ชี้รับ'ฟลูออไรด์'มากเสี่ยงฟันตกกระ

Post Reply
brid.siriwan
Posts: 3942
Joined: 05 Apr 2013, 08:47

ชี้รับ'ฟลูออไรด์'มากเสี่ยงฟันตกกระ

Post by brid.siriwan »

ชี้รับ'ฟลูออไรด์'มากเสี่ยงฟันตกกระ

"หมอฟัน" เผยใครได้รับ "ฟลูออไรด์" มากเกินความจำเป็น เสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันตกกระ ถึงขั้นมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดกระดูก อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ชี้ฟลูออไรด์จากอาหารในธรรมชาติก็เพียงพอต่อร่างกายแล้ว อย่าตื่นตามโฆษณา จนต้องเสียเงินเพื่อเสาะหาฟลูออไรด์จากยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก

กรณีวงการทันตกรรมกำลังเป็นกังวลกับ “ภาวะฟันตกกระ” ที่มักพบในเด็กเจนเนอเรชั่นใหม่ สูงขึ้นหลายเท่าตัว โดยมีสาเหตุมาจากการอุปโภคบริโภคน้ำดื่มน้ำใช้ในปัจจุบัน ที่มีปริมาณ “ฟลูออไรด์” เกินมาตรฐาน ซึ่งสวนทางกับระบบสาธารณูปโภคในภาพรวมของประเทศ ที่ระบุว่ามีการพัฒนามากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนสามารถดื่มน้ำประปาได้

ในเรื่องนี้ ทพญ.นฤมล ทวีเศรษฐ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และกรรมการสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย อธิบายรายละเอียดทางวิชาการกับ "เดลินิวส์ออนไลน์" ว่า โรคที่เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์มากเกินความจำเป็น คือ โรคฟันตกกระ (ฟันมีรอยขุ่น สีขาว เหลืองหรือน้ำตาล) บนผิวฟัน มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดข้อมือข้อเท้า มีผลต่อกระดูก ต่อไต เพราะการได้รับสารฟลูออไรด์มากเกินความจำเป็นนั้น จะทำให้ไปรวมตัวกับแคลเซียมในฟัน ในกระดูก หรือทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆในร่างกาย

"ข้อเสียของการได้รับฟลูออไรด์มากเกินควร อาจทำให้ฟันเกิดลายจุด แสดงอาการเป็นพิษ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนข้อดีคือ มีส่วนช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง ทำให้ฟันทนต่อการผุมากขึ้น และยังช่วยป้องกันโรคกระดุกพรุน อีกทั้งยังอาจป้องกันโรคปริทันต์ได้อีกด้วย”ทพญ.นฤมล กล่าวและว่า ฟลูออไรด์ที่ใช้สำหรับการป้องกันฟันผุมี 3 ชนิด ได้แก่ 1.Sodium Fluoride (NaF) 2.Strontium Fluoride (SnF) และ 3.Acidulated Phosphate Fluoride (APF) ซึ่งประเภท NaF มีราคาถูกและดูดความชื้นได้ดี มีความหนาแน่น 2.5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีจุดหลอมเหลวที่ 993 องศาเซลเซียส มีจุดเดือดที่ 1,700 องศาเซลเซียส สามารถละลายได้ในน้ำ 25 องศาเซลเซียส พบได้โดยทั่วไปในธรรมชาติ มีอยู่ในพืชทุกชนิด สัตว์ น้ำ และดิน มีมากสุดในอาหารทะเล

“แต่ละประเภทต่างกันที่ความเข้มข้นและความเหมาะสมในการใช้ป้องกันฟันผุ เช่น ถ้าเป็นเจลที่ทันตแพทย์ใช้ทาฟันจะใช้ NaF เข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์, SnF 5 เปอร์เซ็นต์, APF 1.23 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นยาเม็ดฟลูออไรด์ที่ให้เด็กกิน จะมีขนาด 0.25 mgF/เม็ด และไม่มีประเภทไหนอันตรายมากกว่าประเภทไหน ถ้าให้ปริมาณที่มากเกินไปก็มีโทษทั้งนั้น”ทพญ.นฤมลกล่าว

ทพญ.นฤมล ยังตั้งข้อสังเกตุว่า การขาดฟลูออไรด์ จะทำให้เกิดฟันเป็นลายจุด และกระดูกเปราะง่าย ซึ่งร่างกายที่ได้รับฟลูออไรด์จากอาหารในธรรมชาติแล้วนั้น ถือว่าเพียงพอต่อร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ และยาสีฟันในประเทศไทย มีทั้งที่ผสมฟลูออไรด์และไม่ผสม ถ้าใช้แบบที่ผสมปริมาณฟลูออไรด์ ก็ไม่มากพอที่จะเป็นอันตราย แต่ต้องเข้าใจว่าอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค อย่าตื่นตามโฆษณาจนเกินควร จนต้องเสียเงินเกินความจำเป็นเพื่อเสาะหาฟลูออไรด์จากยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก

“ในทางการแพทย์ การใช้ฟลูออไรด์ที่นิยมใช้ในการรักษาหรือป้องกันฟันฟุได้มาก คือ Sodium Fluoride”ทพญ.นฤมล กล่าวทิ้งท้าย.


ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”