Page 1 of 1

“พรชัย” เร่งเคลียร์ปมดาวเทียมไทยคม

Posted: 26 Feb 2015, 13:14
by brid.ladawan
“พรชัย” เร่งเคลียร์ปมดาวเทียมไทยคม

“พรชัย” ดันปัญหาดาวเทียมบนวงโคจรทุกดวงตามสิทธิ์ที่กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบกับคณะกรรมการนโยบายเอวกาศแห่งชาติ เสนอแนวทาง 3 ส่วน คาดดันเข้า ครม.เม.ย.57

วันนี้ (25 ก.พ.) ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า ได้ร่วมประชุมกับคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ที่มี ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อกำหนดแผนงานทิศทางการบริหารงานของดาวเทียมทุกดวงที่มีอยู่ในวงโคจรตามสิทธิ์ที่กระทรวงไอซีทีได้รับจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ไอทียู) คาดว่าแผนงานทั้งหมดจะแล้วเสร็จได้ภายในเดือน เม.ย.นี้ จากนั้นจะนำเข้าสู่วาระของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

สำหรับแนวทางแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.การกำหนดทิศทางการบริหารวงโคจรดาวเทียมเพื่อให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด ที่ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 7 วงโคจรมีดาวเทียมให้บริการ 4 ดวงคือไทยคม 5 และ 6 ในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ไทยคม 7 ตำแหน่ง 50.5 องศาตะวันออก และไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออก ซึ่งมีทั้งที่ใช้งานอยู่และหมดอายุไปแล้ว 2.แนวทางการจัดการกับดาวเทียมไทยคม 4 ถือเป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทานที่สร้างมาทดแทนไทยคม 3 ซึ่งขณะนี้ยังไม่สรุปว่าจะทำอย่างไร และ 3.การจัดทำดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเพื่อให้บริการความมั่นคงและบริการสาธารณะโดยขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างดาวเทียมภาครัฐ1 ดวง เพื่อให้บริการความมั่นคงและสาธารณะ

“เดือนเม.ย.นี้ จะเรียก บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หารือเกี่ยวกับไอพีสตาร์ว่าจะให้ไอพีสตาร์อยู่ในสถานะอะไรทั้งดาวเทียมสำรองไทยคม 3 ตามที่ไทยคมอ้างหรือเป็นดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นมา 1 ดวง เมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันจะเจรจาถึงร่างสัญญาแนบท้ายใหม่เพื่อกำหนดอัตราการจ่ายค่าธรรมเนียมหากสรุปให้เป็นดาวเทียมดวงใหม่แต่หากกำหนดร่วมกันให้เป็นดาวเทียมสำรองไทยคม 3 ก็จ่ายส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาสัมปทานในราคาที่เป็นธรรม”นายพรชัย กล่าว

นอกจากนี้ ในส่วนของการให้ใบอนุญาตดาวเทียมไทยคม 7 นั้น จะต้องหารือให้ชัดเจน เพราะปัจจุบันไทยคมถือใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมเพื่อการสื่อสารจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เพียงอย่างเดียว แต่ตามจริง ไทยคมจำเป็นต้องมีใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่จากไอซีทีและต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แก่ไอซีที อีกทั้ง จะเร่งจรจากับกสทช.เพื่อตกลงกรอบอำนาจของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจน

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558