Page 1 of 1

12 เซียนผู้เปลี่ยนโลก

Posted: 05 Apr 2013, 16:45
by brid.kavee
ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


12 เซียนผู้เปลี่ยนโลก
« on: July 04, 2012, 01:48:52 pm »

12 เซียนผู้เปลี่ยนโลก

updated: 29 มิ.ย. 2555 เวลา 09:38:58 น.

คอลัมน์ ระดมสมอง โดย ไสว บุญมา



แต่ละยุคสมัยผู้มีแนวคิดใหม่ ๆ มีมาก แต่การนำแนวคิดไปสู่การกระทำจนประสบความสำเร็จมีเพียงจำกัด

ยิ่งนับเฉพาะความสำเร็จในระดับ เปลี่ยนโลก ด้วยแล้ว ผู้ที่อยู่ในกลุ่มนี้มีเพียงหยิบมือเดียว

เมื่อ เดือนธันวาคม 2554 จอห์น เบิร์น พิมพ์หนังสือชื่อ World Changers : 25 Entrepreneurs Who Changed Business as We Know It ซึ่งพูดถึงผู้ประกอบการ 25 คนที่มีผลงานด้านธุรกิจในระดับเปลี่ยนโลก

นิตยสาร Fortune ได้ขอให้เขาเลือกผู้ที่เขาเห็นว่าเด่นที่สุด 12 คน พร้อมแนวคิดหลักของพวกเขามาเสนอในนิตยสารประจำวันที่ 9 เมษายน 2555 ขอนำมาเล่าคร่าว ๆ ผู้สนใจรายละเอียดอาจไปอ่านหนังสือของเขา หรือหนังสือชื่อ "มหาเศรษฐีขี้ไม่เหนียว" ซึ่งพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เล่มนี้เสนอแนวคิดของนักธุรกิจชั้นนำ 18 คน

จอห์น เบิร์น ลำดับเซียน 12 คน ดังนี้

ลำดับ 1 - สตีฟ จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท "แอปเปิล" จากแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันทั่วโลก ส่งผลให้แอปเปิลมีค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นอันดับหนึ่ง คือถึงเกิน 5 แสนล้านดอลลาร์ หลักคิดเด่นเป็นพิเศษที่เบิร์นนำมาเสนอ ได้แก่ จ็อบส์ไม่เชื่อในเรื่องการถามความเห็นของผู้บริโภค หรือการวิจัยตลาดและการสนทนากลุ่ม ซึ่งเขาเชื่อว่าทำให้จำกัดความคิดและนวัตกรรม จ็อบส์มองว่าผู้บริโภคจะรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ตนยังไม่เคยเห็นได้อย่างไร เขาจึงอาศัยการหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณอันแหลมคมของตัวเองเป็นหลัก

ลำดับ 2 - บิลล์ เกตส์ ซึ่งลาออกจากบริษัท "ไมโครซอฟท์" ที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เวลา ความสามารถ และทรัพย์กองมหาศาลของเขาช่วยชาวโลก เรื่องนี้เป็นงานท้าทายยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขาเป็นครั้งที่ 2 อาจ ไม่เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางนักว่าเกตส์และเพื่อนซี้ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ร่วมกันผลักดันให้มหาเศรษฐีบริจาคทรัพย์สินของตนอย่างน้อยกึ่งหนึ่งเพื่อ ช่วยชาวโลก ตอนนี้เขาได้เพื่อนแล้วกว่า 60 คน เกตส์เน้นการเลือกคนที่เก่งที่สุดเท่าที่จะหาได้แล้วปล่อยให้พวกเขาทำงานกัน ในกลุ่มเล็ก ๆ

ลำดับ 3 - เฟรด สมิท ผู้ก่อตั้งกิจการส่งของแบบด่วนจี๋ "เฟดเอกซ์" เขาได้แนวคิดเรื่องกิจการส่งของแบบนี้ในระหว่างที่เป็นทหารนาวิกโยธินใน สงครามเวียดนาม ซึ่งขนย้ายทหารกว่าครึ่งล้านคนพร้อมส่งกำลังบำรุงนับล้านตัน การฝึกวินัยและความเป็นผู้นำมีความสำคัญยิ่ง เขานำสิ่งเหล่านั้นมาใช้โดยให้ความสำคัญแก่ผู้จัดการระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นวิธีของทหารที่ให้ความสำคัญแก่นายทหารระดับจ่าและนายสิบ

ลำดับ 4 - เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งบริษัทขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต "อะเมซอน" เบิร์นนำเข้าสู่บทความด้วยเรื่องของเบซอส ตอนที่เบซอสเริ่มมีแนวคิดเรื่องธุรกิจดังกล่าว เขาดำรงตำแหน่งรองประธานผู้บริหารของกองทุนเพื่อเก็งกำไร เมื่อเขาพูดกับเจ้านาย เขาไม่ได้รับการสนับสนุน แต่เขาก็ลาออกภายใน 2 วัน เพื่อไปทำความฝันให้เป็นจริง เบซอสมองหาแนวคิดใหม่ ๆ ด้วยการปลีกตัวไปอยู่คนเดียวเป็นเวลา 2-3 วัน ปีละ 4 ครั้ง หลังจากนั้นก็จะนำสิ่งที่เขาคิดได้มาเสนอให้ผู้ร่วมงานฟังเพื่อขอความเห็นใน ความเป็นไปได้ อันที่จริง บิลล์ เกตส์ ก็ใช้วิธีนี้ แต่ผู้เขียนมิได้อ้างถึง นั่นคือทุกปีเกตส์จะปลีกตัวไปอยู่คนเดียว 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือที่พิมพ์ออกใหม่ ๆ ในเกือบทุกสาขา

ลำดับ 5 - "คู่แฝด" ลาร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน ผู้ก่อตั้ง "กูเกิล" 2 คนนี้มีแนวการบริหารกูเกิลที่เด่นที่สุด คือไม่อั้นค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา กูเกิลใช้เงินหมดไปในด้านนี้ถึงเกือบ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยแบ่งออกตามสูตร 70% เพื่อกิจการหลักของบริษัท 20% เพื่อกิจการที่เกี่ยวเนื่อง และ 10% จะเป็นอะไรก็ได้ ซึ่งอาจนำแนวคิดใหม่ ๆ มาให้บริษัท

ลำดับ 6 - โฮวาร์ด ชุลตซ์ ผู้ก่อตั้งร้านกาแฟ "สตาร์บัคส์" ชุลตซ์กับสตาร์บัคส์มีลักษณะคล้ายจ็อบส์กับแอปเปิล นั่นคือหลังจากทิ้งกิจการที่ตนสร้างขึ้นมาไปได้ระยะหนึ่งต้องหันกลับมากอบ กู้ธุรกิจ หลักคิดของชุลตซ์คือต้องท้าทายวิธีที่ใช้อยู่ตลอดเวลา เพื่อแสวงหาประสิทธิภาพพร้อมกับต้องยึดฐานเบื้องต้นของตนไว้ให้แน่น และต้องมีวินัยทางการเงินสูง

ลำดับ 7 - มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ผู้เพิ่งเป็นอภิมหาเศรษฐีใหม่จากการก่อตั้งสังคมออนไลน์ "เฟซบุ๊ก" เนื่องจากเขาเพิ่งเริ่มกิจการ เขาจึงยังไม่มีอะไรใหม่เป็นของตัวเองจริง ๆ นอกจากยึดหลักของ แอนดี้ โกรฟ ผู้ก่อตั้ง "อินเทล" ที่ว่า ในวงการธุรกิจ "ผู้หวาดระแวงอยู่เสมอเท่านั้นที่อยู่รอด"

ลำดับ 8 - จอห์น แมกคีย์ ผู้ก่อตั้งร้านขายอาหารสดชื่อ "โฮลฟู้ดส์" ซูเปอร์มาร์เก็ตนี้มีสาขาทั่วอเมริกากว่า 300 แห่ง โดยขายเฉพาะอาหารอินทรีย์ที่ผลิตตามวิธีธรรมชาติ หลักคิดที่เด่นของเขาคือมุ่งมั่นในจุดมุ่งหมายโดยไม่หวังกำไรเป็นที่ตั้ง เพียงอย่างเดียว เขาจึงขับเคี่ยวเรื่องความสำคัญของอาหารที่มีคุณภาพสูงสุดและมีผลดีต่อสิ่ง แวดล้อม

ลำดับ 9 - เฮิร์บ เคลเลเฮอร์ ผู้บุกเบิกกิจการสายการบินราคาประหยัด "เซาท์เวสต์" ซึ่งตอนนี้เป็นสายการบินภายในที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา และทำกำไรได้ติดต่อกันมาถึง 39 ปี วิธีของเขาคือยึดเอาความพอใจของผู้ใช้บริการเป็นหลัก ผ่านการทำให้พนักงานพอใจ เมื่อพนักงานทำงานด้วยใจรัก การบริการที่ดีย่อมตามมา ซึ่งทำให้ลูกค้าพอใจ ฉะนั้นพนักงานของเซาท์เวสต์จะได้ทั้งส่วนแบ่งจากผลกำไรและหุ้นในบริษัท ส่งผลให้พวกเขารู้สึกเป็นเจ้าของสายการบินด้วย

ลำดับ 10 - นารายณ์ มูรธี ผู้ก่อตั้งบริษัท "อินโฟซิส" เพื่อให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในอินเดีย บริษัทขนาดยักษ์นี้รับงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากประเทศก้าวหน้าที่ค่าแรง สูง เขาก่อตั้งกิจการกับเพื่อนร่วมงานอีก 5 คน ซึ่งเขามองว่าล้วนมีหลักยึดอันเหนียวแน่นอย่างเดียวกัน นั่นคือทำงานอย่างทุ่มเทและด้วยความเสียสละในวันนี้เพื่อวันที่ดีกว่าที่จะ มาถึง

ลำดับ 11 - แซม วอลตัน ผู้ก่อตั้งร้านขายปลีกขนาดยักษ์ "วอล-มาร์ต" ซึ่งมีรายรับถึง 4.5 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี และจ้างคนงานราว 2 ล้านคน เขายึดหลักของการเอาลูกค้าเป็นใหญ่โดยการขายสินค้าราคาต่ำที่สุด การจะทำเช่นนั้นได้เขาต้องตัดคนกลางออกไปโดยการตั้งระบบสั่งและส่งของที่ทัน สมัยก่อนใครทั้งหมด พร้อมกับการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าทันทีจากรหัสของสินค้าที่ลูกค้ากำลัง จ่ายเงินซื้อ

ลำดับ 12 - มูฮัมหมัด ยูนุส ผู้ก่อตั้งธนาคาร "กรามีน" ในบังกลาเทศ แนวคิดและความมุ่งมั่นในการช่วยคนจนผ่านการให้พวกเขากู้เงินก้อนเล็ก ๆ นี้มีผลดีถึงระดับปฏิวัติไปทั่วโลก จึงส่งผลให้ยูนุสได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2549 และเป็นแรงดลใจให้เยาวชนเกิดจิตสาธารณะที่จะออกไปช่วยสังคม