Page 1 of 1

สทน.ใช้เทคโนโลยีใหม่ดันยอดส่งออกผลไม้

Posted: 23 Feb 2015, 15:23
by brid.ladawan
สทน.ใช้เทคโนโลยีใหม่ดันยอดส่งออกผลไม้


สทน. เตรียมขยายกำลังการผลิตรังสีด้วยเทคโนโลยีใหม่ หลังนิวซีแลนด์และออสเตรเลียยอมรับมาตรฐานผลไม้ฉายรังสีของไทย หวังเพิ่มการให้บริการจาก 20 ตันเป็น 100 ตันต่อวัน

ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ปัจจุบันในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป กำหนดให้การนำเข้าผลไม้บางชนิดต้องผ่านการฉายรังสี เพื่อกำจัดปัญหาแมลงสทน. เตรียมขยายกำลังการผลิตรังสีด้วยเทคโนโลยีใหม่ หลังนิวซีแลนด์และออสเตรเลียยอมรับมาตรฐานผลไม้ฉายรังสีของไทย หวังเพิ่มการให้บริการจาก 20 ตันเป็น 100 ตันต่อวัน
ศัตรูพืชปะปน สทน.ซึ่งเปิดให้บริการฉายรังสีผลไม้เพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ล่าสุด ลำไยและลิ้นจี่ที่ผ่านการฉายรังสี จาก สทน.ได้รับการยอมรับผ่านมาตรฐาน มีความปลอดภัยในการบริโภคสามารถเข้าไปทำตลาดในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลไม้ที่ผ่านการฉายรังสีในปีนี้เพิ่มเป็น 2,300 ล้านบาท

ทั้งนี้ปัจจุบัน สทน.มีกำลังการผลิตรองรับการฉายรังสีผลไม้ได้ประมาณ 20 ตันต่อวัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ดังนั้นในปีนี้ สนท.จะดำเนินการติดตั้งเครื่องฉายรังสีเพิ่มเติม ภายใต้งบประมาณ 600 ล้านบาท โดยเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเปลี่ยนจากโคบอลต์ 60 ที่ไม่สะดวกในการขนส่งมาเป็นเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนหรือเครื่องเอกซเรย์แทน คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 2 ปี และสามารถเพิ่มการให้บริการฉายรังสีผลไม้จาก 20 ตันต่อวัน เป็น 100 ตันต่อวัน

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา สทน.ยังสามารถใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอัญมณีเนื้ออ่อนประเภท โทแพซ เบริลอความารีน ทัวมารีน และควอตซ์ ได้มากประมาณ 5-30 เท่า โดยในปี 2557 สร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออกให้กับอัญมณีฉายรังสีได้กว่า 2,000 ล้านบาท.



ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558