Page 1 of 1

?อาร์วีพีอ่วมแบกต้นทุนเพิ่ม600ล้าน?

Posted: 31 Jan 2015, 08:22
by brid.ladawan
?อาร์วีพีอ่วมแบกต้นทุนเพิ่ม600ล้าน?
อาร์วีพีรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถเพิ่ม ขอเวลา 3 เดือนประเมินผลก่อนสรุปตัวเลขชัดเจนอึกครั้ง


นายประสิทธิ์ คำเกิด รองกรรมการผู้จัดการ ด้านปฏิบัติการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด หรืออาร์วีพี เปิดเผยว่า การปรับการเพิ่มวงเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจาก 15,000 เป็น 30,000 บาท ตามพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี53 มีผลตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค. 57 ที่ผ่านมานั้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 600 ล้านบาท แต่เบี้ยประกันที่รับมาในแต่เดือนจะเพียงพอจ่ายค่าสินไหมเพิ่มขึ้นหรือไม่ต้องรอดูสถานการณ์ในช่วง3 เดือนก่อน หลังจากนั้นจะประเมินผลอีกครั้ง เพราะก่อนหน้านี้สมาคมวินาศภัยเสนอสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ปรับลดวงเงินสบทบที่สมาคมฯจ่ายให้บริษัทฯ 12.25% เหลือเพียง 7.25-7.5% แต่คปภ.อยู่ระหว่างการพิจารณาในเรื่องนี้ แต่หากปรับลดวงเงินดังกล่าวจะกระทบการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยปีนี้คาดว่าค่าสินไหมทดแทนจะอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ขณะที่เบี้ยประกันภัยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4,500 ล้านบาท

สำหรับอัตราค่าสินไหมทดแทนหรือลอสเรโชของรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 10-15% จากปกติที่บริษัทมีลอสเรโชอยู่ที่ 64% หรือคิดเป็นเงินที่จ่ายให้กับผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตปีละ 2,400-2,500 ล้านบาท เพราะอุบัติเหตุสัดส่วน70% เกิดจากผู้ขับขี่เป็นหลัก และแต่ละปีมีผู้เกิดอุบัติเหตุประมาณ 300,000 คน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการจัดเก็บเบี้ยประกันตามพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ ทั้งระบบอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นประกันรถจักรยานยนต์อยู่ที่ 3,800-3,900 ล้านบาทต่อปี ที่เหลือเป็นรถประเภทอื่น ส่วนปีนี้คาดว่าค่าสินไหมทดแทนจะอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ขณะที่เบี้ยประกันภัยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4,500 ล้านบาท

“ที่ผ่านมาบริษัทฯได้ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง ซึ่งได้นำระบบอิเลคทรอนิกส์หรืออีเคลมเข้ามาใช้ในการเคลมค่าสินไหม ทดแทนให้มีความรวดเร็วมากขึ้น และช่วยป้องกันการทุจริตเคลมย้อนหลัง เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุสามารถถ่ายภาพความเสียหายของรถและส่งเข้าข้อมูลกลาง เพื่อเชื่อมกับร้านอะไหล่ พนักงานประเมินราคา และประมวลผลให้กับลูกค้าได้ทันที และแผนปีนี้เน้นจ่ายค่าสินไหมให้ลูกค้าภายใน 24 ชม.ถ้าเอกสารครบถ้วน”

นอกจากนี้ได้ขยายเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต.เพิ่มอีก 2,000 แห่ง จากปัจจุบันมีโรงพยาบาลระดับอำเภอ จังหวัด ทั่วประเทศที่เชื่อมระบบเคลมออนไลน์กับบริษัทแล้ว 1,963 แห่ง ขณะเดียวกันได้รณรงค์ลดอุบัติเหตุบนท้องถนนเข้มข้นมากขึ้นผ่านกลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มคนทำงาน และกลุ่มชุมชนทั่วไป ทั้งนี้ต้องการให้ประชาชนให้ความสำคัญทำประกันภัยรถจักรยานยนต์ เพราะที่ผ่านมามีรถจักรยานยนต์จดทะเบียน 19-20 ล้านคัน แต่ทำประกันเพียง14 ล้านคัน

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 30 มกราคม 2558