Page 1 of 1

สศค.แก้ร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน

Posted: 22 Oct 2014, 13:05
by brid.siriwan
สศค.แก้ร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน

เปิดทางให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่กรรมการได้ เน้นหนี้เก่าไม่ยุ่ง ห้ามกู้หนี้ใหม่เท่านั้น ชี้หนุนคนมีความเข้ามาบริหารแบงก์รัฐได้ง่ายขึ้น

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า การที่ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ตามที่ สศค. ได้เสนอให้แก้ไขข้อห้ามของสถาบันการเงิน เพื่อสามารถให้สินเชื่อแก่กรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินได้ตามประเพณีปฏิบัติตราบเท่าที่ไม่เป็นการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน จะช่วยให้ผู้ที่มีความสามารถเ ข้ามาสมัครในตำแหน่งผู้บริหาร หรือกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (แบงก์รัฐ) ได้มากขึ้น

ทั้งนี้ สาระสำคัญของการแก้ ร่าง พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน เพื่อเปิดให้ผู้บริหาร หรือ กรรมการในสถาบันการเงิน รวมถึงญาติที่เกี่ยวข้อง ที่อาจกู้เงินจากสถาบันการเงินดังกล่าว เพื่อนำไปลงทุนประกอบอาชีพ ก็ยังคงให้ทยอยผ่อนชำระหนี้เก่าได้ตามเกณฑ์ปกติ ไม่จำเป็นต้องหาเงินมาปิดบัญชีเงินกู้ทั้งหมด แต่มีข้อห้ามว่าไม่ให้เปิดวงเงินกู้ใหม่ เพื่อสร้างความยุติธรรม และการทำงานที่โปร่งใสในการเข้ามาทำงานในสถาบันการเงิน

“คงเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมเท่าไร หากคนที่ถูกให้เข้ามาเป็นกรรมการ รวมถึง เครือญาติใกล้ชิด เช่น ภรรยา หากสามีมานั่งเป็นกรรมการต้องเคลียร์หนี้เก่าให้หมด เพราะบางคนเขากู้เงินไปทำธุรกิจจริง ๆ ทำให้ที่ผ่านมาจึงเป็นสาเหตุให้คนที่ไม่อยากมีปัญหา หรือยุ่งยาก และเลือกที่จะปฏิเสธมาเป็นกรรมการแบงก์รัฐ ซึ่งร่างใหม่กำหนดไว้ชัดว่าของเก่าไม่ยุ่ง แต่ของใหม่ห้ามกู้เพิ่มเท่านั้น”

ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง ได้เสนอแก้ร่าง พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน โดยกำหนดห้ามไม่ให้สถาบันการเงิน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สินเชื่อทำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้ สินเชื่อ หรือประกันหนี้แก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่เป็นการให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตตามอัตราขั้นสู งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด หรือการให้สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุคคลดังกล่าว หรือการให้สินเชื่อตามหลักเกณฑ์ที่ธปท. ประกาศกำหนด เมื่อเห็นว่าการให้สินเชื่อนั้นไม่ได้เป็นการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินออกจากสถาบันการเงินโดยไม่ชอบ

ทั้งนี้ ส่งผลให้ไม่เป็นธรรมต่อคนที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือกรรมการในสถาบันการเงิน รวมถึงเครือญาติใกล้ชิดที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งนำเงินมาใช้หนี้เก่าออกให้หมด เพื่อให้ผู้ที่เป็นกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีการเปิดวงเงินสินเชื่อในสถาบันการเงินดังกล่าว จึงเป็นอีกสาเหตุ ที่ทำให้คนที่มีความสามารถปฏิเสธการเข้ามานั่งเป็นผู้บริหาร หรือกรรมการของแบงก์รัฐ

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 21 ตุลาคม 2557