Page 1 of 1

?ก้าวต่อไปอุดมศึกษาไทย - โลกาภิวัตน์?

Posted: 22 Jan 2015, 09:41
by brid.ladawan
?ก้าวต่อไปอุดมศึกษาไทย - โลกาภิวัตน์?
ขณะนี้กำลังแก้ปัญหาอยู่แต่อังกฤษเป็นรัฐประชาธิปไตยมานานนับพันปีและมีการเลือกตั้ง การจะแยกเงินงบประมาณแผ่นดินออกจากรัฐบาลก็ยังเป็นเรื่องท้าทายอยู่

ประมาณกลางเดือนธันวาคม ก็ได้พูดคุยกับท่านเซอร์ดรัมมอนด์ โบน (Sir Drummond Bone) อธิการบดีวิทยาลัยแบเรียลแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Uni- versity) และท่านก็อยู่ในวงการปฏิรูปการศึกษาแห่งสหราชอาณาจักรและก็เคยเป็น อธิการบดีแห่งสหราชอาณาจักร ช่วงเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (Uni-versity of Glasglow) ก็มีความพยายามปฏิ รูปการศึกษาโดยการจัดโครงสร้างการอุดมศึกษาใหม่และมีข้อเสนอที่ต้องการให้การศึกษาเป็นอิสระจากการเมือง

ให้ประธานการอุดมศึกษาส่งรายงานตรงต่อสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งแยกให้สำนักการอุดมศึกษาเป็นองค์การอิสระหรือที่เรียกว่า non-department public body คือไม่ต้องเป็น กระทรวงทบวงกรม ให้การอุดมศึกษาใหม่ที่อังกฤษเรียกว่า สภาการอุดมศึกษา หรือ Council for Higher Education สามารถคุ้มครองปกป้องนักศึกษาที่จะต้องได้รับทุนกู้ยืมจากรัฐบาลอังกฤษ แล้วจะต้องมีงานทำ มีเงินเดือนเพื่อชดใช้ทุนคืนและเสียภาษี

เซอร์ดรัมมอนด์ โบนกล่าวว่า “ขณะนี้กำลังแก้ปัญหาอยู่แต่อังกฤษเป็นรัฐประชาธิปไตยมานานนับพันปีและมีการเลือกตั้ง การจะแยกเงินงบประมาณแผ่นดินออกจากรัฐบาลก็ยังเป็นเรื่องท้าทายอยู่”

ต่อมาทางสำนักการอุดมศึกษาไทยก็ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการอุดมศึกษา ชื่อ ดร.คาร์ลิงโก (Dr.Carlingo) เป็นอธิการบดีอยู่ที่มหาวิทยาลัยวู้ดแบรี่ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ด้วยท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาเรียกว่า มอลคอมบอลดริจ (Malcohm Baldridge) จึงได้แนะนำวิธีการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาไทยมุ่งสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก ด้วยการแบ่งมหาวิทยาลัยไทยออกเป็น 3 ประเภท คือ หนึ่ง มหาวิทยาลัยที่พร้อมสู่ระดับโลกอยู่แล้ว 10 มหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวมหาวิทยาลัยวิจัยของไทยในช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ทำไว้ สอง มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศประมาณ 20 ถึง 30 มหาวิทยาลัย สาม มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์แห่งการพัฒนา คือที่เหลือมาจาก 171 มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนไทย

วิธีการวัดก็จะใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของกระทรวงอุตสาหกรรมเดิม ก็จะเรียกว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เรียกภาษาอังกฤษว่า เอ็ดเพ็กซ์ (EdPex) ในบริบทของการศึกษาซึ่งวิธีการวัดคุณภาพนี้มีการวัดคะแนนเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบริบทแห่งการวัดที่ยืดหยุ่นและมีเกณฑ์การวัดที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกที่อาจจะแตกต่างจากสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือ สมศ. ของไทย

วิธีการของเอ็ดเพ็กซ์อาจจะต้องใช้ประสบการณ์ความรู้ของผู้ตรวจซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในภาคอุตสาหกรรมและการศึกษามาก่อนโดยเฉพาะดุลพินิจการให้คะแนนต้องอาศัยเกณฑ์และประสบการณ์บริหารระดับสูงเชิงธุรกิจ บูรณาการในหลายด้านตั้งแต่ ลูกค้า การตลาด โครงสร้างองค์การนำ กลยุทธ์ทางธุรกิจ วิธีการวัดสารสนเทศ การปฏิบัติการ การจัดการทรัพยากรคนและเงิน และผลลัพธ์ผลการดำเนินการหลายปีจนรู้แนวโน้มว่าอยู่ได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นอาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องผู้ตรวจที่เลือกแบบเหมาโหลไม่ได้ จึงต้องเลือกตรวจตามความสมัครใจ ถ้าหากคะแนนเกิน 250 ก็ผ่านการเป็นมหาวิทยาลัยศูนย์แห่งความเป็นเลิศ แต่ถ้าหากจะอยู่ในระดับโลกก็จะมีคะแนน 550 ขึ้นไป ซึ่งคะแนนเหล่านี้จะสะท้อนถึงสภาพวุฒิภาวะ (Maturity) ของมหาวิทยาลัยนั้นว่าจะเทียบกับมหาวิทยาลัยระดับใดทั่วโลก ประเภทเกณฑ์การวัดเหมือนกัน ซึ่งคะแนนที่ได้จากประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาเท่าที่ผ่านมาของรางวัลคุณภาพแห่งชาติเทียบกับสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และประเทศอื่น ๆ ต่างกันไม่มากและเป็นที่ยอมรับในทางสากล

ผมก็นำข้อสรุปจากที่ประชุมที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านที่เกาะติดกับการปฏิรูปการศึกษาไทย ได้พิจารณาเอาเองก็แล้วกันน่ะครับ.

รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล

อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

boonmark@stammford.edu

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 22 มกราคม 2558