Page 1 of 1

ชะลอเปิดสัมปทานปิโตรเลียมฯ21

Posted: 24 Feb 2015, 18:33
by brid.ladawan
ชะลอเปิดสัมปทานปิโตรเลียมฯ21

“บิ๊กตู่” สั่งแก้กฎหมาย ก่อนเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 รับวันที่ 16 มี.ค.นี้ยังไม่มีเปิดสัมปทาน เพราะต้องขอหารือก่อน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมระหว่างครม. และคสช. ถึงเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ว่า ที่ประชุมได้หารือกันแล้ว ตนจึงตัดสินใจว่า ให้ไปแก้กฎหมายให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป โดยสิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกคนรู้ คือ ขณะนี้มีสิ่งชี้ชัดว่า สถานการณ์ดีขึ้นคือ มีการพูดคุยกันโดยสงบเรียบร้อย เมื่อวันที่20ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการพูดคุยที่ดีมาก และมีข้อยุติว่าจะตั้งคณะกรรมการมาศึกษารายละเอียด

ทั้งนี้ยมรับว่า คงต้องพูดคุยกันต่อ และไม่ใช่การแก้กฎหมายเพียงอย่างเดียว เนื่องจากยังมีขั้นตอนของการดำเนินการ ว่าอะไรที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ส่วนในวันที่16มี.ค.จะยังเปิดให้ยื่นสำรวจสัมปทาน อยู่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า จะยังไม่เปิดให้ยื่นสัมปทาน แต่จะหารือว่าจะทำอย่างไร โดยสรุปว่า แก้กฎหมายก่อน ถึงจะทำอะไรได้ โดยการแก้กฎหมายนั้น ต้องไปดูว่ามีข้อขัดข้องตรงไหน ทำได้หรือไม่ วิธีนี้ วิธีโน้น สองสามวิธี ทำได้หรือไม่ อย่างไร อะไรดีกว่าอะไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องหารือกันอีก และเมื่อถามถึงระยะเวลาในการแก้กฎหมาย ที่นายกฯ เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะใช้เวลา3เดือน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “เขาบอกว่าเร็วที่สุดน่าจะได้ ก็ลองดูสิ การแก้กฎหมายนั้นแก้อย่างไร แก้ด้วยใคร ซึ่งเรื่องนี้ครม.ได้ปรึกษากับคสช.แล้ว”

“ถึงได้บอกว่าต้องมาคุยกันอีกสิ ที่ผ่านมาเพียงแต่พูดในหลักการเฉย ๆ ต้องลงรายละเอียดกันอีกที คุยกันแล้วเดี๋ยวไปแก้กฎหมายเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จบเมื่อไหร่ก็ว่ากันในขั้นตอนของการเปิดสำรวจสัมปทาน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ได้มีกรอบเวลา กฎหมายเสร็จเมื่อไหร่ ก็ทำเมื่อนั้น”

เมื่อถามว่าในระหว่างที่ดำเนินการแก้กฎหมาย จะสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ต้องไปถามฝ่ายที่คัดค้าน อย่ามาถามตน เพราะตนไม่ได้เป็นคนไปทำให้ช้าเสียเวลา ต้องไปถามเขา ว่าอย่างไร ถ้ามาถามตนแล้วทำ ก็บอกว่าไม่รับฟังความคิดเห็น พอตนบอกให้ชะลอตามที่ท่านต้องการ ก็มาบอกเขาจะเชื่อมั่นเราหรือเปล่า มาถามทั้งสองทางตนจะไปตอบอะไรได้

“ต้องไปถามฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่า ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วเขาจะรับผิดชอบยังไงได้ เพราะรัฐบาลก็มีหน้าที่ในการจัดหาพลังงาน แต่เมื่อเราฟังความคิดเห็นท่านแล้วก็เข้าใจ ว่าท่านต้องการให้เกิดความชัดเจนขึ้น เราก็น้อมรับในคำแนะนำเหล่านั้น และหาทางออกกันต่อไป แต่แน่นอนมันต้องเสียเวลา เมื่อการเสียเวลาเกิดขึ้น ถ้ามีความผิดพลาด ความเสียประโยชน์ เขาต้องเป็นคนรับผิดชอบ ก็รู้อยู่แล้วว่ามีใครบ้าง ทุกคนต้องยอมรับกันบ้างนะ ไม่ใช่ว่าไม่รับอะไรกันเลย ผมก็สั่งให้ลงบันทึกไว้หมดแล้วว่าใครอะไรยังไง ความคิดเห็นอย่างไร ผมถือว่าทุกคนต้องรับผิดชอบด้วยกัน ถ้ารัฐฟัง ท่านก็ต้องรับผิดชอบกับรัฐด้วย แค่นั้นเอง”

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการร่วมจะต้องหารือร่วมกันให้ได้ข้อสรุปภายในวันที่16มี.ค.ตามเดินหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่ อย่าเอามาพันกัน ถ้าวันที่16มี.ค. ไม่สามารถยื่นสำรวจสัมปทานได้ ก็จบ ชะลอไปก่อน คือเลื่อนไป ระหว่างนี้ก็พูดคุยทำกฎหมาย ซึ่งก็คงไม่ได้ในวันที่16มี.ค.อยู่แล้ว ส่วนคณะกรรมการร่วมที่ตั้งมาก็คุยกันต่อ โดยเมื่อขั้นตอนกฎหมายอยู่ในขั้นกรรมาธิการ แปรญัติ ก็ไปทำงานร่วมกันสิ ส่วนวันนี้ที่มาถามว่าเขาเวลา 17:19 น.
จะเชื่อถือหรือไม่ ถ้าเขาไม่เชื่อถือก็ไม่ใช่ความผิดตนแล้ว

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานยังยืนยันตามแนวทางเดิม โดยขณะนี้ คณะกรรมการร่วมก็ต้องไปหารือกันให้ได้ข้อสรุปก่อน ส่วนการแก้ไขกฎหมาย ที่ผ่านมาก็ได้มีการแก้ไขกฎหมายไปแล้ว 4-5 รอบ ดังนั้นกฎหมายฉบับที่ใช้อยู่ก็เป็นกฎหมายที่ดีอยู่แล้ว และก็ปรับปรุงให้เปิดเงื่อนไขในทางเลือกอื่นอยู่แล้ว


ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558