ระวัง! การใช้ยาในผู้สูงอายุ

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

ระวัง! การใช้ยาในผู้สูงอายุ

Post by brid.ladawan »

ระวัง! การใช้ยาในผู้สูงอายุ


คอลัมน์ พบอายุรแพทย์
นายแพทย์สราวุฒิ สนธิแก้ว

http://www.matichon.co.th/online/2015/0 ... 36233l.jpg

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยาเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาโรคทางอายุรศาสตร์ ซึ่งบทความนี้ ได้เคยกล่าวถึงไว้ในเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้ป่วยแล้วเมื่อประมาณ 1 ปีก่อน แต่เนื่องจากพบว่าปัญหาการใช้ยายังคงพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ วันนี้จะขอกล่าวถึงอีกครั้ง โดยเน้นหนักเกี่ยวกับปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ

วัยสูงอายุเป็นวัยของความเสื่อม ดังนั้นผู้สูงอายุส่วนมากจะประสบปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วย มากบ้าง น้อยบ้าง ตามปัจจัยของกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งเริ่มมาจากวัยหนุ่มสาว ปัญหาทางสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ จึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของอวัยวะในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกเสื่อม ระบบปัสสาวะผิดปกติ โรคตา โรคระบบการได้ยินและเวียนศีรษะ และโรคมะเร็ง ฯลฯ ผู้ป่วยที่สูงอายุจึงต้องได้รับยาหลายขนานจากแพทย์หลายสาขา จนบางรายอาจต้องรับประทานยามากกว่า 10 ชนิดในแต่ละวัน

ดังนั้น จึงมีโอกาสจะพบปัญหาหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับยา ไม่ว่าการกินยาผิดเวลา กินยาผิดจำนวน ลืมกินยาบางชนิด ยาที่ได้รับเกิดปฏิกิริยาต่อกันทั้งเสริมฤทธิ์กัน ต้านฤทธิ์กัน เพิ่มผลข้างเคียงของยา รวมทั้งกินยาซ้ำชนิดกันโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่รักษาหลายโรคจากแพทย์ผู้เชียวชาญหลายท่านจากหลายโรงพยาบาลต่างกัน เนื่องจากแพทย์แต่ละท่านไม่ทราบว่าผู้ป่วยได้รับยาอะไรบ้าง แม้จะสอบถามจากผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยอาจจะตอบได้ไม่ชัดเจนเท่ากันทุกคน

ความผิดพลาดที่เกิดจากการใช้ยาที่พบได้บ่อยอีกชนิด ก็คือ การกินยาผิด ซึ่งมีทั้งผิดชนิด ผิดขนาด ซึ่งสาเหตเนื่องจากไม่อ่านสลากยา ซึ่งจะบอกชื่อยา และวิธีการกินยาไว้ ผู้ป่วยบางคนอาจอ่านไม่ออก หรืออ่านแล้วไม่ชัด เนื่องจากปัญหาสายตาในผู้สูงอายุ บางท่านไม่อ่าวันที่ 05 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 18:15:09 น.
นสลากยาแต่ใช้ความจำซึ่งในผู้สูงอายุ จะพบปัญหาของความจำที่ไม่สมบูรณ์ได้บ่อย

การนำยาออกจากซองแล้วไม่เก็บรวมไว้ในซองเดิม แต่เก็บปะปนกับยาชนิดอื่น ๆ พบในผู้ป่วยหลายท่านที่แกะเม็ดยาออกจากแผงยาครั้งละจำนวนมาก ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสให้ยาชื้น และเสื่อมคุณภาพได้ง่าย การนำยาออกจากแผงยาทำให้แยกยาบางชนิดออกจากยาอื่นได้ยาก เนื่องจากเม็ดยามีลักษณะคล้ายกัน ถ้าเก็บไว้ในแผงยา จะทราบชื่อยาปนอยู่บนแผงยา ง่ายต่อการแยกยาต่างชนิดออกจากกันได้ง่าย และลดโอกาสในการเพิ่มความชื้นของเม็ดยา

ผู้ป่วยที่ได้รับยาจำนวนครั้งละมาก ๆ โอกาสที่ยาจะเหลือสะสมจำนวนมากถ้าไม่จัดการรับประทานยาตามลำดับเวลาที่ได้รับยามา โอกาสยาที่เหลืออยู่อาจหมดอายุได้ การเก็บยาที่ถูกต้องก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึง เช่น ยาบางชนิดจะต้องเก็บไว้ในซองทึบแสง ซึ่งมักจะบอกไว้บนสลากยา ก็ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หรือยาที่ระบุให้เก็บในตู้เย็น ก็ต้องปฏิบัติตามเช่นกัน และควรเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ไม่ใช่ช่องทำน้ำแข็งหรือที่ช่องเก็บที่ด้านในของประตูตู้เย็น ทั้งนี้เพื่อรักษาคุณภาพของยาไว้ให้ออกฤทธิ์ได้คงเดิม

ผู้ป่วยบางรายก็หยุดยาเองเพราะกลัวว่ากินยาจำนวนมากแล้วเป็นพิษต่อร่างกายที่พบบ่อยว่าผู้ป่วยกลัวมากคือพิษต่อไต ต้องไม่ลืมว่าแพทย์จะเฝ้าระวังอยู่เสมอ ถ้าไตจะเสื่อมก็มักมีสาเหตุจากโรคที่เป็นมากกว่าจากยา บางท่านกินยาแล้วมีอาการผิดปกติ ก็สงสัยว่าจะเป็นผลข้างเคียงจากยา จึงหยุดยาเอง ทั้ง ๆ ที่กินยาพร้อมกันหลายชนิด ถ้ากังวลในทั้ง 2 เรื่องนี้ ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาก่อนจะตัดสินใจหยุดยาเอง

คำแนะนำของการใช้ยาในผู้สูงอายุ

-ควรนำยาที่ได้รับทั้งหมดในช่วงเวลานั้นมาให้แพทย์ทุกท่านดูด้วย เมื่อแพทย์นัด ถ้าเกรงว่าจะต้องเป็นภาระถือยาจำนวนมาก ให้นำเพียงตัวอย่างยาทุกชนิดที่ได้รับพร้อมนับจำนวนเม็ดยาที่เหลืออยู่มาให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาตัวใด จะได้มีตัวอย่างยาให้แพทย์ดูอย่างถูกต้อง การอธิบายให้แพทย์ทราบว่าเป็นยารักษาโรคอะไร รูปร่างลักษณะยาเป็นอย่างไร ก็จะให้แน่ใจในความถูกต้องมากกว่าการที่แพทย์เห็นเม็ดยาด้วยตาตนเองไม่ได้

-อ่านสลากยาทุกครั้งก่อนรับประทานยา ถ้าอ่านไม่ออกหรืออ่านไม่ชัดให้ญาติช่วยดูให้ หรือถ้าอยู่คนเดียว ให้บอกเภสัขกรผู้จ่ายยาให้แนะนำและทำเครื่องหมายให้เข้าใจง่ายทุกครั้ง ก่อนรับยากลับบ้าน

-กรณีมีญาติช่วยดูแล ควรให้ญาติช่วยตรวจสอบจำนวนเม็ดยาที่เหลือ ถ้ามียาบางชนิดเหลือมากกว่ายาตัวอื่นเป็นจำนวนมากผิดปกติ ให้สอบถามวิธีกินยาจากผู้ป่วยว่ากินยาถูกต้องหรือไม่ บางครั้งถ้าไม่แน่ใจ อาจต้องสังเกตุด้วยว่าผู้ป่วยได้รับประทานยาจริงหรือไม่

-ในบางกรณีอาจพบว่า ยาบางชนิดหมดก่อนกำหนด อาจเกิดจากผู้ป่วยกินยาเกินจำนวนที่ระบุไว้บนสลากยา หรือได้รับยามาไม่เพียงพอ ถ้าเป็นกรณีแรกให้ปรับวิธีกินยาให้ถูกต้อง อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 กรณี ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์ก่อนวันนัดหมาย เพื่อไม่ให้ขาดยา ไม่ควรรอจนกว่าจะถึงวันนัดของแพทย์ แม้จะไม่มีอาการผิดปกติก็ตาม


โปรดอย่าลืมว่า มียาดี แต่ใช้ไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้อาการของโรคไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร สวัสดีครับ


ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 05 มกราคม 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”