึงคู่ค้าได้ภายในวันเดียว พร้อมการันตีทั่วโลก ช่วยให้ธุรกิจได้รับความสะดวก รวดเร็ว มั่นใจได้ หากธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศช้ากว่าที่การันตีไว้เพียงนาทีเดียว ลูกค้าธุรกิจไม่ต้องจ่ายค่าบริการ

อย่างไรก็ตาม ธนาคารถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นตัวช่วยให้ลูกค้าสามารถขับเคลื่อนธุรกิจเข้าสู่แนวทางเศรษฐกิจดิจิตอลของภาครัฐได้ รวมถึงช่วยพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของลูกค้าได้ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการบริหารจัดการให้กับธุรกิจ

จากการพร้อมเข้าสู่เออีซี ปี 58 การพัฒนาระบบของแบงก์ครั้งนี้จะรองรับตลาดอีคอมเมิร์ซที่คิดจำนวนประชากร 700 ล้านคนในเออีซี ถือเป็นตลาดที่กว้างขึ้น ซึ่งจากตัวเลขการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านดิจิตอลของประเทศปัจจุบันอยู่ที่ 2.2 พันล้านล้านธุรกรรม และจะมีแนวโน้มเติบโตอีกมหาศาล

“เท่าที่ดูแล้ว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนด้านธุรกรรมการเงินให้ลูกค้าได้ประมาณ 10% ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องนี้แล้วยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย”

นายวศิน กล่าวว่า ปัจจุบัน การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสาขาถือเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งปริมาณและมูลค่าการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบดิจิตอลมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ 25% และ 10% ตามลำดับ โดยธนาคารมีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 1 ที่ 25% และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 30% ใน 3 ปี

เมื่อการใช้จ่ายเงินสะดวกสบายขึ้น การปรับปรุงระบบเพื่อรองรับความต้องการใช้งานของคนยุคดิจิตอลก็ต้องเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน.

กัญณัฏฐ์ บุตรดี
Kanyanat25@gmail.com

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 8 ตุลาคม 2557