Page 1 of 1

ออม จ่าย (กล้า) ลงทุน ความมั่งคั่งจะยั่งยืน

Posted: 17 Nov 2014, 14:03
by brid.siriwan
ออม จ่าย (กล้า) ลงทุน ความมั่งคั่งจะยั่งยืน

น้อยคนนักที่จะเห็นหนทางการสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง และที่สำคัญก็คือ ความมั่งคั่งที่สร้างขึ้นมาได้ ควรอยู่กับตัวเราเองอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังเป็นภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เพื่อเตรียมรับกับความผันผวนทุกรูปแบบในโลกแห่งทุนนิยม ถ้าเป้าหมายคือสิ่งที่พูดถึงไป ลองเริ่มค้นหาสิ่งต่อไปนี้ให้เจอในตัวเราให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

หาให้เป็น หรือ Earning Professionally รู้วิธีใช้ความสามารถของตน (human assets) ในการหารายได้ การได้เงินเดือนจากการทำงานของเราเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ยิ่งการงานประสบความสำเร็จก็จะมีรายได้สูงขึ้น ส่งผลให้ความสามารถที่จะออมมีมากขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานอย่างดีของการสร้างความมั่งคั่งให้เกิดขึ้น ช่องทางของการรู้หาไม่ได้มีเฉพาะการเป็นลูกจ้าง แต่การเลือกนำเงินทุนและแรงงานของเราไปลงทุนเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) ก็ทำให้มีโอกาสจะได้รับผลตอบแทนที่สูง ซึ่งเป็นรากฐานของการออม เพื่อความมั่งคั่งได้เป็นอย่างดี

เก็บรักษาให้เป็น หรือ Saving Smartly การแบ่งรายได้มา เพื่อออมทันทีเป็นการสร้างวินัยทางการเงิน เพื่อให้ฐานของเงินออมขยายตัวเพิ่ม รองรับการสร้างความมั่งคั่งในอนาคต และเงินออมควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามวัตถุประสงค์ของการออม ซึ่งมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ต่อมาก็คือ ใช้ให้เป็น หรือ Spending at Worth การใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเป็นหลักคิดสำคัญ เพื่อให้รายได้ที่คงเหลือเป็นเงินออมมีเพียงพอที่จะใช้ขยายฐาน สร้างความมั่งคั่งในวันข้างหน้า
ส่วนสุดท้าย คือ ลงทุนให้เป็น หรือ Investing Like A Pro แนวคิดออมดีกว่าไม่ออม และออมก่อนรวยกว่า ยังไม่พอที่จะสร้างความมั่งคั่งได้ เราจะต้องเรียนรู้ว่าเงินออมของเรามีทางเลือกอะไรบ้างที่จะนำไปขยายผลให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ ไม่ใช่ฝากธนาคารเพียงอย่างเดียว


เมื่อค้นพบหัวใจการสร้างความมั่งคั่งทั้ง 4 ข้อ ในตัวของเราแล้ว ต้องไม่ลืมว่าบ่อยครั้งที่คนเรามักแพ้ความกลัวของตัวเอง รวมถึงขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง มีผลให้กาโดย บัญชา ชุมชัยเวทย์ 17 พ.ย. 2557 05:30

190 ครั้ง
รสร้างความมั่งคั่งประสบความสำเร็จ หรือถ้าสำเร็จก็ไม่เต็มที่ตามศักยภาพที่มี เพียงเพราะการหาวิธีคิดไม่เจอ การพลิกมุมคิดอีกด้านเพื่อเห็นช่องทาง และโอกาสในการสร้างความมั่งคั่ง เช่น


ความคิดที่ว่า “การมีงานทำเป็นทางเดียวที่จะสร้างความมั่งคั่งได้” ไม่ใช่เพียงแต่ทำงานหนัก แต่ต้องทำงานอย่างฉลาดด้วย


การทำงานช่วยให้เรามีเงินสด เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ลองคิดดูว่าคุณจะออมได้มากที่สุดเท่าใดหลังจากหักค่าใช้จ่ายไปแล้วทางที่ดี คุณต้องเรียนรู้วิธีเพิ่มเติมจากทรัพย์สินอื่นๆ เพราะไม่ว่าคุณจะรักงานที่ทำมากเพียงใด ถ้ามันไม่ได้ก่อให้เกิดผลทวีคูณต่อความมั่งคั่ง ก็ให้เชื่อเถิดว่าการพึ่งพิงรายได้จากการทำงานเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่วิถีทางการเกิดผลอย่างใหญ่หลวง (Large Results) ต่อความมั่งคั่งได้


ถัดมากับความคิดที่ว่า “การฝากเงิน คือการลงทุนที่ดี การออมเป็นเรื่องที่ดีแน่นอน และเป็นรากฐานการสร้างความั่งคั่ง ซึ่งความสำคัญ อยู่ที่การมีวินัยการออมอย่างสม่ำเสมอ และต้องเริ่มต้นตั้งแต่อายุน้อยๆ จึงจะได้เปรียบ” อย่างไรก็ตาม คนที่มีความมั่งคั่งจะไม่เคยคิดเลยว่า เงินออมที่ได้จากกระแสเงินสดรับสุทธิ แล้วนำไปฝากธนาคารจะช่วยสร้างความมั่งคั่งได้ให้ระลึกไว้ว่า เงินออมในรูปแบบเงินฝากของคุณ ก็เพื่อสภาพคล่องชั่วคราวเท่านั้น และให้ผลตอบแทนไม่สูง แต่มันรอคอยให้เรากระจายไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า อาจมีสภาพคล่องสูงไม่เท่า แต่เราต้องมาตอบว่าเราต้องการสภาพคล่องแค่ไหน


สุดท้ายกับความคิดที่ว่า “การมีหนี้สินเป็นสิ่งเลวร้าย จงหลีกหนีให้ไกลเหมือนเชื้อโรค” คนที่มีภาระหนี้ส่วนใหญ่มักเป็นการก่อหนี้สินเพื่อการบริโภค Consumer Debt หนี้ประเภทนี้แหละที่ควรหนีให้ไกล เพราะเป็นตัวบั่นทอนความมั่งคั่ง และทำให้ฐานเงินออมเราลดลง แต่หากเป็นหนี้ประเภท Investment Debt เป็นคนละเรื่องกัน เช่น หนี้ที่เกิดจาการซื้อบ้าน ทำให้ได้ทรัพย์สินมาครอง เพื่อใช้ประโยชน์ในระยะยาว ซึ่งอาจทำกำไรให้ผู้ลงทุนได้ แม้ผู้ลงทุนต้องมีภาระการจ่ายคืนเงินกู้และดอกเบี้ย ซึ่งต้องไปบริหารจัดการรายจ่ายของตนเองให้ดี ไม่ลงทุนอะไรเกินตัวเกิน
ความสามารถที่จะจ่ายได้

บัญชา ชุมชัยเวทย์


ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 17 พ.ย. 2557