หุ่นยนต์เด็กออทิสติก - ฉลาดทันกาล

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

หุ่นยนต์เด็กออทิสติก - ฉลาดทันกาล

Post by brid.siriwan »

หุ่นยนต์เด็กออทิสติก - ฉลาดทันกาล

ปัจจุบันแม้จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดผู้ป่วยออทิสติก รวมถึงเจ้าหน้าที่พยาบาลก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับการพบแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละคนต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่ค่อนข้างนาน

หากพูดถึงโรค “ออทิสติก” ถือเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เด็กจะมีความผิดปกติทางพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น และมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ ในการกระทำบางอย่าง รวมทั้งมีความสนใจในบางอย่างมากเป็นพิเศษ ซึ่งในแต่ละวัยของเด็กจะมีปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ แบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับพัฒนาการในช่วงวัยนั้นด้วย

ปัจจุบันแม้จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดผู้ป่วยออทิสติก รวมถึงเจ้าหน้าที่พยาบาลก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับการพบแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละคนต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่ค่อนข้างนาน และยังต้องใช้ความใส่ใจกับผู้ป่วยสูง จึงไม่สามารถบริหารเวลาได้แน่นอน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยออทิสติกที่รอรับการบำบัดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้นผศ.ดร.บุญเสริม แก้วกำเหนิดพงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงร่วมมือกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลรามาธิบดี พัฒนาโครงการวิจัยการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อตรวจระดับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก ขึ้น ผศ.ดร.บุญเสริม กล่าวว่า ได้มีการทำหุ่นยนต์ต้นแบบขึ้นมา ชื่อว่า “น้องเพื่อนใหม่” โดยมีนายอานนท์ หลีกภัย และนายธนัช กิติสุข 2 นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิว เตอร์ มจธ. เป็นผู้พัฒนาขึ้น โดยออกแบบรูปร่างภายนอกน้องเพื่อนใหม่ให้สวย งามดึงดูดความสนใจของเด็ก

นอกจากนี้ยังมีแสง สี เสียง รวมถึงการเคลื่อนที่ เพื่อช่วยการดึงความสนใจ เมื่อนำน้องเพื่อนใหม่ไปทดสอบกับเด็กออทิสติกในโรงพยาบาล และสัมภาษณ์ผู้ปกครอง พบว่า เด็กสนใจเล่นกับหุ่นยนต์มากเมื่อเทียบกับของเล่นอื่น ๆ และน่าจะใช้ช่วยสร้างพัฒนาการได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตามหุ่นยนต์ดังกล่าวยังต้องพัฒนาให้สามารถทนทานต่อการเล่นที่รุนแรงได้ โดยขณะนี้หุ่นยนต์อยู่ระหว่างการปรับปรุงและออกแบบให้หุ่นยนต์เหมาะกับการบำบัดมากขึ้น

ทั้งนี้จากคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยว ชาญและการนำเจ้าหุ่นยนต์น้องเพื่อนใหม่ไปทดลองจริง ทำให้ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องลักษณะการเล่นของเด็ก ความสนใจของเด็กต่อหุ่นยนต์เป็นอย่างไร เช่น ลองควบคุมเปิดปิดไฟเป็นรูปแบบต่าง ๆ ให้หุ่นยนต์วิ่งไปรอบ ๆ ตัวเด็ก เดินหน้าถอยหลัง ออกเสียง กะพริบตา ทำหลาย ๆ ครั้งจนพบว่า แสงสีไม่ค่อยดึงดูดความสนใจมากนัก แต่เสียงกับการเคลื่อนที่นั้นกลับมีผลต่อความสนใจของเด็กมากกว่า

จากนั้นจึงนำข้อสังเกตจากการทดลองนี้ มาปรับปรุงแนวคิดว่าหุ่นยนต์น้องเพื่อนใหม่ควรจะมีกิจกรรมแบบไหน โดยจะเน้นไปที่การใช้หุ่นยนต์เป็นสื่อกลางในการบำบัด

ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้เด็กหันมาสนใจปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ เนื่องจากเด็กออทิสติกจะมีลักษณะพิเศษ 3 อย่างที่คล้าย ๆ กันคือ ไม่มองตาเวลาพูดคุย ชอบเอาของมาเรียงเป็นรูปแบบซ้ำ ๆ และมีพัฒนาการเรื่องภาษาที่ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจจะด้วยความที่ไม่ค่อยชอบปฏิสัม พันธ์กับผู้คนเท่าไหร่

ดังนั้นหุ่นยนต์จะต้องดึงดูดความสนใจของเด็กก่อน แล้วหุ่นยนต์ค่อยทำกิจกรรมบำบัดผ่านการเล่น ชักชวนให้เด็กค่อย ๆ ทำตามกฎในการเล่น ทำให้เขาสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์ เพื่อนำมาใช้ในการเข้าสังคมให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น ประสิทธิภาพของการบำบัดจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ใช้ ดังนั้นจะต้องออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมขึ้นมา

เชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอ เด็กออทิสติก จะมีหุ่นยนต์เพื่อนเล่นที่มีความสามารถพิเศษเป็นผู้ช่วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว สร้างโอกาสพัฒนาเด็กออทิสติกผ่านการเล่นให้มีพัฒนาการทางสังคมเร็วและดียิ่งขึ้น.

อุทิตา รัตนภักดี


ที่มา เดลินิวส์
วันที่19 พฤศจิกายน 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”