Page 1 of 1

นักวิจัยจุฬาคว้านักวิจัยดีเด่นระดับโลก

Posted: 15 Dec 2014, 17:41
by brid.ladawan
?นักวิจัยจุฬาคว้านักวิจัยดีเด่นระดับโลก?

?นักวิจัยจุฬาคว้านักวิจัยดีเด่นระดับโลก??นักวิจัยจุฬาคว้านักวิจัยดีเด่นระดับโลก??นักวิจัยจุฬาคว้านักวิจัยดีเด่นระดับโลก?
นักวิจัยจุฬาคว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับโลกที่กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม เผยเป็นนักวิจัยคนแรกในเอเซียที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติระดับนานาชาติ จากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก


วันนี้ (15ธค.57) ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แถลงข่าวเรื่อง “วช.นำทัพนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยคว้ารางวัลดีเด่นระดับนานาชาติและระดับโลก”เพื่อเผยแพร่เกียรติยศนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ

ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพร เปิดเผยว่า วช.ได้ส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยในการนำผลงานที่มีคุณภาพและมีศักยภาพเข้าร่วมแสดงนิทรรศการและประกวดผลงานในเวทีระดับนานาชาติและระดับโลกในหลายประเทศ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา วช.ได้นำนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยไปคว้ารางวัลเกียรติยศจากหลายประเทศหลายเวทีและล่าสุดได้ไปสร้างชื่อเสียงใน 4ประเทศ คือ สาธารณรัฐโปแลนด์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐเกาหลี

ทั้งนี้ภายในงาน“The63rd Brussels Eureka: The Belgian and International Trade Fair forTechnological Innovation”หรือบรัสเซลส์ อินโนวา 2014(Brussels Innova 2014) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่13–15พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ปรากฎว่า รองศาสตราจารย์ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ แห่งคณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติระดับนานาชาติโดยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์(ชั้นอัศวิน)ของสหภาพยุโรปและเครื่องราชอิสริยาภรณ์(ชั้นอัศวิน)ของประเทศเบลเยี่ยมในฐานะนักวิจัยดีเด่นซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่นักวิจัยของเอเซียได้รับรางวัลนี้จากเวทีการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

นอกจากนี้ผลงานประดิษฐ์ของรองศาสตราจารย์ภญ.ดร.พรอนงค์ และทีมวิจัยยังได้รับรางวัลถึง 10รางวัลจาก 4ผลงานคือ แผ่นปิดแผลที่ทำจากแผ่นไบโอเซลลูโลสซึ่งผลิตจากน้ำมะพร้าว,สารละลายจากโปรตีนไหม,ถุงเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและแผ่นปิดแผลรูปแบบ 3มิติจากโปรตีนกาวไหม

รองศาสตราจารย์ภญ.ดร.พรอนงค์ เปิดเผยว่า รางวัลดังกล่าวถือได้ว่าเป็นรางวัลสูงสุดสำหรับนักวิจัยหรือนักประดิษฐ์ซึ่งจะมอบให้กับผู้ที่มีทำงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคมมีการนำไปใช้จริงและมีผลงานอย่างต่อเนื่อง จึงรู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างมากซึ่งจะต้องรักษาเกียรตินี้ไว้ด้วยการมุ่งมั่นที่จะทำงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

ในงานดังกล่าวผลงานเรื่อง AnywhereRetreat จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ศูนย์รังสิต) โดยผศ.ดร.เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศพร้อมรางวัลสเปเชียลอวอร์ดจากTPIA ซึ่งเป็นสมาคมสิ่งประดิษฐ์ของไต้หวันและรางวัลเหรียญเงิน (SilverMedal) จากบรัสเซลยูเรก้า 2014อีกด้วย

สำหรับงานแสดงสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์มีผลงานนักวิจัยไทยได้รับรางวัลรวม4ผลงาน คือผลงานเครื่องผลิตผงโลหะทองคำโดยการฉีดพ่นด้วยน้ำแรงดันสูงจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผลงานเรื่องโครงการบ้านใบเยียวยาหลังภัยพิบัติ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผลงานเรื่องP-syncแผ่นฮอร์โมนควบคุมวงรอบการเป็นสัดในโคจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผลงานเรื่องปลาหนังลูกผสมน้ำจืดสายพันธุ์ใหม่สำหรับไส้กรอกปลาโอเมก้า3,6และ9จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้และบริษัท วนัสนันท์ จำกัด

ส่วนงานประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจียงซูสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผลงานของนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวด16ผลงานจาก 8องค์กรได้รับรางวัลเหรียญทอง 4ผลงานเหรียญเงิน 5ผลงานเหรียญทองแดง 5ผลงานและมีผลงานที่ได้รับรางวัลพิเศษจากหน่วยงานต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น ชุด 2-in-1ดีเอ็นเอเซ็นเซอร์สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคท้องร่วงของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์เคลื่อนที่ให้ผลการพยากรณ์อากาศเชิงเลขความละเอียดสูงจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ตและเครื่องบันทึกเหตุการณ์ตามลำดับเวลาการเกิดเหตุของกฟผ.หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

และล่าสุดเมื่อปลายเดือนพย.ที่ผ่านมาวช.ได้นำผลงานของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยจำนวน 34ผลงานจาก 11องค์กรเข้าร่วมประกวดในงานประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่กรุงโซลสาธารณรัฐเกาหลี หรืองาน SIIF2014 ซึ่งปรากฎว่ าผลงานของนักประดิษฐ์ไทยได้รับรางวัลสเปเชี่ยลไพรซ์บนเวที ถึง4รางวัลเหรียญทอง 12รางวัลเหรียญเงิน12ผลงานเหรียญทองแดง 10ผลงานและรางวัลอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากโดยผลงานที่ได้รับรางวัลอาทิ กังหันลมผลิตไฟฟ้าแบบใบพัดสวนทางของมหาวิทยาลัยมหิดลอุปกรณ์ผสมเกสรมะพร้าวจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เคลือบด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีเจิร์มการ์ด”พลังจากเปลือกมังคุด ของดร.พิชญ์ศุภผล และคณะ และ3DACSระบบออนไลน์สำหรับการสร้างบันทึกบนแบบจำลองสามมิติและการสื่อสารผ่านสื่อสังคม


ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 15 ธันวาคม 2557