Page 1 of 1

ทำให้มหาวิทยาลัยแข่งขันแบบเสมอภาค

Posted: 26 Feb 2015, 13:26
by brid.ladawan
ทำให้มหาวิทยาลัยแข่งขันแบบเสมอภาค

ทางภาครัฐแห่งสหราชอาณาจักรก็เช่นกันก็จะต้องพยายามให้มีกฎเกณฑ์และกติกาในการแข่งขันที่ให้โอกาสอย่างเสมอภาค โดยจะต้องไม่ออกกฎเกณฑ์ประเภทที่ให้มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และขนาดเล็กทำเหมือนกันหมด

ทำให้มหาวิทยาลัยแข่งขันแบบเสมอภาค - โลกาภิวัฒน์

ปัญหาการอุดมศึกษาของสหราชอาณาจักร ก็คงเหมือนของเราก็คือ ทำอย่างไรให้สถาบันอุดมศึกษาแข่งขันภายใต้กติกาที่เปิดโอกาสอย่างเท่าเทียมสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน และทุกประเภท

ทางภาครัฐแห่งสหราชอาณาจักรก็เช่นกันก็จะต้องพยายามให้มีกฎเกณฑ์และกติกาในการแข่งขันที่ให้โอกาสอย่างเสมอภาค โดยจะต้องไม่ออกกฎเกณฑ์ประเภทที่ให้มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และขนาดเล็กทำเหมือนกันหมด แล้วมหาวิทยาลัยเกิดใหม่และมหาวิทยาลัยขนาดเล็กไม่สามารถแข่งขันได้หรืออยู่ได้ลำบาก ที่เขาเรียกกันว่า “one size fits all” ซึ่งนอกจากขนาดของมหาวิทยาลัยแล้วก็จะต้องคำนึงถึงรายละเอียดของแต่ละหลักสูตรที่เปิดสอน เพราะนักศึกษาจำนวนมากหรือส่วนใหญ่มักจะต้องใช้บริการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาและจะต้องใช้เงินคืนในภายหลัง เมื่อนักศึกษาเรียนจบได้งานทำแล้ว

วิธีการแก้ปัญหาคือจะต้องให้บทบาทของภาครัฐและบทบาทของมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมและสร้างความเป็นธรรมในการผลิตบัณฑิตของประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจบทบาทภาครัฐของสภาอุดมศึกษาจะต้องมีอำนาจในการควบคุมคุณภาพการศึกษาและจะต้องช่วยแก้ไขปัญหาอันเกิดจากความไม่เป็นธรรมที่นักศึกษาได้รับร่วมกัน และทั้งหมดสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาพร้อมกันไปได้

ส่วนทางภาคมหาวิทยาลัยจะต้องมีความชัดเจนใน 7 เรื่อง คือ หนึ่ง เรื่องคุณภาพ สอง การช่วยแก้ไขกรณีพิพาท สาม ข้อมูลและข่าวสารที่จะต้องให้สภาการอุดมศึกษารับทราบ สี่ การรับสมัครนักศึกษาซึ่งแน่นอนขึ้นอยู่กับค่าเล่าเรียน ห้า การที่มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการทางด้านการเงินได้อย่างยั่งยืน หกและเจ็ด ให้มหาวิทยาลัยควบคุมจำนวนนักศึกษาได้จากคุณภาพและค่าเล่าเรียน ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยที่จะประสาทปริญญาได้จะต้องทำตามข้อกำหนดทั้งเจ็ดข้อของสภาการอุดมศึกษาแห่งสหราชอาณาจักร ทั้งหมดทุกข้อนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ามหาวิทยาลัยที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบการด้านอุดมศึกษาจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการประกอบการด้านมหาวิทยาลัยว่าจะเลือกทางใด เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่ตอนที่ขอรับใบอนุญาตและใบอนุญาตของภาคเอกชนนั้นมีอายุได้ 6 ปี และจะสามารถขอต่อใบอนุญาตได้ถ้าหากผลประกอบการเป็นไปตามคุณภาพมาตรฐานที่ทางสภาการอุดมศึกษากำหนด

ส่วนข้อมูลที่ทางสภาการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยที่จะต้องใช้เพื่อรายงานผลการดำเนินงานด้านคุณภาพและรับสมัครนักศึกษาและการใช้เงินกู้ยืมเพื่อการอุดมศึกษา จะต้องมียุทธศาสตร์ในการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ และยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ตายตัวเพื่อให้ใช้เหมือนกันทุกมหาวิทยาลัยให้หลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ประเภท “one size fits all” และถ้าหากมหาวิทยาลัยใดไม่รายงานจะต้องถูกลงโทษตามเกณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ด้วยคุณภาพตามเกณฑ์ที่สภาการอุดมศึกษากำหนด ซึ่งจะต้องมีข้อมูลชุดที่สำคัญสำหรับการรายงานให้สภาการอุดมศึกษาได้ทราบเป็นระยะ ๆ จึงมีข้อแนะนำดังนี้

ข้อแนะนำที่เจ็ด ให้สภาการอุดมศึกษาพัฒนากฎระเบียบที่ใช้ร่วมกัน (Common Regulatory Framework) สำหรับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยให้สอดคล้องกับงบประมาณและเงินกู้ยืมสำหรับนักศึกษาโดยให้คำนึงถึงคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก

ข้อแนะนำที่แปด สภาการอุดมศึกษาโดยสำนักงานสถิติการอุดมศึกษาจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษาจะต้องพัฒนายุทธศาสตร์ด้านสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและจะต้องพิทักษ์คุ้มครองประโยชน์ของนักศึกษา.

รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล

อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

boonmark@stammford.edu


ที่มา เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 26 กุมภาพันธ์ 2558