นักวิชาการหนุนเรียนรู้ภาษาอาเซียน

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

นักวิชาการหนุนเรียนรู้ภาษาอาเซียน

Post by brid.siriwan »

นักวิชาการหนุนเรียนรู้ภาษาอาเซียน

นักวิชาการย้ำภาษาอาเซียนมีความสำคัญในกลุ่มประชาคม แต่ต้องไม่ทิ้งภาษาอังกฤษเพราะเป็นภาษากลางที่ใช้สื่อสารได้กว้างขวางกว่า แนะซื้อตำราภาษาอาเซียนควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้เขียนกันหน้าแตกเวลานำไปใช้จริง

วันนี้(7 พ.ย.) ในการเสวนาเรื่อง” วิถีแห่งประชาคมอาเซียน“ งานเสวนาทางวิชาการภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดโดย ราชบัณฑิตยสถาน ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน กล่าวว่า ประชาคมอาเซียน เกิดมานานแล้ว และได้ร่วมทำความตกลงร่วมกันว่าจะสร้างแผนหรือวางพิมพ์เขียวการพัฒนาประชาคมให้เสร็จสิ้นในปลาย ปี 2558 เพราะฉะนั้น ปี 2558 จึงไม่ต้องรอเปิดหรือตั้งรับ หรือ เตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว เราต้องปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะตอนนี้ต้องถือว่าเราอยู่ในแผนพัฒนาประชาคมเฟสแรกแล้ว และเมื่อสิ้นปี 2558 ก็ต้องถือว่าเป็นการเข้าเฟสสองที่จะมีเป้าหมายของการพัฒนาที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นไม่ต้องตื่นตระหนกกันเพราะเราได้อยู่ในความเป็นประชาคมอาเซียนมานานแล้ว แต่ขอย้ำว่าภาษาอังกฤษคือภาษาที่สำคัญในการสื่อสารของกลุ่มอาเซียน

นางตูซาร์ นวย กรรมการวิชาการราชบัณฑิตยสถาน ผู้เชี่ยวชาญภาษาพม่า กล่าวว่า ตนอาศัยอยู่ประเทศไทยมานาน ภาษาพม่า มีรากมาจากภาษาบาลีสันสฤต อยู่ในตระกูลเดียวกับจีน ทิเบต ปัจจุบันมีภาษาที่ใช้ในประเทศ 110 ภาษา หลายตระกูลภาษา สำหรับการเรียนภาษาเพื่อนบ้านที่ผ่านมามีนักเรียนพม่า สนใจเรียนไทยศึกษาและลงเรียนภาษาไทย ประมาณ 10 คน แต่ปัจจุบันมีมากขึ้นลงเรียนถึง 200 คน โดยมีเป้าหมายเพื่อรับนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในพม่า และแนวชายแดน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ถ้าเด็กไทยไม่เปลี่ยนมุมมองยังมองภาษาพม่าเป็นภาษาของคนงานจึงไม่อยากเรียน ก็เตรียมตัวตกงานได้ เพราะเด็กพม่ารู้ภาษาพม่าและอังกฤษอยู่ในตัวอยู่แล้ว และยังเรียนภาษาไทยเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งในมุมของนักลงทุนเขาจ้างงาน 1 คน แต่จะประหยัดคนทำงาน 3 คน ไม่ต้องมีผู้ประสานงาน

“อย่างไรก็ตามในการเรียนภาษาพม่าซึ่งจะต้องใช้สื่อ ต้องมีหนังสือ อยากให้เลือกซื้อหนังสือที่มีชื่อผู้เขียน และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้เรียนด้วย เพราะหากนำไปใช้สื่อสารแล้วผิดความหมายอาจะทำให้หน้าแตก หรือเกิดความเข้าใจผิดกันได้”นางตูซาร์ นวย กล่าว

ด้าน น.ส.ส่าหรี สุฮาร์โย กรรมการวิชาการราชบัณฑิตยสถาน ผู้เชี่ยวชาญภาษาอินโดนีเซีย กล่าวว่า ตนเกิดในประเทศไทย มีพ่อแม่เป็นอินโดนีเซีย พูดได้ทั้งภาษาไทยและอินโดนีเซีย แต่ 2 ปีที่ผ่านมากระแสอาเซียน ภาษาอาเซียนทำให้ชีวิตตนเปลี่ยนไป เพราะคนไทยสนใจเรียนภาษาอาเซียนมากขึ้นและสนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียมากจนน่าตกใจ ซึ่งที่ผ่านมาตนจะสอนภาษาอินโดนีเซียโดยต้องจัดเตรียมข้อมูลเองเพราะหนังสือยังมีไม่มาก แต่ปัจจุบันมีตำราออกมาเป็นจำนวนมาก หากต้องการหาตำราก็ขอให้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของคนเขียนด้วย อย่างไรก็ตามภาษาอาเซียนเป็นภาษาที่น่าสนใจ เรียนรู้และน่าส่งเสริม แต่ก็อย่าทิ้งภาษาอังกฤษ​ เพราะเป็นการสื่อสารในวงกว้างได้มากกว่า

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”