Page 1 of 1

ทำความรู้จัก ‘Rapex’ ระบบตรวจสอบสินค้า

Posted: 22 Nov 2014, 14:58
by brid.siriwan
ทำความรู้จัก ‘Rapex’ ระบบตรวจสอบสินค้า

ปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วมระบบ Rapex ทั้งหมด 31 ประเทศ โดยเป็นประเทศสมาชิกเขตการค้าเสรียุโรป (EFTA) และประเทศสมาชิกในกลุ่มเขตเศรษฐกิจสหภาพยุโรป (EEA)

ทำความรู้จัก ‘Rapex’ ระบบตรวจสอบสินค้าเปิดของอียูที่ผู้บริโภคควรรู้ - ไขปัญหาผู้บริโภค

Rapex เป็นระบบตรวจสอบแจ้งเตือนภัยสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร ซึ่งอาจมีความเสี่ยง ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ สภาพแวดล้อมสาธารณะ และสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์

โดยการประเมินระดับความเสี่ยงของสินค้านั้น และกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเช่น ยกเลิกการจำหน่าย เรียกสินค้าคืนจากลูกค้า ปฏิเสธการนำเข้า โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรหรือ แจ้งเตือน เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนสินค้าให้ปราศจากความเสี่ยงเหล่านั้น

ปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วมระบบ Rapex ทั้งหมด31 ประเทศ โดยเป็นประเทศสมาชิกเขตการค้าเสรียุโรป (EFTA) และประเทศสมาชิกในกลุ่มเขตเศรษฐกิจสหภาพยุโรป (EEA)

ที่มีหน่วยงานตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงในตลาด และมีการพัฒนาระบบในการตรวจจับสินค้าได้เร็วขึ้น มีการขยายความร่วมมือกับโครงการเฝ้าระวังสินค้า และคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งตั้งแต่มีการเริ่มใช้ระบบ Rapex เมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา

จนถึงปัจจุบันนี้ มีสินค้าไม่ได้มาตรฐานกว่า 16,000 ชนิด ถูกแจ้งเตือน และรายงานไปยังคณะกรรมาธิการยุโรป ในส่วนของประเทศ ไทย มีสินค้าไม่ได้มาตรฐานทั้งสิ้น 88 รายการ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน

ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กเสื้อผ้าเด็ก นอกจากนี้ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องประดับ และภาชนะที่ไม่ทนความร้อน

ล่าสุดในปี 2556 ที่่ผ่านมา มีการตรวจพบสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ภายใต้ระบบ Rapex จำนวน 2,364 รายการ และจากสถิติการเพิ่มขึ้นของสินค้ามีความเสี่ยงเหล่านั้น สามารถแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบ Rapex ในการตรวจจับสินค้า ที่มีความเสี่ยงตามท้องตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยประเทศที่มีการแจ้งพบมากที่สุด คือประเทศฮังการี ประเทศเยอรมนี และ ประเทศสเปน ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีขนาดตลาดนำเข้าที่ใหญ่มาก

และจากผลการตรวจสอบพบว่า สินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานภายใต้ระบบ Rapex ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทแฟชั่น เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ ถูกแจ้งเตือนมากที่สุด ตามมาด้วยสินค้าประเภท ของเล่นเด็ก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

โดยประเทศผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับการแจ้งเตือน มีความเสี่ยงมากที่สุดคือประเทศจีนและประเทศตุรกี

สาเหตุที่มีการแจ้งเตือนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้น สืบเนื่องจากปัจจุบัน มีการซื้อขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น ประเทศสมาชิกของอียูจึงได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังสินค้าในตลาดออนไลน์เป็นพิเศษ

อีกทั้งยังมีมาตรการในการเฝ้าระวัง และขอความร่วมมือในการตรวจสอบสินค้าออน ไลน์จากเว็บไซต์ เพื่อเป็นการกำกับดูแลสินค้าจากแหล่งผลิต และเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการติดตามตรวจสอบสินค้านั้น ตั้งแต่วัตถุดิบการผลิต การแปรรูป การขนส่งจนไปถึงตลาดปลายทาง.

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557