3เหตุสมเกียรติปัดไปให้ข้อมูลคณะทำงาน3จี

Post Reply
brid.kita
Posts: 359
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

3เหตุสมเกียรติปัดไปให้ข้อมูลคณะทำงาน3จี

Post by brid.kita »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


3เหตุสมเกียรติปัดไปให้ข้อมูลคณะทำงาน3จี
« on: November 29, 2012, 02:12:54 pm »


3เหตุสมเกียรติปัดไปให้ข้อมูลคณะทำงาน3จี
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2012 เวลา 12:40 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ไอทีดอทคอม - คอลัมน์ : ไอทีดอตคอม


สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์สืบ เนื่องจากคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้ใบอนุญาต 3 จี ได้ประสานงานให้ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

หรือ ทีดีอาร์ไอ แต่ปรากฏว่านายสมเกียรติ ไม่ได้ไปให้ข้อมูลคณะทำงานดังกล่าวนายสมเกียรติ ได้ชี้แจงถึงเหตุผลที่ไม่ไปให้ข้อมูลผ่านต่อคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอ ราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ผ่านบทความในเว็บไซต์ของ ทีดีอาร์ไอ www.tdri.or.th โดย "เขา" ให้เหตุผลถึงการไม่ไปให้ข้อมูลแก่คณะทำงาน ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง ผมเห็นว่า ขอบเขตของคณะทำงานดังกล่าวไม่ถูกต้อง ดังปรากฏในชื่อของคณะทำงาน เนื่องจากปัญหาใหญ่ที่สุดในการประมูลคลื่น 3 จี นั้น เกิดจากการออกแบบการประมูลโดย กทค. เอง มากกว่าเกิดจากพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูล ซึ่งย่อมต้องเสนอราคาต่ำที่สุดเพื่อประโยชน์ของตน ทั้งนี้ การเสนอราคาต่ำดังกล่าว จะไม่สามารถทำได้ หาก กทค. ไม่ออกกฎการประมูลจำกัดให้แต่ละรายถือคลื่นได้ไม่เกิน 15 MHz ตั้งแต่แรก การตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูล จึงเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น ให้สังคมเข้าใจว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจาก กทค.
ประการที่สอง ผมเคยเข้าร่วมเป็นอนุกรรมการของ กทค. บางชุด เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาประกอบกิจการด้านโทรคมนาคม และเห็นว่า กรรมการบางท่าน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ น่าจะไม่ได้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน กรรมการรายเดียวกันนี้เองก็มีบทบาทสำคัญอยู่ในคณะทำงานตรวจสอบชุดนี้ ทำให้ผมไม่เชื่อมั่นในการทำงานของคณะทำงานชุดนี้
ประการที่สาม ที่ผ่านมา หลังการประมูล 3 จี ล้มเหลวและสร้างความกังขาแก่สังคม กทค. มักกล่าวอ้างว่า การตัดสินใจต่างๆ ของตนเกิดขึ้นจากการเสนอของคณะอนุกรรมการ 3 จี ซึ่งมีเพื่อนร่วมงานของผม และนักวิชาการอื่นร่วมอยู่ด้วย ทั้งที่ในความเป็นจริง การเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลให้ผู้ประกอบการถือคลื่นได้ไม่เกิน 15MHz ไม่ได้เป็นข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่เป็นการดำเนินการของ กทค. เอง ในครั้งนี้ ผมจึงเชื่อว่า หากผมไปให้ข้อมูล ชื่อของผมก็จะถูกนำไปอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมของผลการตรวจสอบของคณะทำงาน ดังกล่าวในลักษณะเดียวกันอีก
ผมเห็นว่า วิธีการที่ผมจะสามารถให้ข้อมูลแก่ กทค. โดยจะไม่ถูกนำไปแอบอ้างอย่างไม่เหมาะสมคือ การให้ข้อมูลแก่สาธารณะผ่านสื่อมวลชน ดังที่ได้เคยให้ความเห็นมาโดยตลอด ในครั้งนี้ ก็เช่นเดียวกัน หาก กทค. ประสงค์ที่จะได้รับข้อมูลจากผม ก็สามารถหาอ่านจากบทความที่ผมเคยเขียน และเคยให้สัมภาษณ์ ทางสื่อมวลชน หรือที่อยู่ในเว็บไซต์ของทีดีอาร์ไอ
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมาหลังจากผลการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกกะเฮิรตซ์ กสทช.ได้ประกาศผลการประมูลที่เอกชนจำนวน 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น, บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด เสนอราคาการประมูลในวันนั้น นายสมเกียรติ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ผลการประมูลคลื่น 3 จี เป็นไปตามที่คาดหมายของผม คือ ได้ราคาเพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นเพียงเล็กน้อยคือประมาณร้อยละ 2.8 เท่านั้น คือ เพิ่มจากราคาตั้งต้นโดยรวม 9 ใบ ที่ 40,500 ล้านบาท เป็นเพียง 41,650 ล้านบาทเท่านั้น โดยมีคลื่น 6 ชุดที่มีราคาประมูลเท่ากับราคาตั้งต้น
การประมูลครั้งนี้แม้จะทำให้ประชาชนมีบริการ 3 จี ใช้กันอย่างเต็มรูปแบบในปีหน้า แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนในฐานผู้เสียภาษี เมื่อเทียบจากราคาประเมินถึง 16,335 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการทั้ง 3 รายได้ประโยชน์จากส่วนต่างนี้ไปเป็นเสมือน "ลาภลอย" ทั้งนี้ยังไม่รวมประโยชน์ที่ได้จากการลดค่าสัมปทานที่ต้องจ่ายให้รัฐอีกปีละ กว่า 4 หมื่นล้านบาท ที่สำคัญการที่แต่ละรายได้คลื่น 3 จี มูลค่าถูกแสนถูกต่ำกว่าปีละ 1 พันล้านบาทต่อปี จะไม่มีผลต่ออัตราค่าบริการ 3 จี ที่ประชาชนต้องจ่ายแต่อย่างใด นอกจากจะเพิ่มกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ประกอบการ ดังจะเห็นได้จากราคาหุ้นของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น
ผลการประมูลครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลที่กสทช. พยายามโฆษณาให้ประชาชนเชื่อมาโดยตลอดว่าจะมีการแข่งขันมาก เนื่องจากคลื่นความถี่แต่ละชุดมีความแตกต่างกันมาก เสมือนเป็นที่ดินทำเลดีติดทะเลกับที่ดินแออัดติดถนนใหญ่ไม่เป็นความจริง และตอกย้ำความเชื่อของสาธารณชนในวงกว้างที่ว่า การประมูลครั้งนี้มีลักษณะเอื้อต่อการสมคบกันของผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ ผลการประมูลยังชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของการออกแบบการประมูล 2 ประการคือ 1. การจำกัดคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะสามารถถือครองได้ให้เท่ากัน ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างที่ควรจะเป็น 2. การกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้เกิดความเสียหายมาก เมื่อไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร ทั้งนี้ หาก กสทช. ได้รับฟังข้อทักท้วงของฝ่ายต่างๆ ก็จะไม่เกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวขึ้น

ที่มา:จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,796
วันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”