Page 1 of 1

รีบมาเรียนวางแผนการเงินกันเถิด

Posted: 08 Nov 2014, 10:47
by brid.siriwan
รีบมาเรียนวางแผนการเงินกันเถิด

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยและผันผวนนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพต่างหันมาศึกษาเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้กับตนเอง และประชาชนก็นิยมรับคำปรึกษาจากนักวางแผนการเงิน เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายชีวิต และเป้าหมายการเงินมากขึ้นประเทศในเอเชียแปซิฟิก 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ไต้หวัน จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ในกลุ่ม 30-49 ปี ลองหันมามองประเทศที่มีกลุ่มนักวางแผนการเงิน ซึ่งมีอายุเฉลี่ยสูง คือ ระหว่าง 40-49 ปี ประกอบด้วย ออสเตรเลีย เกาหลี นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย ส่วนประเทศอื่นๆ คือ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ มีนักวางแผนการเงินที่อายุเฉลี่ยน้อยกว่า คือ อยู่ในกลุ่มอายุ 30-39 ปีมากที่สุด

ที่น่าสนใจต่อไป คือ ส่วนใหญ่สัดส่วนของผู้หญิงกับผู้ชายจะใกล้เคียงกัน คือ ผู้ชายประมาณ 50-60% และผู้หญิงประมาณ 40-50% ยกเว้น 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มีนักวางแผนการเงินที่เป็นผู้ชาย 67% ญี่ปุ่นมีนักวางแผนการเงินชายเป็นสัดส่วน 77.4% ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีสัดส่วนของนักวางแผนการเงินชายสูงถึง 80% และอินเดียที่นักวางแผนการเงินเป็นผู้ชายถึง 84.3% ส่วนประเทศที่มีนักวางแผนการเงินหญิงมากกว่าผู้ชาย ในปัจจุบันมีประเทศเดียว คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีนักวางแผนการเงิน เป็นผู้หญิง 59.2% เป็นผู้ชาย 40.8% การตื่นตัวเรื่องวางแผนการเงินในเอเชีย เพิ่งเริ่มขึ้นมาไม่นานนี้ แต่คาดว่าอีกไม่กี่ปีก็จะแซงหน้าต้นตำรับ คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันมีนักวางแผนการเงิน 60,226 คน เป็นผู้ชาย 76.47% ผู้หญิง 23.35% สำหรับอายุจะสูงกว่าเอเชีย เพราะกำเนิดมาเกือบ 40 ปีแล้ว โดย 29.97% ของนักวางแผนการเงินในสหรัฐอเมริกา มีอายุระหว่าง 50-59 ปี และ 27.43% มีอายุระหว่าง 40-49 ปี ผมชื่อว่า มีหลายคนตั้งคำถามขึ้นมาว่า ประเทศในทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่างเอเชีย คือประเทศไหน? ในปัจจุบัน ประเทศที่มีนักวางแผนการเงินจำนวนมากที่สุดในเอเชีย คือ ญี่ปุ่น ซึ่งมีจำนวน 16,463 คน แต่ประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันมี 4,452 คน ประกาศว่าจะแซงญี่ปุ่นภายในเร็วๆ นี้

จากข้อมูลที่นำมาเล่าสู่กันฟังในข้างบนนั้น สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 จนถึงศตวรรษที่ 20 ในปัจจุบันนั้นทั่วทุกมุมโลก ทำให้คนในยุคต่อๆ มาล้วนอยากเรียนรู้ และวางแผนไว้รับมือวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพย์สินของตัวเอเงมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา

ยกตัวอย่าง ทุกวันนี้ เศรษฐกิจอังกฤษซบเซา ยังไม่รู้ว่าเมื่อไรจะฟื้นคืนชีพอย่างยั่งยืน แต่คนเมืองผู้ดีก็เริ่มวางแผนการเงินสำหรับอนาคตให้รอบคอบขึ้นกว่าเดิมกันแล้ว โดยสถาบันนักวางแผนการเงินของสหราชอาณาจักร รวบรวมไว้ 10 ข้อ เช่น ตั้งเป้าหมายชีวิตว่า ท่านจะจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ในชีวิตอย่างไร โดยแยกเป็น เป้าหมายระยะสั้น เช่น วางแผนไปเที่ยวในปีหน้า ระยะปานกลาง เช่น มีลูก มีธุรกิจของตัวเอง และระยะยาว เช่น แผนเกษียณอายุงาน ต่อมาก็คือ ต้องรู้ความมั่งคั่งสุทธิของตนเอง โดยการหามูลค่าของสินทรัพย์ทั้งหมด หักด้วยหนี้สินทั้งหมด และตั้งเป้าหมายเพิ่มความมั่งคั่งสุทธิในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต ถัดจากนั้นก็เข้าสู่การจัดสรรงบประมาณ และพยายามใช้จ่ายตามงบประมาณนั้น โดยท่านควรจะใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ของท่าน แต่ถ้าท่านใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ต้องตัดรายจ่ายลง หรือต้องเพิ่มรายได้ด้วยการทำงานเพิ่ม ไม่ควรกู้ยืมมาจ่ายค่าซื้อของ หรือเพื่อไปท่องเที่ยว

มาถึงประเด็นด้านหนี้สิน กู้ยืมเงินเฉพาะในยามที่ต้องการจริงๆ และก่อนที่จะกู้เงินหรือใช้เงินจากบัญชีบัตรเครดิต ต้องรู้อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่จะต้องจ่าย เพราะเมื่อนำดอกเบี้ยมารวมกับค่าสินค้าแล้ว สินค้าที่ซื้ออาจจะมีราคาแพงมากๆ เมื่อมีหนี้ควรพยายามใช้คืนหนี้ให้เร็ว ในข้อต่อไป คือ ฝากเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ในสัดส่วนเท่ากับรายจ่ายประมาณ 2-3 เดือน ตามด้วยการออมเงิน เมื่อจ่ายคืนหนี้อัตราดอกเบี้ยสูงหมด และมีเงินฝากไว้ใช้ยามฉุกเฉินแล้ว ท่านต้องเริ่มออมทุกๆ เดือน เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะสั้นและระยะปานกลาง เช่น ซื้อรถใหม่ ไปเที่ยว ซ่อมแซมบ้าน ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีวิธีคิดที่จะต้องป้องกันตัวเองก่อน ต้องป้องกันตัวเองและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เพื่อให้แน่ใจว่า ท่านและครอบครัวมีเงินไว้ชำระค่าหมอ ค่ายา อุบัติเหตุ หรือมีเงินผ่อนชำระหนี้สินกรณีที่ผู้หารายได้หลักของครอบครัวจากไปก่อนวัยอันควร ควรป้องกันทั้งทรัพย์สินหลักๆ เช่น บ้านและรถยนต์ และจัดทำพินัยกรรม ข้อเตือนใจที่ว่า ต้องวางแผนเกษียณ แต่เนิ่นๆ ออมให้มากกว่าที่ถูกบังคับออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แม้ท่านจะยังมีภาระหนี้อยู่ก็ตาม ก็กลายเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญของคนเมืองผู้ดีไปด้วย

ในขณะที่การลงทุนไม่ใช่เฉพาะสำหรับคนรวยเท่านั้น ทุกคนควรจะลงทุน การลงทุนช่วยเปิดโอกาสให้เงินของท่านทำงานให้ท่านหนักขึ้น ในระยะยาว ให้พิจารณาการลงทุนที่ไม่เสียภาษีจากผลตอบแทน หรือเสียภาษีน้อยด้วย และปิดท้ายกับ การบอกต่อ สอนเรื่องการเงินให้บุตรหลานของท่าน ยิ่งเด็กได้เรียนรู้เร็ว ก็จะยิ่งจัดการการเงินให้ตัวเองได้ดียิ่งขึ้น

บัญชา ชุมชัยเวทย์


ที่มา บัญชา ชุมชัยเวทย์
วันที่ 3 พ.ย. 2557