Page 1 of 1

"เจวีซี-ฟิลิปส์"พ่ายราคาถอยทัพทีวี เหลือ6บิ๊กทุนหนา-มาร์เก็ต

Posted: 05 Apr 2013, 16:07
by brid.ladawan
ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


"เจวีซี-ฟิลิปส์"พ่ายราคาถอยทัพทีวี เหลือ6บิ๊กทุนหนา-มาร์เก็ตติ้งหนักชิงเค้ก3ห
« on: November 26, 2012, 02:56:35 pm »

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ในช่วง 2-5 ปีที่ผ่านมา การแข่งขันของตลาดทีวีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงจุดเปลี่ยนทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับการขับเคลื่อน ตลาดให้เดินหน้า แต่ยังเป็นเสมือนการตอกย้ำภาพผู้นำและอิมเมจแบรนด์ ซึ่งทีวีที่สามารถทำราคาและมาร์จิ้นได้ดีในขณะนี้ ย่อมหนีไม่พ้น "จอแอลอีดี" ที่มีนวัตกรรมสมาร์ททีวีและทีวี 3 มิติเป็นหมัดเด็ด

ความ เคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดคือ จากจำนวนแบรนด์ทีวีที่มากกว่า 10-20 แบรนด์ จากค่ายผู้ประกอบการทั้งในและนอกประเทศ ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ค่ายที่ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ในตลาดเมืองไทย ที่ว่ากันว่า "ราคาทีวีถูกที่สุดในโลก" ทำให้แบรนด์ที่สินค้าพร้อม ทุนหนา มาร์เก็ตติ้งหนัก และสายป่านยาวเท่านั้นที่ได้ไปต่อเจวีซีเบรกตลาดเมืองไทย

จากการลงพื้นที่สำรวจตลาดของผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" พบว่า ในหลาย ๆ ร้านค้าทั้งในส่วนของเทรดดิชั่นนอลดีลเลอร์ และโมเดิร์นเทรด พื้นที่วางขายสินค้าทีวีส่วนใหญ่นั้นเหลือเพียง 6 แบรนด์ ที่เป็นผู้ประกอบการรายหลักตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้นคือ ซัมซุง, แอลจี, โซนี่, โตชิบา, พานาโซนิค และชาร์ป สอดคล้องกับการสอบถามพนักงานขายต่างให้ข้อมูลที่ไปในทิศทางเดียวกันว่า เจวีซีและฟิลิปส์ไม่ได้วางสินค้าเข้าร้านมาสักพักใหญ่แล้ว โดยจะมีขายเท่าที่สต๊อกเดิมของร้านยังเหลืออยู่

"แข่งยากเพราะทำราคา สู้ค่ายเกาหลีไม่ได้ ทำให้เวลาขายหน้าร้านสู้ไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่มีโปรโมชั่นหน้าขาย ลูกค้าเดินเข้ามาอาจจะมีแบรนด์ในใจที่อยากซื้ออยู่แล้วตั้งแต่ออกจากบ้าน แต่พอมาเจอหน้าร้าน เจอโปรโมชั่น เจอส่วนลดของแถม ก็เปลี่ยนใจได้ เพราะเดี๋ยวนี้ลูกค้าข้อมูลเยอะ รู้ว่าเทคโนโลยีไม่หนีกันมาก จึงดูความคุ้มราคาเป็นหลัก"

พ่ายพิษต้นทุนพุ่ง

แหล่ง ข่าวจากวงการเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวนี้ว่า ที่ผ่านมามีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายรายได้ทยอยลดบทบาทการทำตลาดทีวีลง หลังจากก่อนหน้านี้แบรนด์จากเมืองจีนและประเทศในแถบอาเซียนได้เข้ามาทดลอง วางตลาด แต่ก็ต้องถอยทัพออกไป เหตุผลหลัก ๆ มาจากเรื่องของต้นทุน โดยในส่วนของจอภาพที่ต้องจ้างผู้ประกอบการรายอื่นผลิต ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถแข่งขันกับตลาดที่มีการเล่นราคาค่อนข้างรุนแรงได้ ซึ่งอย่างที่รู้กัน เมืองไทยเป็นตลาดปราบเซียนที่สุดแล้ว ราคาถูกที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ และในช่วงที่ผ่านมา เจวีซีและฟิลิปส์ก็เริ่มไม่ค่อยมีให้เห็นในตลาดแล้ว

ผู้บริหารรายนี้ ยังกล่าวว่า ปัญหาของทั้ง 2 แบรนด์นี้ มาจากที่ไม่มีโรงงานผลิตจอภาพของตัวเอง และต้องจ้างโรงงานอื่นผลิตให้จึงมีต้นทุนที่สูง ที่สำคัญคือตลาดมีการแข่งขันเรื่องราคาที่รุนแรง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ และในอนาคตคงจะเหลือทีวีในตลาดน้อยลง หลัก ๆ ที่อยู่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์เกาหลี ส่วนทีวีจากค่ายญี่ปุ่น แม้ว่าแบรนด์ในระดับท็อปทรีของตลาดจะยังทำตลาดในไทยอยู่ได้ แต่การที่บริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นยังมีปัญหา ผลการดำเนินงานไม่ดี ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้การทำตลาดยังไม่เต็มร้อย

ลดต้นทุนหา พาร์ตเนอร์Ž ลุย

นาย วิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) และผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจเพื่อการแพทย์และการดูแลสุขภาพ กล่าวว่า ฟิลิปส์ได้มีการปรับโครงสร้างสินค้าภายในองค์กรใหม่ ซึ่งเป็นนโยบายหลักของฟิลิปส์ทั่วโลกที่ได้เริ่มจากนี้ ด้วยการโยกสินค้าในกลุ่มจอภาพ-ทีวีให้กับพันธมิตรทางธุรกิจเป็นคนทำตลาดแทน เพื่อลดขั้นตอนการทำงานและจะสามารถทำราคาให้แข่งขันกับตลาดได้

ขณะ นี้อยู่ระหว่างการหาพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ ซึ่งน่าจะเห็นความชัดเจนในช่วงปลายปีนี้ โดยแผนธุรกิจฟิลิปส์ ประเทศไทยหลังจากนี้เตรียมส่งสินค้าใหม่กว่า 400 รายการ ทำตลาดครอบคลุม 3 กลุ่มหลัก คือการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ,ไฟฟ้าและอุปกรณ์ และคอนซูเมอร์ไลฟ์สไตล์

โตชิบาเลิกขาย แอลซีดีทีวีŽ

ด้าน นายยูกิฮารุ อาดาชิ ประธานบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า เริ่มปี 2556 เป็นต้นไป โตชิบาจะยกเลิกการทำตลาดและเลิกผลิตจอแอลซีดีทีวี โดยจะเน้นทำตลาดแอลอีดีทีวีแทน เพราะมีเทคโนโลยีและการดีไซน์ใหม่ออกมาสู่ตลาดจำนวนมากและมีราคาถูกลง บวกกับแนวโน้มของลูกค้าให้ความสำคัญเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานมาก ขึ้น ซึ่งบริษัทได้เตรียมเปิดตัวจอแอลอีดีทีวีเข้ามาทำตลาดใหม่ในปีหน้า 20 รุ่น ขนาดตั้งแต่ 23-55 นิ้ว ระดับราคาครอบคลุมตั้งแต่ 7,940 บาท จนถึงราคาสูงสุดที่ 399,900 บาท และเมื่อรวมกับปัจจุบันที่วางตลาดแล้ว 20 รุ่น จะทำให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครบถ้วน

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ปัจจุบันตลาดรวมทีวีเมืองไทยมีประมาณ 2.1 ล้านเครื่อง หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องจากปัจจัยบวกของตลาดที่ซื้อทีวีจอบางแทนที่ ทีวีซีอาร์ที (จอแบน) รวมถึงการขยายของโครงการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม แม้ว่าในแง่จำนวนยูนิตจอซีอาร์ทีจะมีสัดส่วนเกินครึ่งของตลาด แต่ในแง่เม็ดเงินแล้ว กลุ่มทีวีจอบางแอลอีดีทีวี แอลซีดีทีวียังคงมีส่วนแบ่งมากถึง 70-80% ของตลาด


ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์