Page 1 of 1

ชิงเค้ก "ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง" บูม หน้าใหม่แห่เปิดบริษัทปั้นธ

Posted: 05 Apr 2013, 16:12
by brid.ladawan
ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


ชิงเค้ก "ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง" บูม หน้าใหม่แห่เปิดบริษัทปั้นธุรกิจ
« on: November 26, 2012, 02:40:56 pm »

ชิงเค้ก "ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง" บูม หน้าใหม่แห่เปิดบริษัทปั้นธุรกิจ

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความนิยมการใช้สมาร์ทดีไวซ์ กระแสโซเชียลมีเดีย และการมาถึงของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ผลักดันให้ธุรกิจ ต่าง ๆ มองเห็นโอกาสในการนำสื่อผสมรูปแบบใหม่ ๆ มาใช้ในการทำตลาดมากขึ้น ทำให้ได้เห็นรูปแบบทางการตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาก แน่นอนว่าทำให้บริษัทพัฒนาแอปพลิเคชั่น และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเฟื่องฟูขึ้นตามไปด้วย

"ธรัช บุรุษพัฒน์" ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ซีจีเมทิก จำกัด บริษัทพัฒนาแอปพลิเคชั่น บนโทรศัพท์มือถือ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดเริ่มมีการแข่งขันมากขึ้น เพราะองค์กรต่าง ๆ เริ่มเห็นประโยชน์

ของ การทำตลาดผ่านสื่อใหม่ เช่น โมบายแอปพลิเคชั่น, เว็บไซต์แบบอินเตอร์แอ็กทีฟ และโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำให้มีบริษัทใหม่ ๆ มากขึ้นในช่วง 2 ปีมานี้



สำหรับบริษัทช่วงแรกเน้นรับงานโปรเจ็กต์จากองค์กรต่าง ๆ เพราะไม่มีเงินทุนมากนัก การพัฒนาแอปพลิเคชั่นขายบนแอปสโตร์ต่างๆก็มีโอกาสพลาดสูง จึงเลือกมีรายได้ที่มั่นคงด้วยการรับงานผ่านเอเยนซี่ แม้ได้น้อยกว่าการทำแอปขายเอง ก็ดีกว่าต้องไปลุ้นว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่เมื่อทีมงานเริ่มมีประสบการณ์ และบริษัทมั่นคงขึ้นแล้วจะหันมาพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อขายตลาดโลกเพียงอย่าง เดียว

"เราเปิดบริษัทมา 2 ปี ถือว่าค่อนข้างเป็นหน้าใหม่ อาจไม่มีใครรู้ว่าเราเป็นหนึ่งในบริษัทคนไทยที่ทำเกมติดท็อปทรีบนแอปสโตร์ใน กว่า 10 ประเทศ เกมที่ว่าชื่อ Mad Coaster ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดกว่า 16 ล้านครั้ง จุดเด่นคือเล่นง่าย แค่ใช้นิ้วสัมผัสเดียวก็เล่นได้แล้ว ทำให้ออกไปตีตลาดต่างประเทศได้ แม้มีค่าใช้จ่าย 0.99 เหรียญสหรัฐ"

ปัจจุบัน "แอปเปิลสโตร์" มีการอัพโหลดแอปพลิเคชั่นใหม่กว่า 600-700 ครั้งต่อวัน ดังนั้น โอกาสที่ลูกค้าจะเห็นแอปจึงยากขึ้นไปอีก หรือถ้าหวังทำแอปเฉพาะตลาดคนไทยก็คงยาก เพราะประเทศไทยไม่ชอบซื้อแอป รวมถึงจำนวนผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์ยังค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่เป็น ผู้นำด้านไอที เช่น สหรัฐอเมริกาหรือ ยุโรป เป็นต้น

"แมกาซีน ออนไลน์เป็นเทรนด์ที่เหมือนจะดี แต่จากที่สังเกตดูไม่ว่าจะตลาดไทยหรือตลาดโลกต่างอยู่ในวิกฤตเดียวกัน คือ ไม่มีคนซื้อ เพราะระดับล่างยังเอื้อมไม่ถึง เพราะราคาดีไวซ์ยังสูงทำให้สิ่งพิมพ์

ยังเดินต่อไปได้ แต่จะทยอยลดลง จะเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลจริง ๆ คงต้องรออีก 2 ปี ถ้าวงการหนังสือในประเทศไทยรีบลงทุนในขณะนี้อาจเร็วเกินไป"

"ธวัช" กล่าวต่อว่า ในปีหน้าบริษัทวางแผนเน้นพัฒนาเกม เพื่อขายบนแอปเปิลสโตร์เป็นหลัก จากเดิมมีไม่ถึง 10 เกม

ขณะ ที่ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ใช้ได้หลายดีไวซ์เกินไป ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเกมให้ตรงกับหน้าจอและสเป็กเครื่องได้ทั้งหมด รวมถึงภาพลักษณ์ของแอนดรอยด์ คือ ฟรี ถ้าจะเขียนแอปเพื่อหารายได้ค่อนข้างลำบาก

ด้าน "กำพล ลีลาภรณ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพ อาร์ สแควร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเปิดใหม่หากต้องการอยู่รอดต้องมุ่งหน้าพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อขายตลาด โลกให้ได้ ถ้าอยู่ในประเทศไทยน่าจะทำได้แค่รับงานจากเอเยนซี่เพื่อสร้างแอปหรือเกมบน เฟซบุ๊ก เพื่อนำไปต่อยอดการทำตลาดของสินค้านั้น ๆ มากกว่า ซึ่งกลุ่มคอนซูเมอร์โปรดักต์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการเข้ามายังสื่อนิว มีเดียเต็มตัว เพราะสร้างความแตกต่างในการนำเสนอ และติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรงตัวด้วย

"ต้องเลือกลักษณะงานที่ตรงกับ ความต้องการตนเองด้วย ขณะเดียวกันจะคิดเจาะแค่ตลาดไทยก็คงไม่ได้ เพราะคนไทยมีทัศนคติว่า เกมต้องเป็นของดีราคาถูก ติดมาจากการเล่นเกมก๊อบปี้ในเครื่องพีซี ทำให้ไม่ยอมซื้อแอป ดังนั้น ถ้าจะไม่เน้นรับงานโปรเจ็กต์ต้องคิดไกลให้ถึงระดับโลก"

เอ็มดี บริษัทไพ อาร์ สแควร์ กล่าวด้วยว่า เคยอยู่ในทีมงานออกแบบตัวละครในเกม "เดอะซิม" ของค่ายเกมระดับโลก "อิเล็กทรอนิกส์ อาร์ต" หรืออีเอที่ทำเกมฟีฟ่าและบีจีเวล หรือเกมเรียงเพชรที่ผู้บริโภคชาวไทยคุ้นเคยกันดี แต่ตัดสินใจกลับเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศไทย

เพราะมองเห็นช่องว่าง ในตลาดนิวมีเดียไม่มีผู้เล่นมาก และการทำเกมเองก็ไม่ต้องมีค่ายใหญ่เป็นแบ็กอัพ จึงรวบรวมทีมงาน 10 คนตั้งบริษัทรับงานออกแบบนิวมีเดียทั้งหมด และภายในปีหน้าวางแผนสร้างแอปพลิเคชั่นเพื่อขายบนสโตร์ต่าง ๆ เองด้วย

"จะ เรียกว่าหน้าใหม่ก็คงไม่ผิด ผมเพิ่งเปิดบริษัทได้ 2 ปี ช่วงแรกเน้นงานโปรเจ็กต์เป็นหลัก เช่น เขียนแอปให้โออิชิ "Oishi Cafe City" ผนวกวิธีสแกนไอเท็มจากกล่องโออิชิ เพื่อมาใช้ในเกมบนเฟซบุ๊ก จากนั้นก็เริ่มทำแอปของตนเองมากขึ้น เริ่มต้นจากเกม Neo VooDoo ที่ร่วมมือกับวิธิตาฯ ปีหน้าจะต่อยอดไปสู่แอปและเกมอื่นด้วย คาดว่าจะมี 3 เกม"

"สุรพงษ์ วีระรักษ์เดชา" หัวหน้าฝ่ายดิจิทัลโปรดักชั่น บริษัท ประณีต จำกัด กล่าวว่า หลายองค์กรสนใจนำดิจิทัลมีเดียมาใช้ในงานด้านการตลาดมากขึ้น ทำให้มีบริษัทเปิดรับงานด้านนี้มากขึ้น เนื่องจากใช้ทีมงานไม่มาก แต่โอกาสประสบความสำเร็จก็ไม่ง่าย ต้องใช้เวลาในการสร้างความไว้ใจให้เอเยนซี่ รวมถึงความครีเอทีฟในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นหรือรูปแบบเกมให้โดนใจผู้บริโภค อีกทั้งบริษัทใหม่มัก

เริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจด้วยการเสนอราคาต่ำกว่า ปกติเพื่อจูงใจลูกค้า จึงสร้างปัญหาในระยะยาวได้ ดังนั้น ช่วงแรกควรตั้งราคาให้สมเหตุสมผล แต่ใช้ไอเดียนำเสนองานมากกว่าว่าจะช่วยการตลาดของลูกค้าได้อย่างไร

"เรา เปิดมา 3 ปีเริ่มมีประสบการณ์ มองตลาดออกว่าจะเป็นอย่างไร ตอนนี้มีหน้าใหม่เกิดขึ้นมาก การแข่งขันก็มากตาม แต่โอกาสที่บริษัทเหล่านั้นจะล้มหายไปก็มาก เพราะไม่ค่อยมีประสบการณ์

ตั้ง ราคาถูกไว้ก่อน ในทางกลับกันบริษัทที่เน้นทำเกมจะลำบากช่วงแรก เพราะรายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับเกมจะขายได้ไหม ดังนั้น ก่อนสร้างเกมหรือแอปควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน หรือใช้รูปแบบ In-App Purchase เพื่อให้มีรายได้จุนเจือบริษัท ที่สำคัญต้องมองลูกค้าในระดับโลก ถ้ามองแค่ประเทศไทยจะลำบาก"

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในการใช้โมบายแอปพลิเคชั่น และโซเชียลเน็ตเวิร์กในไทยยังโตต่อได้อีกมาก ทำให้มีโอกาสทางธุรกิจ บริษัทจึงเตรียมพร้อมด้วยการยกระดับทีมงานให้รับผิดชอบได้ตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงให้คำปรึกษาลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากที่สุด และล่าสุดร่วมมือกับ "วิธิตาฯ" ทำแอปพลิเคชั่น Bakery Elf

เป็นโซเชียลแอปที่มีจุดเด่นในการให้คนเข้ามารีวิวร้านขนมในประเทศไทย และต่อยอดไปใช้งานด้านมาร์เก็ตติ้งได้ด้วย
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์