Page 1 of 1

ยักษ์บันเทิงเกาะติด "ทีวีดิจิทัล" ลุ้น "ราคา" ตั้งต้น ประมูล

Posted: 06 Apr 2013, 11:00
by brid.ladawan
ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


ยักษ์บันเทิงเกาะติด "ทีวีดิจิทัล" ลุ้น "ราคา" ตั้งต้น ประมูลช่องธุรกิจ
« on: November 16, 2012, 02:01:30 pm »

ยักษ์บันเทิงเกาะติด "ทีวีดิจิทัล" ลุ้น "ราคา" ตั้งต้น ประมูลช่องธุรกิจ

ใกล้ เข้ามาทุกขณะสำหรับการเปลี่ยนผ่านระบบการแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินจากแอนะ ล็อกเป็นดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ประกาศไว้ โดยมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เป็น***านในการผลักดัน "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กสท. เปิดเผยว่า ช่องทีวีดิจิทัลของไทยมี 48 ช่อง ประกอบด้วย ช่องบริการสาธารณะ12 ช่อง บริการชุมชน 12 ช่อง ช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง โดยเป็นช่องรายการความละเอียดปกติ (Standard-definition : SDTV) ที่ให้เผยแพร่รายการเป็นการทั่วไปแบบปกติ 20 ช่อง และช่องรายการความละเอียดสูง (High-definition : HDTV) 4 ช่อง

กสท.จะ ใช้วิธีประมูลช่องรายการเฉพาะประเภทธุรกิจเท่านั้น ส่วนช่องรายการอื่น ๆ ใช้การประกวดข้อเสนอ (บิวตี้คอนเทสต์) ซึ่งราคาตั้งต้นประมูลอยู่ระหว่างให้คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ดำเนินการ คาดจะชัดเจนในเดือนธ.ค. 2555 สำหรับการอุดหนุนกล่องรับสัญญาณ (set-top-box) อยู่ระหว่างการศึกษาวิธีที่เหมาะสม

"ไทยเป็นประเทศในกลุ่มเกือบสุด ท้ายที่ยังไม่ได้เปลี่ยนสู่ดิจิทัล แต่การคิดราคาตั้งต้นประมูลทำได้ยาก เพราะไม่มีประเทศใดในโลกใช้วิธีประมูลช่องรายการทีวีดิจิทัล แต่ไทยต้องประมูลเพราะกฎหมายบังคับ ส่วนการเปลี่ยนผ่านจะสำเร็จหรือไม่นั้น อยู่ที่การสนับสนุนของรัฐบาล และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด"

เมื่อ เร็ว ๆ "กสท." จัดประชาพิจารณ์ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการใบอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล โดยหวังว่าจะเสนอที่ประชุม กสทช.พิจารณาพร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเดือน ธ.ค.นี้

สาระสำคัญของร่างประกาศฉบับนี้คือกำหนดเกณฑ์ให้ใบอนุญาต บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล โดยวิธี "บิวตี้คอนเทสต์" และให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตต้องขยายโครงข่ายให้ได้ 50% ของจำนวนครัวเรือนในประเทศไทย ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต และเพิ่มขึ้นเป็น 80% 90% และ 95% ในทุกปีหลังจากนั้น ซึ่ง "กสท." ประเมินว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะเมื่อ 10 กว่าปีก่อน "ไอทีวี" กระจายโครงข่ายได้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในเวลา 20 เดือนเท่านั้น

แต่การก้าวสู่ "ดิจิทัล" ผู้ประกอบการคือตัวแปรสำคัญที่สุด

"ชลา กรณ์ ปัญญาโฉม" ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์การตลาด บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยังไม่ตัดสินใจผลิตรายการบนระบบทีวีดิจิทัลในขณะนี้ เพราะกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของ กสทช.ยังไม่ชัดเจน ทั้งเรื่องหลักการประมูล และการกำหนดโฆษณาภายในช่อง ทำให้ขณะนี้เน้นไปที่การผลิตรายการบนทีวีดาวเทียมมากกว่า แต่การเกิดขึ้นของระบบใหม่เป็นเรื่องสำคัญ โดยเวิร์คพอยท์จะเข้าประมูลในส่วนผู้ให้บริการกิจการโทรทัศน์ ประเภทบริการธุรกิจ

หากการอนุญาตผู้ให้บริการโครงข่ายจบลงยังมีเวลา อีก 4 ปีที่จะตัดสินใจลงทุนบนช่องรายการดังกล่าว โดยเป็นผู้ผลิตรายการมากกว่า เพราะตามกฎเกณฑ์กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตสร้างโครงข่ายต้องทำให้ครอบคลุม ทั่วประเทศ 95% ภายใน 4 ปี

ที่สำคัญคือ "ราคา" ตั้งต้นประมูลใบอนุญาต หวังว่าจะได้ราคาที่เหมาะสมต่อสภาพประเทศ และเอื้อต่อผู้ประกอบการ เพราะไม่เคยมีประเทศใดใช้การประมูล "กสทช." จึงควรคิดวิเคราะห์ และประเมินราคาให้ดี เพื่อจูงใจทุกฝ่ายให้เข้ามาประมูลช่องรายการ และไม่สร้างภาระให้ผู้ประกอบการทุกรายด้วย

"ผมคิดว่า กสท.ทำงานค่อนข้างช้ามาก ทั้ง ๆ ที่ประชุม และรับฟังความคิดเห็นมาหลายครั้งแล้ว แต่ราคายังไม่ออก หลักเกณฑ์การทำรายการบนช่องก็ยังไม่ชัดเจน เราจึงยังไม่สนใจทีวีดิจิทัลสักเท่าไร คอยเฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ มากกว่า ตอนนี้เน้นไปที่การผลิตรายการลงบนทีวีดาวเทียม" นายชลากรณ์กล่าว

ด้าน "ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม" ประธานกรรมการ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวว่า สิ่งที่แกรมมี่แข็งแกร่ง คือคอนเทนต์ ทำให้แนวทางต่อจากนี้ไป คือสร้างคอนเทนต์ใหม่ และเพิ่มมูลค่าให้คอนเทนต์เก่า เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจ นอกจากนี้ ยังเตรียมตัวเข้าร่วมประมูลช่องทีวีดิจิทัลในปีหน้า เพื่อต่อยอดธุรกิจควบคู่ไปกับการทำธุรกิจเพย์ทีวี ถ้า กสทช.เปิดให้ใบอนุญาตประเภทบอกรับสมาชิก หรือเพย์ทีวี ก็พร้อมเดินหน้าเต็มที่ หลังจากการออกใบอนุญาตเพย์ทีวีช้ามาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ทำให้สูญเสียรายได้ทางธุรกิจ ทำให้ยอดขายกล่องจีเอ็มเอ็ม แซท ไม่เป็นไปตามเป้า ที่คาดว่าจะทำได้อยู่ที่ 1.5-1.6 ล้านกล่องในสิ้นปี จากเดิมตั้งเป้าไว้ 2 ล้านกล่อง

"เราเข้าร่วมประมูลช่องทีวีดิจิทัล แน่นอน เพื่อต่อยอดธุรกิจ การมีมีเดียและคอนเทนต์ควบคู่กันไปเป็นโมเดลที่รอคอยมา 15 ปี นั่นหมายถึงมีช่องทางการออกอากาศ ซึ่งถือเป็นอิสรภาพของผู้ผลิตคอนเทนต์"

ขณะ ที่ "เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท กล่าวว่า ในเดือน ธ.ค.นี้ ทาง อสมท.ร่วมกับ กสทช.ทดลองดำเนินการออกอากาศในระบบดิจิทัลทีวี รวมถึงกำลังศึกษาว่ารูปแบบการดำเนินดิจิทัลทีวีของ อสมท.ต้องมีการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมารองรับหรือไม่ อีกทั้งมีเป้าหมายที่จะมี การประมูลช่องดิจิทัลทีวีประมาณ 5 ช่อง เช่น ช่องธุรกิจ ข่าวสาร สารประโยชน์ เป็นต้น

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์