Page 1 of 1

เจาะลึกวิธีคิด Matrix Thinking ตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรม-โอกา

Posted: 21 Feb 2015, 14:00
by brid.ladawan
เจาะลึกวิธีคิด Matrix Thinking ตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรม-โอกาสธุรกิจวันนี้


เผยวิธีคิดแบบแมทริกต์เครื่องมือสู่ความสำร็จในวันนี้ กูรูชี้เป็นกระบวนการที่เป็นระบบและนำไปสู่การคิดนอกกรอบ การสร้างนวัตกรรม และโอกาสทางธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย

โรเจอร์ ลาซาล ผู้คิดค้นเทคนิค Matrix Thinking กล่าวถึงที่มาของเทคนิค Matrix Thinking ว่า เริ่มมาจากวิธีการคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking) โดยเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ซึ่งเป็นวิธีการคิดแบบใหม่ที่กระตุ้นให้คนหัดคิดหรือมองออกไปนอกกรอบความคิดเดิมที่ตัวเองมีอยู่ และอีกหนึ่งระบบการคิดที่เรียกว่า “การระดมสมอง (Brain Storming)” ซึ่งจากบันทึกในวิกิพีเดียพบว่า Alex Faickney Osborn เป็นผู้ทำให้มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่ง Osborn กล่าวไว้ว่า ในการสร้างสรรค์ความคิดที่หลากหลายนั้นการระดมสมองเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการคิดคนเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ยังคงมีข้อสงสัยในข้อสรุปเช่นนั้นของเขาอยู่

จากข้อสงสัยในเรื่องการระดมสมองว่าใช้ได้ผลจริงหรือไม่ ซึ่งในภายหลังได้พบคำตอบที่แท้จริงว่ามันคือกระบวนการที่ล้มเหลว และจากความต้องการเติมเต็มและใช้ประโยชน์จากวิธีการคิดนอกกรอบให้ได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงทำให้เกิดการพัฒนาระบบการคิดแบบเมทริกซ์ (Matrix Thinking) ขึ้นมา ซึ่งการคิดแบบเมทริกซ์นี้เป็นกระบวนการที่เป็นระบบและนำไปสู่การคิดนอกกรอบ การสร้างนวัตกรรม และโอกาสทางธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย

“เรื่องความล้มเหลวของการระดมสมอง นึกภาพตามง่ายๆ ถ้าคุณขอร้องให้กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งระดมสมองเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับแก้วน้ำ พวกเขาจะมองคุณด้วยสายตาที่ว่างเปล่า หรือไม่ก็หัวเราะอย่างขบขัน ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในกิจกรรมการระดมสมอง ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าในหลายๆ การสัมมนา และในการอบรมเชิงปฏิบัติการ”

“อย่างไรก็ตาม เราพบว่า ถ้าคุณถามคำถามอย่างตรงไปตรงมา ส่วนใหญ่คุณก็มักจะได้รับคำตอบอย่างตรงไปตรงมาเช่นกัน ดังนั้นแทนที่จะถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้คนระดมสมองเกี่ยวกับแก้วน้ำแก้วนั้น วิธีการที่ดีกว่าคือให้คุณถามคำถามตรงๆ เพื่อให้คนเหล่านั้นเติมคำลงไปในประโยค เช่น “ฉันหวังว่าแก้วน้ำแก้วนี้จะ...” ซึ่งการถามคำถามแบบตรงๆ นี้เอง เป็นที่มาของการพัฒนาวิธีคิดแบบ Matrix Thinking ซึ่งถูกนำไปใช้มากกว่า 26 ประเทศ และในธุรกิจต่างๆ อีกนับไม่ถ้วนทั่วโลก”

สำหรับกระบวนการคิดแบบเมทริกซ์เริ่มจากต้องมีเครื่องมือที่ชื่อว่าตารางเมทริกซ์ (ตามตารางด้านล่าง) โดยเริ่มจากใส่ความคิดที่เป็นรูปธรรมแบบง่ายๆ ลงไปในแถวของคำสำคัญ ในตารางเมทริกซ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จุดตัดระหว่างกันเรียกว่าเมล็ดพันธุ์ (คำสำคัญพื้นฐาน) บนแกนแนวตั้งด้านซ้ายของเมทริกซ์ และใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา (หรือคำที่กระตุ้นความคิด) ด้านบนของตารางเมทริกซ์ ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยานี้เองที่ก่อให้เกิดคำถามโดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการ หรือบริการ

เจาะลึกวิธีคิด Matrix Thinking ตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรม-โอกาสธุรกิจวันนี้
ความสำเร็จของระบบการคิดแบบเมทริกซ์นั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกเมล็ดพันธุ์และตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งระบบนี้ได้รับการพัฒนา กลั่นกรองและทดสอบมาเป็นเวลาหลายปีจากธุรกิจต่างๆ และหลากหลายประเภทของสินค้าและบริการ

ตารางเมทริกซ์นี้เปรียบเหมือนอาวุธที่มีอานุภาพ ก่อให้เกิดการคิดแบบนวัตกรรมได้ภายในเสี้ยววินาที และผลลัพธ์ที่ตามมานั้นยังน่าตื่นตาตื่นใจมากอีกด้วย ทั้งนี้ตารางเมทริกซ์โดยทั่วไปจะมีจุดตัดทั้งหมด 48 ช่องหรือมากกว่า โดยแต่ละช่องนั้นจะนำไปสู่ความคิดที่ชาญฉลาดในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นี่อาจคล้ายกับวิธีการระดมสมอง แต่มีแบบแผนและการตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 นี้ ที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สุขุมวิท 22 กรุงเทพฯ จะมีการจัดสัมมนาเรื่อง “นวัตกรรม การตลาด และโอกาสทางธุรกิจ” เพื่อให้ผู้สนใจได้พบกับโรเจอร์ ลาซาล ที่จะมาบรรยายในเรื่องวิธีคิดแบบแมทริกต์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ AIM Client Service 02-513-0123 Mobile: 086-810-4434 / 085-131-3835


วันที่ ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558