ดัน'อี-บิสซิเนส'หนุนเป้าค้าออนไลน์หมื่นล้าน
Posted: 18 Feb 2015, 11:51
ดัน'อี-บิสซิเนส'หนุนเป้าค้าออนไลน์หมื่นล้าน
ส.อ.ท.จับมือ ไอซีที ดันเศรษฐกิจดิจิทัลตั้งเป้าปี 58 ยอดขายผ่านออนไลน์ไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท และเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาทภายใน 3 ปี
การผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาลนั้นต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งภาครัฐและเอกชน โดยทางภาคเอกชนนำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้หารือกับกระทรวงไอซีทีก่อนบรรลุข้อตกลงในการขับเคลื่อนร่วมกัน
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีได้ร่วมกับ ส.อ.ท.จัดตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อผลักดันวางกรอบยุทธศาสตร์ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 4 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 ส่งเสริม e-business สู่ภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพิ่มช่องทางการทำธุรกิจโดยใช้ Online ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
นอกจากนี้ ส.อ.ท. จะ ทำโครงการ e-business โดยได้มีการจัดทำเว็บไซต์ ww.fitebusiness.com เพื่อให้สมาชิก ส.อ.ท.สามารถทำธุรกิจ E-commerce โดยมีหน้าร้านและรายการสินค้าออนไลน์ เบื้องต้นเว็บไซต์ดังกล่าวจะทำในรูปแบบภาษาท้องถิ่น 10 ประเทศให้แล้วเสร็จในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย รองรับการเปิดเออีซี โดยคาดว่าจะสามารถช่วยให้เกิดการซื้อขาย ผ่านโครงการมีมูลค่ากว่า 2 พันล้านบาทภายในปี 2558 และจะเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี
ปรับมาตรฐานซื้อขายอี-คอมเมิร์ซ
ส่วน โครงการที่ 2 ปรับเปลี่ยนมาตรฐานการซื้อขายสินค้าให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการทำธุรกรรมการซื้อขายสินค้า จากรูปแบบปัจจุบันไปสู่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานสากล รวมทั้งการทำธุรกรรมชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยเชื่อมโยงการค้ากับผู้ประกอบการต่างชาติ เพื่อให้สามารถค้าขายได้ทั่วโลก
โครงการที่ 3 ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเป็นโครงการหลักที่สำคัญเนื่องจากจะมีการรวบรวมข้อมูลโครงสร้างการผลิตของภาคอุตสาหกรรมแต่ละแขนง โดยในเบื้องต้นจะนำร่อง 43 กลุ่มอุตสาหกรรม ภายใน 3 ปี จากนั้นจะกระจายไปทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในการสนับสนุนซัพพลายเชนของภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นกลไกในการเตือนภัยทางธุรกิจในทุกๆ ด้าน โดยจะเริ่มนำร่องในการเตือนภัยปกป้องการทุ่มตลาดของสินค้าภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหากพัฒนาระบบนี้ได้จะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศแรกที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อปกป้องระบบการทุ่มตลาดได้
“ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรมไทยจะมีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลเครือข่ายระหว่างหน่วยงานราชการและองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจเข้าด้วยกัน เช่น กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ ได้วันต่อวัน หากพบตัวเลขที่ผิดปกติ หรือมีสัญญาณเตือนภัยการทุ่มตลาด ก็สามารถวางมาตรการป้องกันแก้ไขได้ทันท่วงที” นายสุพันธุ์ กล่าว
พัฒนาบุคลากรรับดิจิทัล
สำหรับ โครงการที่ 4 การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล จะร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลในการพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 พัฒนาผู้ประกอบการดิจิทัลแบบมืออาชีพ ขยายโอกาสทางการค้าไปสู่สากลไม่น้อยกว่า 1 พันกิจการภายใน 3 ปี และกลุ่มที่ 2 ผู้พัฒนาระบบเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไม่น้อยกว่าปีละ 200 ราย
อย่างไรก็ดีในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อเอกชน จะมีการพิจารณาประเด็นการแก้กฎหมายก่อนส่งเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ไอซีทีเร่งหนุนเอสเอ็มอี
ด้านนางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า จากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล กระทรวงได้ส่งเสริมเรื่องนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เนื่องจากการเข้าถึงระบบดิจิทัล จะทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและเพิ่มช่องทางการตลาดได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
นอกจากนี้เมื่อการจัดทำคู่มือประชาชนสำหรับประกอบ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการแล้วเสร็จ ก็จะทำให้การประสานงานของทุกหน่วยงานมีความสะดวกขึ้น และช่วยเอื้อให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาติดต่อได้รับข้อมูลเร็วขึ้น และสามารถดำเนินธุรกิจได้เร็วขึ้นด้วย
กระทรวงได้กำหนดทิศทางการส่งเสริมไว้ 4 ประการ ประกอบด้วย 1.ส่งเสริมผู้ประกอบการค้ารุ่นใหม่ 2.ส่งเสริมนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม 3.ปรับรูปแบบการค้าการลงทุนในเชิงธุรกิจดิจิทัล 4.ส่งเสริมให้เกิดตลาดใหม่ในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์
"ไอซีทีเล็ง เห็น ความสำคัญของผู้ประกอบการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ เพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ จึงร่วมกับส.อ.ท.กำหนดทิศทางให้เป็นในทางเดียวกัน" นางเมธินี กล่าว
คาดตั้งกระทรวงใหม่เสร็จไตรมาส3
ส่วนความคืบหน้าการตั้งกระทรวงใหม่ ที่จะมีการเปลี่ยนรูปแบบจากกระทรวงไอซีที ว่า การจัดตั้งคาดว่าจะแล้วเสร็จได้เร็วคือในไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วนกฎหมายทั้ง 10 ฉบับที่จะรองรับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล จะเสร็จภายในกลางปี โดยปัจจุบันกฎหมายอยู่ในขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งพิจารณาเสร็จไปแล้ว 50%
Tags : ออนไลน์,เศรษฐกิจดิจิทัล,ส.อ.ท.,สุพันธุ์ มงคลสุธี,e-business,
ที่มา :www.bangkokbiznews.com
ส.อ.ท.จับมือ ไอซีที ดันเศรษฐกิจดิจิทัลตั้งเป้าปี 58 ยอดขายผ่านออนไลน์ไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท และเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาทภายใน 3 ปี
การผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาลนั้นต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งภาครัฐและเอกชน โดยทางภาคเอกชนนำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้หารือกับกระทรวงไอซีทีก่อนบรรลุข้อตกลงในการขับเคลื่อนร่วมกัน
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีได้ร่วมกับ ส.อ.ท.จัดตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อผลักดันวางกรอบยุทธศาสตร์ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 4 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ 1 ส่งเสริม e-business สู่ภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพิ่มช่องทางการทำธุรกิจโดยใช้ Online ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
นอกจากนี้ ส.อ.ท. จะ ทำโครงการ e-business โดยได้มีการจัดทำเว็บไซต์ ww.fitebusiness.com เพื่อให้สมาชิก ส.อ.ท.สามารถทำธุรกิจ E-commerce โดยมีหน้าร้านและรายการสินค้าออนไลน์ เบื้องต้นเว็บไซต์ดังกล่าวจะทำในรูปแบบภาษาท้องถิ่น 10 ประเทศให้แล้วเสร็จในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย รองรับการเปิดเออีซี โดยคาดว่าจะสามารถช่วยให้เกิดการซื้อขาย ผ่านโครงการมีมูลค่ากว่า 2 พันล้านบาทภายในปี 2558 และจะเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี
ปรับมาตรฐานซื้อขายอี-คอมเมิร์ซ
ส่วน โครงการที่ 2 ปรับเปลี่ยนมาตรฐานการซื้อขายสินค้าให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการทำธุรกรรมการซื้อขายสินค้า จากรูปแบบปัจจุบันไปสู่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานสากล รวมทั้งการทำธุรกรรมชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยเชื่อมโยงการค้ากับผู้ประกอบการต่างชาติ เพื่อให้สามารถค้าขายได้ทั่วโลก
โครงการที่ 3 ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเป็นโครงการหลักที่สำคัญเนื่องจากจะมีการรวบรวมข้อมูลโครงสร้างการผลิตของภาคอุตสาหกรรมแต่ละแขนง โดยในเบื้องต้นจะนำร่อง 43 กลุ่มอุตสาหกรรม ภายใน 3 ปี จากนั้นจะกระจายไปทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในการสนับสนุนซัพพลายเชนของภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นกลไกในการเตือนภัยทางธุรกิจในทุกๆ ด้าน โดยจะเริ่มนำร่องในการเตือนภัยปกป้องการทุ่มตลาดของสินค้าภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหากพัฒนาระบบนี้ได้จะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศแรกที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อปกป้องระบบการทุ่มตลาดได้
“ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรมไทยจะมีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลเครือข่ายระหว่างหน่วยงานราชการและองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจเข้าด้วยกัน เช่น กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ ได้วันต่อวัน หากพบตัวเลขที่ผิดปกติ หรือมีสัญญาณเตือนภัยการทุ่มตลาด ก็สามารถวางมาตรการป้องกันแก้ไขได้ทันท่วงที” นายสุพันธุ์ กล่าว
พัฒนาบุคลากรรับดิจิทัล
สำหรับ โครงการที่ 4 การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล จะร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลในการพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 พัฒนาผู้ประกอบการดิจิทัลแบบมืออาชีพ ขยายโอกาสทางการค้าไปสู่สากลไม่น้อยกว่า 1 พันกิจการภายใน 3 ปี และกลุ่มที่ 2 ผู้พัฒนาระบบเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไม่น้อยกว่าปีละ 200 ราย
อย่างไรก็ดีในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อเอกชน จะมีการพิจารณาประเด็นการแก้กฎหมายก่อนส่งเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ไอซีทีเร่งหนุนเอสเอ็มอี
ด้านนางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า จากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล กระทรวงได้ส่งเสริมเรื่องนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เนื่องจากการเข้าถึงระบบดิจิทัล จะทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและเพิ่มช่องทางการตลาดได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
นอกจากนี้เมื่อการจัดทำคู่มือประชาชนสำหรับประกอบ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการแล้วเสร็จ ก็จะทำให้การประสานงานของทุกหน่วยงานมีความสะดวกขึ้น และช่วยเอื้อให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาติดต่อได้รับข้อมูลเร็วขึ้น และสามารถดำเนินธุรกิจได้เร็วขึ้นด้วย
กระทรวงได้กำหนดทิศทางการส่งเสริมไว้ 4 ประการ ประกอบด้วย 1.ส่งเสริมผู้ประกอบการค้ารุ่นใหม่ 2.ส่งเสริมนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม 3.ปรับรูปแบบการค้าการลงทุนในเชิงธุรกิจดิจิทัล 4.ส่งเสริมให้เกิดตลาดใหม่ในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์
"ไอซีทีเล็ง เห็น ความสำคัญของผู้ประกอบการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ เพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ จึงร่วมกับส.อ.ท.กำหนดทิศทางให้เป็นในทางเดียวกัน" นางเมธินี กล่าว
คาดตั้งกระทรวงใหม่เสร็จไตรมาส3
ส่วนความคืบหน้าการตั้งกระทรวงใหม่ ที่จะมีการเปลี่ยนรูปแบบจากกระทรวงไอซีที ว่า การจัดตั้งคาดว่าจะแล้วเสร็จได้เร็วคือในไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วนกฎหมายทั้ง 10 ฉบับที่จะรองรับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล จะเสร็จภายในกลางปี โดยปัจจุบันกฎหมายอยู่ในขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งพิจารณาเสร็จไปแล้ว 50%
Tags : ออนไลน์,เศรษฐกิจดิจิทัล,ส.อ.ท.,สุพันธุ์ มงคลสุธี,e-business,
ที่มา :www.bangkokbiznews.com