Page 1 of 1

9 เรื่องควรรู้ก่อนเปิดประตูให้รถอัจฉริยะ

Posted: 18 Nov 2014, 15:33
by brid.siriwan
9 เรื่องควรรู้ก่อนเปิดประตูให้รถอัจฉริยะ
การเดินทางท่องเที่ยวนอกโลกด้วยยานอวกาศ การคิดค้นยารักษาโรคมะเร็ง ฯลฯ เหล่านี้เป็นหนึ่งในความฝันที่มนุษย์ฝันอยากจะทำให้สำเร็จในศตวรรษที่ 21 แต่ก็ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมมากนัก ยกเว้นความฝันเพียงเรื่องหนึ่งที่กำลังจะเป็นจริง นั่นก็คือ การพัฒนา Driverless cars หรือรถอัจฉริยะไร้คนขับแบบ Fully Autonomous ที่คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะพลิกโฉมโลกไปอย่างสิ้นเชิง

"กูเกิล" ยักษ์ใหญ่ในซิลิคอนวัลเล่ย์อาจเป็นบริษัทที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดเกี่ยวกับการพัฒนารถต้นแบบของ driverless car หลังจากการทดลองในปี ค.ศ. 2009 ที่สามารถส่งรถไร้คนขับดังกล่าวขึ้นวิ่งเป็นระยะทาง 750,000 ไมล์บนถนนของแคลิฟอร์เนียโดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลย หรืออีกค่ายหนึ่งก็คือรถแวนของมหาวิทยาลัย Parma ที่สามารถขับไปกลับเส้นทางอิตาลี - เซี่ยงไฮ้ ระยะทางกว่า 8,000 ไมล์ได้เป็นผลสำเร็จ

***ปลอดภัยกว่ามนุษย์ขับ?

แน่นอนว่าในสภาพการขับขี่ "ปกติ" การควบคุมรถยนต์ด้วยระบบอัจฉริยะที่มาพร้อมกล้อง เซนเซอร์ ระบบเรดาห์ รวมถึงซอฟต์แวร์ช่วยในการตัดสินใจ อาจทำให้การเดินทางครั้งนั้น ราบรื่นกว่าการควบคุมโดยมนุษย์ที่อาจว่อกแว่กไปกับป้ายข้างทาง หรือการเตือนต่าง ๆ จากสมาร์ทโฟน

แม้ในนาทีนี้ การส่งรถอัจฉริยะไร้คนขับขึ้นบนท้องถนนจะยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการช่วยลดอุบัติเหตุได้หรือไม่ แต่ก็มีสถิติด้านความปลอดภัยของการขับขี่โดยฝีมือมนุษย์จากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ระบุว่า ในแต่ละปี จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนประมาณ 1.2 ล้านคน ซึ่งในจำนวนดังกล่าว 93 เปอร์เซ็นต์ของการเสียชีวิตมาจาก Human Error แต่ข้อมูลดังกล่าวระบุว่า หากใช้รถอัจฉริยะ อาจสามารถรักษาชีวิตมนุษยได้ถึง 600,000 ราย

9 เรื่องควรรู้ก่อนเปิดประตูให้รถอัจฉริยะ
****รถ Semi-Autonomous จะหายไปในอีก 10 ปี

สำหรับรถอัจฉริยะทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่า ระบบการทำงานของรถอัจฉริยะเหล่านั้นยังคงเป็นแบบ Semi-Autonomous หรือก็คือระบบซึ่งจำเป็นต้องมีมนุษย์นั่งหลังพวงมาลัยและควบคุมการทำงานบางประการอยู่ แต่หากรอต่อไปอีกสัก 10 ปีเราอาจได้เห็นรถยนต์อัตโนมัติ ที่สามารถควบคุมการทำงานทุกอย่างด้วยตัวเองได้ออกมาโลดแล่นบนท้องถนน ซึ่งเป็นไปได้ว่า เมื่อเวลานั้นมาถึงโลกที่เราอยู่นี้อาจเกิดการพลิกโฉมหน้าครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้งดังที่เราจะขอกล่าวถึงต่อไปนี้

****9 ความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นหลังการมาถึงของรถอัจฉริยะแบบ Fully Autonomous

1. โปรแกรมที่รถตั้งมาอาจทำให้คุณเสียชีวิตได้

เมื่อขึ้นขับบนถนนจริง โอกาสเผชิญหน้ากับอุบัติเหตุมีได้หลายลักษณะ ซึ่งหากเป็นการตัดสินใจของมนุษย์ผู้ขับรถด้วยตัวเองก็คงไม่มีปัญหา เจ้าตัวต้องเป็นคนรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น แต่สำหรับรถยนต์อัตโนมัตที่ได้รับการตั้งโปรแกรมมาแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นหลังเผชิญหน้ากับอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่รถได้รับมาคืออะไร เช่น หากรถได้รับการโปรแกรมมาให้ก่อให้เกิดความเสียหายให้น้อยที่สุด บางครั้งอาจหมายถึงการรักษาชีวิตมนุษย์คนอื่นบนท้องถนน แต่ผู้ที่นั่งมาในรถอาจต้องเป็นฝ่ายเสียสละชีวิตแทนก็เป็นได้

กรณีดังกล่าวเหมือนเรื่องของ Trolley Problem ที่จำลองสถานการณ์ของรถลากบนรางในเหมือง โดยรถลาก กำลังจะพุ่งชนคนงานห้าคนที่ทำงานอยู่บนรางนั้นพอดี และไม่มีทางหลบหนีได้ แต่ผู้บังคับรถมีสิทธิจะโยกคันบังคับให้รถเลี้ยวไปอีกทางหนึ่งได้ โดยที่อีกทางหนึ่งนั้นมีคนงานทำงานอยู่เพียง 1 คน สุดท้ายก็จะต้องเกิดการเลือกระหว่างจะให้คนห้าคนเสียชีวิต หรือเปลี่ยนเส้นทางแล้วสามารถรักษาชีวิตคนงานห้าคนนั้นได้ แต่ต้องฆ่าคน ๆ หนึ่งที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่แทน

ไม่ใช่คำถามที่ตอบได้ง่าย ๆ พอ ๆ กับไม่มีแนวทางในการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยที่ตอบในเรื่องนี้ได้อย่างกระจ่างแจ้ง แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือไม่มีใครต้องการเลือกซื้อรถที่อาจทำให้ผู้นั่งต้องเสียชีวิตเป็นแน่ ซึ่งแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด และปลอดภัยสำหรับผู้ซื้อที่สุดอาจเป็น การให้ผู้ผลิตรถยนต์อัตโนมัติเปิดเผยถึงระบบการทำงานเมื่อเกิดอุบัติเหตุอย่างโปร่งใส เพื่อให้ผู้ซื้อรถสามารถตัดสินใจเลือกรถยนต์บนความเสี่ยงต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

2. ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์จะแพงขึ้น

การเปลี่ยนอะไหล่ของรถยนต์ไฮเทคจะมีความซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น รวมถึงจำเป็นต้องมีช่างผู้ชำนาญเฉพาะทางเป็นผู้ดูแล แต่สิ่งที่เป็นข้อดีก็คือ ผู้ใช้อาจเข้าเปลี่ยนอะไหล่น้อยลง เพราะรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ทำให้การเสื่อมของชิ้นส่วนต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ช้ากว่าการขับขี่โดยมนุษย์ที่มีพฤติกรรมการขับที่หลากหลาย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการเตรียมเงินค่าบำรุงรักษารถให้มากกว่าเดิม

9 เรื่องควรรู้ก่อนเปิดประตูให้รถอัจฉริยะ
3. ค่าประกันภัยรถยนต์อาจลดลง

เป็นไปได้ว่าธุรกิจประกันภัยจะเชื่อมั่นในความปลอดภัยของระบบรถยนต์ไร้คนขับมากกว่าเชื่อมั่นในตัวมนุษย์ และนั่นอาจทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการประกันภัยของแต่ละครอบครัวลดลงได้จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับลดจนเห็นเป็นรูปธรรม เพราะยังมีอีกหลายปัญหาที่รถไร้คนขับป้องกันไม่ได้ เช่น ป้องกันการถูกโจรกรรมไม่ได้ หรือรถอาจถูกต้นไม้หล่นทับ

4. เกิดการแก้กฎหมายครั้งใหญ่

ก่อนที่รถไร้คนขับจะใช้งานจริง กฎหมายต้องมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ซึ่งในปัจจุบัน เมืองใหญ่หลายเมืองในประเทศพัฒนาแล้วมีการออกกฎหมายรองรับการมาถึงของรถอัจฉริยะกันมากขึ้น เช่น รัฐฟลอริด้า รัฐมิชิแกน และเนวาด้า ต่างก็ยอมรับการมาถึงของรถไร้คนขับแล้ว และยังมีอีกนับ 10 รัฐที่อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายASTVผู้จัASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2557 07:03 น. ดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2557 07:03 น.

ไม่เพียงเท่านั้น กฎหมายเก่าที่อาจขัดขวางการใช้งาน หรือล้าสมัยไปแล้วสำหรับยุคต่อไปก็อาจถูกปรับแก้ด้วย เช่น การห้ามไม่ให้มีการส่งข้อความระหว่างขับรถ เพราะในอนาคต ผู้นั่งในตำแหน่งคนขับอาจไม่ได้เป็นผู้ควบคุมรถอีกต่อไปนั่นเอง หรือการสอบใบขับขี่ที่อาจไม่จำเป็นอีกต่อไป เป็นต้น

5. หากเกิดความเสียหาย คุณอาจยังต้องรับผิดชอบ

ในยุคที่มนุษย์ขับรถด้วยตนเอง หากเกิดความสูญเสีย ผู้ขับต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ แต่ในยุคที่รถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง เมื่อเกิดความสูญเสีย หรือความเสียหาย คำถามที่เกิดคือใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ตัวเจ้าของรถ หรือบริษัทผู้ผลิตรถ

คำตอบของคำถามนี้อาจไม่แตกต่างจากปัจจุบันมากนัก ส่วนมากขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังพูดถึงประเด็นการรับผิดทางอาญา หรือการรับผิดในทางแพ่ง ซึ่งในทางอาญา ถ้าหากรถของคุณมีการบำรุงรักษาอย่างดี และเกิดปัญหาบางอย่างที่อยู่นอกเหนือการควบคุม คุณก็อาจไม่ต้องตกเป็นฝ่ายรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ได้ แต่ความรับผิดทางแพ่งนั้นแตกต่างออกไป เจ้าของรถยังคงมีส่วนรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ต่างจากบริษัทผู้ผลิตรถ และอาจถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายร่วมกัน

อย่างไรก็ดี สำหรับรถอัตโนมัติไร้คนขับแบบ Fully autonomous นั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้เป็นเจ้าของจะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายร่วมด้วยหรือไม่

6. คุณอาจไม่จำเป็นต้องมีรถยนต์ส่วนตัวอีกต่อไป

เมื่อรถยนต์ในอนาคตสามารถเดินทางได้ด้วยตัวเอง ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจอดรอคนขับมาขับให้อีกต่อไป รูปแบบการครอบครองรถในอนาคตจึงอาจเป็นการแชร์รถกันใช้ในกลุ่มที่เป็นทรัพย์สินร่วมกัน หรืออาจเรียกแท็กซี่อัตโนมัติมาใช้ก็ได้

ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ใช้รถอัตโนมัติอาจไม่ต้องรีบทำงานเพื่อกลับมารับลูกให้ทันโรงเรียนเลิก หรือพาพ่อแม่ไปหาหมอ เพราะรถอัตโนมัติสามารถเข้ามารับหน้าที่แทนได้นั่นเองASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2557 07:03 น.

7. อากาศอาจจะดีขึ้น

เมื่อแนวโน้มของการใช้รถยนต์เปลี่ยนไป คนก็อาจมีรถน้อยลง เมื่อมีรถน้อยลง อากาศเสียก็น้อยตามไปด้วย มีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส พบว่า การใช้รถอัตโนมัติ 1 คันสามารถลดการใช้งานรถยนต์ลงได้ถึง 11 คัน ส่งผลให้การมาถึงของรถอัจฉริยะช่วยลดปัญหาจราจร และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้นแล้ววัสดุที่ใช้ผลิตรถยังอาจทำมาจากวัสดุรักษ์โลกได้มากขึ้น เพราะไม่ต้องสร้างตัวถังที่แข็งแกร่งรองรับการชนอีกต่อไป รถในอนาคตจึงสามารถเบา เล็ก และลดการสร้างอากาศเสียลงได้อย่างเป็นรูปธรรม

8. รถจะเป็นที่เก็บข้อมูลส่วนตัวมากไม่แพ้โทรศัพท์มือถือ

หากคุณเคยคิดว่า โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์คือสองสิ่งที่เก็บข้อมูลส่วนตัวไว้เยอะที่สุด รถยนต์อาจเป็นได้มากกว่านั้น โดยเฉพาะรถยนต์ที่จะมาในปี ค.ศ. 2020 เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2020 รถยนต์ใหม่ 90 เปอร์เซ็นต์จะมาพร้อมความสามารถในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้รถยนต์มีข้อมูลการเดินทาง ข้อมูลกิจกรรมที่คุณทำบนรถ และข้อมูลพฤติกรรมการใช้รถของคุณอยู่มากมาย

นอกจากนั้น ในการเซ็นต์สัญญาซื้อขายรถยนต์อาจมีสิ่งที่ต้องพิจารณามากขึ้น เช่น บริษัทผู้ผลิตรถจะแอบนำข้อมูลส่วนตัวของเราขายให้กับนักการตลาดหรือไม่ด้วยASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2557 07:03 น.

9. รถของคุณอาจไม่ใช่รถของคุณ


นั่นก็คือการที่รถอาจถูกเจาะระบบ และถูกควบคุมโดยผู้ไม่ประสงค์ดีจากระยะไกล โดยในปี ค.ศ. 2011 มีการทดลองดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว ผลงานของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และ UC San Diego ที่สามารถเข้าควบคุมระบบภายในของรถได้ผ่านระบบบลูทูธ และระบบเซลลูล่าร์ และเมื่อปีที่ผ่านมา ทางผู้เชี่ยวชาญด้านซีเคียวติรี้ก็สามารถควบคุมรถโตโยต้าพรีอุส และฟอร์ด เอสเคป ผ่านพอร์ต OBD II ของรถยนต์

นอกเหนือจากการเจาะระบบเพื่อควบคุมรถยนต์แล้ว ยังมีประเด็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลที่จำเป็นต้องมีการพัฒนามาตรฐานการเข้ารหัสเพื่อป้องกัน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจทำให้รถยนต์ที่มีชื่อว่าเราเป็นเจ้าของนั้น แท้จริงแล้วอาจไม่ใช่ของของเราอย่างแท้จริงก็เป็นได้


ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557