แนะ8ข้อควรปฏิบัติผู้สูงวัยกินอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

แนะ8ข้อควรปฏิบัติผู้สูงวัยกินอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย

Post by brid.ladawan »

แนะ8ข้อควรปฏิบัติผู้สูงวัยกินอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย


นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์

นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงกรณีที่ขนมเข่งติดคอผู้สูงอายุจนขาดอากาศหายใจและเสียชีวิต ว่า เป็นเหตุมาจากการกินขนมเข่งชิ้นใหญ่เกินไปโดยไม่เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน จึงเกิดการติดคอและปิดกั้นหลอดลมจนขาดอากาศหายใจ โดยปกติแล้วขนมเข่งจะมีลักษณะนิ่มแต่เหนียวมาก หากกินชิ้นใหญ่และไม่เคี้ยวให้ละเอียดก็อาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้

"ไม่เพียงแค่ขนมเข่งอย่างเดียวที่ต้องใส่ใจในการกิน อาหารอื่นๆ ก็เช่นกัน หากกินชิ้นใหญ่ หรือเคี้ยวไม่ละเอียดก็มีโอกาสเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพและระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งการกลืนอาหารด้วย เริ่มตั้งแต่ในช่องปาก พบว่าผู้สูงอายุมีอาการปากแห้งการสร้างน้ำลายน้อยลง การที่ไม่มีฟันและกำลังของการบดเคี้ยวลดลง ทำให้ผู้สูงอายุต้องใช้เวลาบดเคี้ยวอาหารนานขึ้น การทำงานของริมฝีปากและลิ้นลดลงทำให้ต้องกลืนอาหารหลายครั้งกว่าปกติ ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร อีกทั้งคอหอยของผู้สูงอายุปิดช้ากว่าวัยหนุ่มสาว ส่งผลให้อาหารอยู่ในคอหอยนานขึ้นทำให้มีโอกาสสำลักอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้สูงอายุจะหยุดหายใจขณะกลืน โดยเริ่มหยุดหายใจตั้งแต่หายใจเข้าทำให้เมื่อกลืนอาหารแล้วต้องรีบหายใจทันที ผู้สูงอายุจึงมีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นทันทีหลังจากกลืนอาหาร จึงทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการสำลักได้ง่ายเช่นกัน"

นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า เพื่อความปลอดภัยควรปฏิบัติ 1.นั่งตัวตรงขณะกินอาหาร และหลังกินเสร็จห้ามนอนทันที 2.กินอาหารช้าๆ อย่างตั้งใจ ให้เวลากับมื้ออาหารอย่างเพียงพอ 3.อย่ากินอาหารขณะเหนื่อยหรือรีบเร่ง ควรพักก่อน 30 นาที

4.อาหารที่กินควรมีขนาดชิ้นเล็กๆ หรือพอดีคำ ไม่ใหญ่เกินไป 5.ลดสิ่งรบกวนขณะกินอาหาร เช่น พูดคุย ดูทีวี 6.กินอาหารคำละ 1 ชนิด 7.อาจกินอาหารสลับกัน เช่น อาหารที่บดเคี้ยว สลับกับอาหารเหลว และ 8.อย่ากินอาหารแห้งเกินไป ควรมีน้ำซอสหรือน้ำซุปช่วยให้เนื้ออาหารชุ่มและนุ่มขึ้น



ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”