เอไอกับจุดจบมวลมนุษยชาติ

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

เอไอกับจุดจบมวลมนุษยชาติ

Post by brid.ladawan »

?เอไอกับจุดจบมวลมนุษยชาติ?
1001 วันนี้ คงเป็นโอกาสอันดี ที่จะบอกเล่าถึงเรื่องราวของความเป็นเอไอให้ท่านผู้อ่านได้ฟัง เผื่อจะเป็นจุดประกายความคิด สร้างความฝันในน้อง ๆ นักคิดรุ่นใหม่ ที่จะประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ที่ฉลาดล้ำกว่ามนุษย์ได้

อาทิตย์ก่อน บีบีซีนิวส์เสนอข่าวคำเตือนของสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) ว่าเอไออาจทำให้มวลมนุษยชาติถึงจุดจบได้

แม้ว่ามีนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิว เตอร์ออกมาแย้งว่า คงต้องใช้เวลาอีกนานมาก กว่าระบบคอมพิวเตอร์สักอันจะทำร้ายมวลมนุษยชาติได้ขนาดนั้น

1001 วันนี้ คงเป็นโอกาสอันดี ที่จะบอกเล่าถึงเรื่องราวของความเป็นเอไอให้ท่านผู้อ่านได้ฟัง เผื่อจะเป็นจุดประกายความคิด สร้างความฝันในน้อง ๆ นักคิดรุ่นใหม่ ที่จะประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ที่ฉลาดล้ำกว่ามนุษย์ได้

แม้ผมจะไม่สามารถรู้ว่า ลึก ๆ แล้ว เพราะเหตุใด ศาสตราจารย์ฮอว์คิงถึงพูดว่า Artificial Intelligence หรือ เอไออาจเป็นจุดจบของมวลมนุษยชาติก็ตาม แต่เท่าที่อ่านจากบทสัมภาษณ์ ก็พบว่า จุดสำคัญที่ศาสตราจารย์ฮอว์คิงคิด คือ เอไอสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มันได้รับ และสามารถพัฒนาตัวเองได้ และด้วยความที่มันทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีวันเหนื่อย และไม่มีวันพัก ประสบการณ์เหล่านี้ เมื่อจับคู่กับข้อมูลขนาดมโหฬาร (Big Data) ในปัจจุบัน (ตรงนี้ศาสตราจารย์ฮอว์คิงไม่ได้พูด) จะทำให้มันมีความสามารถใกล้เคียงหรืออาจแซงหน้ามนุษย์ได้ในที่สุด ซึ่งการแซงหน้านี้มีหลายแง่มุมที่ไม่อาจคาดเดาได้ เพราะเราต้องยอมรับว่า ระบบคอมพิวเตอร์ (ผมหมายถึงทั้งตัวเครื่อง ซีพียู หน่วยความจำ นักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง คนที่เป็นผู้ป้อนข้อมูลโดยไม่รู้ตัว แถมด้วยขั้น

ตอนวิธีอีกมากมายที่นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์มุ่งพัฒนา) อาจค้นหาแง่มุมบางอย่างที่เราอาจนึกไม่ถึง เพราะการทำงานส่วนใหญ่ในทางเอไอนั้น จะเป็นการค้นหาคำตอบ (สำหรับนักเรียนที่เรียนทางด้านคอมพิวเตอร์ คำว่า “คำตอบ” ในที่นี้ ผมหมายถึง state ใน state space) ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ผมใช้นั้น สามารถค้นหาคำตอบได้เป็นหลายร้อยล้านคำตอบในเวลาเพียงหนึ่งวินาทีเท่านั้น ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านเคมี ฟิสิกส์ หรือชีววิทยา ตัวเลขตัวนี้อาจเทียบได้กับการค้นหารูปแบบโมเลกุลที่ต้องการได้เป็นหลายร้อยล้านแบบในเวลาหนึ่งวินาที ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการค้นหาแบบพื้นฐานในวิชาเอไอเท่านั้น ยังมีวิธีการอีกมากมายหลายแบบที่ช่วยประเมินการค้นหาแนวทางของการค้นหาให้ได้คำตอบเร็วขึ้นได้อีก

ซึ่งในปัจจุบันกว่าจะถึงจุดที่เอไอจะก่อให้เกิดอันตรายต่อเหล่ามนุษย์ได้นั้น เอไอได้ทำประโยชน์มหาศาลให้กับมวลมนุษยชาติไปแล้วมากมายในหลายด้าน ทั้งอุตสาหกรรมยา การช่วยเหลือคนพิการ การช่วยเหลือคนปกติทั่วไปในการดำรงชีวิต (พวกตระกูลจอดรถโดยอัตโนมัติ รับคำสั่งด้วยเสียง...พวกนี้ก็เป็นเอไอนะครับ) และอื่น ๆ อีกมากมาย

ศาสตราจารย์ฮอว์คิงอาจมองเอไอในกรอบที่นักฟิสิกส์มอง แต่นักคอมพิวเตอร์หลายคนก็นึกถึงเอไอในกรอบที่ตนเองมอง ถึงแม้กรอบสองกรอบนี้จะยังไม่ซ้อนทับกันในแบบที่ทำลายล้างมวลมนุษยชาติได้ในปัจจุบันก็ตาม แต่ผมยังเชื่อมั่นว่า ต้องใช้เวลาอีกนานมาก กว่าระบบคอมพิวเตอร์ล้วน ๆ จะเอาชนะความฉลาดของมนุษย์ได้ในภาพรวม (ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์เอาชนะมนุษย์ได้บ้างในบางเรื่อง และบางโอกาส เช่น ดีปบลู (Deep Blue) เล่นหมากรุกชนะแชมป์โลก แกรี คาสปารอฟ หรือวัตสัน (Watson) ตอบคำถามเอาชนะมนุษย์ในเกมจีโอพาร์ดี)

แต่ถ้าเป็นมนุษย์ด้วยกันเอง ใช้เอไอมาทำร้ายมนุษย์ด้วยกัน จนถึงกับสูญสิ้นเผ่าพันธุ์หายไปจากโลกนี้

“มีโอกาสมากกว่าเยอะครับ”.

สุกรี สินธุภิญโญ
(sukree.s@chula.ac.th) ภาควิชาวิศวกรรม
คอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา เดลินิวส์
วันที่12 ธันวาคม 2557
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”