แบงก์กรุงเทพหมุนวงล้ออาเซียน ดึงผู้จัดการ8ประเทศรวมตัว เปิดโ
Posted: 21 Mar 2015, 16:18
แบงก์กรุงเทพหมุนวงล้ออาเซียน ดึงผู้จัดการ8ประเทศรวมตัว เปิดโอกาสธุรกิจลูกค้า
ธนาคารที่มีความกระตือรือร้นผลักดันธุรกิจไทยก้าวออกไปลุยตลาดภูมิภาคมากที่สุดรายหนึ่งในเวลานี้ต้องยกให้"ธนาคารกรุงเทพ" หรือ BBL เพราะมีจัดงานสัมมนา พาลูกค้าไป Visit เยี่ยมชมสาขา และหาลู่ทางธุรกิจในตลาดอาเซียนบ่อยมาก
ล่าสุด ธนาคารกรุงเทพยกทัพผู้จัดการสาขาต่างประเทศ ใน 8 แผ่นดินในอาเซียน ประกอบด้วย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และเมียนมาร์ มาบรรยายและเปิดตัวพร้อมกันในงาน AEC Business Forum ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ ผู้จัดการสาขาใน 8 ประเทศมารวมตัวกัน นับตั้งแต่แบงก์กรุงเทพไปปักธงเปิดสาขาในอาเซียนเป็นแห่งแรกที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2500 เพื่อรองรับ "พลวัตแห่งอาเซียน"
เริ่มจากสาขาในอาเซียนแห่งแรกของ BBL "เจริญลาภ ธรรมาณิชานนท์" ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ สาขาสิงคโปร์ เล่าว่า รายได้หลักของสาขานี้มาจากธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ (เทรดไฟแนนซ์) โดยลูกค้าธุรกิจจะใช้สิงคโปร์เป็น "ศูนย์กลาง" เพื่อรับออร์เดอร์ส่งออก แต่ไม่ใช่เข้าไปลงทุนเพื่อตั้งโรงงานอย่างประเทศอื่น ๆ ดังนั้นกลยุทธ์ของ BBL ในประเทศนี้ จึงทำหน้าที่เป็นฐานเชื่อมโยงลูกค้าในอาเซียนเพื่อไปสู่ประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ โดยปัจจุบันสาขานี้มีลูกค้าในภูมิภาคอาเซียนราว 30% และคาดว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 50%
ส่วนสาขาที่มีอัตราการเติบโตของรายได้สูงสุดในกลุ่ม "ชัยพร ชินะประยูร" หัวหน้าสายงานลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขามาเลเซีย กล่าวว่า ในมาเลเซียมีแบงก์กรุงเทพทั้งสิ้น 5 สาขา ในกัวลาลัมเปอร์ ปีนัง ยะโฮร์บาห์รู มัวร์ และแคลง เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นกว่า 80% ที่เหลือเป็นผู้ประกอบการไทย สำหรับกลยุทธ์ในมาเลเซียปีนี้ ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อราว 10% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยของหลายปีมาแล้ว
เช่นเดียวกับ "ชลิต เตชัสอนันต์" ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป สาขาสาธารณรัฐอินโดนีเซีย บอกว่า การขยายตัวของสินเชื่อในอินโดนีเซียปีนี้น่าจะอยู่ในระดับ 2 หลักเหมือนกับทุกปี และน่าจะเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีรัฐบาลใหม่ที่มีนโยบายเศรษฐกิจในแนวทางที่ชัดเจน ดังนั้น กลยุทธ์ของแบงก์จึงมุ่งเจาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มธุรกิจที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์การเกษตร
ขณะที่ "ดุษฎี เขมะพันธุ์มนัส" ผู้จัดการสาขามะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ยอมรับว่า เนื่องจากแบงก์มีสาขาเดียวในฟิลิปปินส์ ขณะที่ประเทศนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ธนาคารจึงตั้งเป้าหมายขยายสาขาเพิ่มอีก 1 แห่งใน 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการลงทุนและความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ส่วนที่ผ่านมา ธุรกิจสินเชื่อขยายตัวเฉลี่ยปีละ 20-30% และปีนี้ก็น่าจะใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มเป้าหมายของแบงก์ คือ ลูกค้าธุรกิจที่สนใจลงทุนตั้งโรงงานมากกว่าจะจับกลุ่มลูกค้ารายย่อย
ในกลุ่ม "บลูโอเชี่ยน" ดินแดนแห่งการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ อย่างประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) "ธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์" ผู้จัดการทั่วไป สาขาเวียดนาม เล่าว่า ตอนนี้มี 2 สาขาคือที่ฮานอย และโฮจิมินห์ ฐานลูกค้า 30-40% เป็นคนไทย อีก 30% เป็นลูกค้าชาวมาเลเซีย ไต้หวัน และสิงคโปร์ ส่วนลูกค้าท้องถิ่นมี 20% ซึ่งใน 5-10 ปีข้างหน้า ก็ต้องการเพิ่มลูกค้าท้องถิ่นให้มีสัดส่วน 30-40% ส่วนธุรกิจที่น่าสนใจในเวียดนาม คือที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค
ขณะที่ "ชดาพร อุรัจฉัท" ผู้จัดการสาขานครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ตั้งเป้าหมายให้สาขานี้เป็นจุดเชื่อมโยงธุรกิจไทยและลาว ซึ่งมี 5 กลุ่มธุรกิจที่โฟกัส ได้แก่ ค้าปลีก โลจิสติกส์ บริการ โรงงานการผลิตต่าง ๆ และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างและวัสดุ
ส่วนน้องใหม่อีก 2 แห่ง "เยี่ยมศรี อุบลพงษ์" ผู้จัดการสาขาพนมเปญ กัมพูชา สาขาที่เพิ่งเปิดบริการเมื่อ ธ.ค. 2557 บอกว่า แม้ในกัมพูชาจะมีสถาบันการเงินกว่า 40 แห่ง แต่ BBL ก็จะมุ่งเน้นให้บริการลูกค้าชาวไทยที่เข้าไปขยายการลงทุนในกัมพูชาเป็นหลัก โดยให้บริการใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ สินเชื่อ เงินฝาก และโอนเงิน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นโอกาส ได้แก่ เสื้อผ้าสิ่งทอ สาธารณูปโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สุดท้าย "ทศทิศ รอดประเสริฐ" หัวหน้าสำนักงานผู้แทนเมียนมาร์ ซึ่งรอแต่งตัวขึ้นเป็น "สาขา" ในเร็ว ๆ บอกว่า ตลาดเมียนมาร์เป็นตลาดใหม่มาก และยังมีข้อจำกัดในการเข้าไปลงทุน ดังนั้นภาคธุรกิจที่เข้าไปต้องศึกษากฎหมายให้ละเอียด โดยเมียนมาร์มีธุรกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า และพลังงานน้ำ
ดังนั้นการตั้งสาขาของ BBL ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็นการเดินเกมเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ขณะที่เป็นการเสริมแกร่งธุรกิจแบงก์แห่งนี้ที่ปัจจุบันมีรายได้จากต่างประเทศในสัดส่วน 16-18% จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ณ สิ้นปี 2557 ที่ 2.76 ล้านล้านบาท
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 21 มี.ค. 2558
ธนาคารที่มีความกระตือรือร้นผลักดันธุรกิจไทยก้าวออกไปลุยตลาดภูมิภาคมากที่สุดรายหนึ่งในเวลานี้ต้องยกให้"ธนาคารกรุงเทพ" หรือ BBL เพราะมีจัดงานสัมมนา พาลูกค้าไป Visit เยี่ยมชมสาขา และหาลู่ทางธุรกิจในตลาดอาเซียนบ่อยมาก
ล่าสุด ธนาคารกรุงเทพยกทัพผู้จัดการสาขาต่างประเทศ ใน 8 แผ่นดินในอาเซียน ประกอบด้วย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และเมียนมาร์ มาบรรยายและเปิดตัวพร้อมกันในงาน AEC Business Forum ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ ผู้จัดการสาขาใน 8 ประเทศมารวมตัวกัน นับตั้งแต่แบงก์กรุงเทพไปปักธงเปิดสาขาในอาเซียนเป็นแห่งแรกที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2500 เพื่อรองรับ "พลวัตแห่งอาเซียน"
เริ่มจากสาขาในอาเซียนแห่งแรกของ BBL "เจริญลาภ ธรรมาณิชานนท์" ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ สาขาสิงคโปร์ เล่าว่า รายได้หลักของสาขานี้มาจากธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ (เทรดไฟแนนซ์) โดยลูกค้าธุรกิจจะใช้สิงคโปร์เป็น "ศูนย์กลาง" เพื่อรับออร์เดอร์ส่งออก แต่ไม่ใช่เข้าไปลงทุนเพื่อตั้งโรงงานอย่างประเทศอื่น ๆ ดังนั้นกลยุทธ์ของ BBL ในประเทศนี้ จึงทำหน้าที่เป็นฐานเชื่อมโยงลูกค้าในอาเซียนเพื่อไปสู่ประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ โดยปัจจุบันสาขานี้มีลูกค้าในภูมิภาคอาเซียนราว 30% และคาดว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 50%
ส่วนสาขาที่มีอัตราการเติบโตของรายได้สูงสุดในกลุ่ม "ชัยพร ชินะประยูร" หัวหน้าสายงานลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขามาเลเซีย กล่าวว่า ในมาเลเซียมีแบงก์กรุงเทพทั้งสิ้น 5 สาขา ในกัวลาลัมเปอร์ ปีนัง ยะโฮร์บาห์รู มัวร์ และแคลง เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นกว่า 80% ที่เหลือเป็นผู้ประกอบการไทย สำหรับกลยุทธ์ในมาเลเซียปีนี้ ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อราว 10% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยของหลายปีมาแล้ว
เช่นเดียวกับ "ชลิต เตชัสอนันต์" ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป สาขาสาธารณรัฐอินโดนีเซีย บอกว่า การขยายตัวของสินเชื่อในอินโดนีเซียปีนี้น่าจะอยู่ในระดับ 2 หลักเหมือนกับทุกปี และน่าจะเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีรัฐบาลใหม่ที่มีนโยบายเศรษฐกิจในแนวทางที่ชัดเจน ดังนั้น กลยุทธ์ของแบงก์จึงมุ่งเจาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มธุรกิจที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์การเกษตร
ขณะที่ "ดุษฎี เขมะพันธุ์มนัส" ผู้จัดการสาขามะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ยอมรับว่า เนื่องจากแบงก์มีสาขาเดียวในฟิลิปปินส์ ขณะที่ประเทศนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ธนาคารจึงตั้งเป้าหมายขยายสาขาเพิ่มอีก 1 แห่งใน 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการลงทุนและความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ส่วนที่ผ่านมา ธุรกิจสินเชื่อขยายตัวเฉลี่ยปีละ 20-30% และปีนี้ก็น่าจะใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มเป้าหมายของแบงก์ คือ ลูกค้าธุรกิจที่สนใจลงทุนตั้งโรงงานมากกว่าจะจับกลุ่มลูกค้ารายย่อย
ในกลุ่ม "บลูโอเชี่ยน" ดินแดนแห่งการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ อย่างประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) "ธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์" ผู้จัดการทั่วไป สาขาเวียดนาม เล่าว่า ตอนนี้มี 2 สาขาคือที่ฮานอย และโฮจิมินห์ ฐานลูกค้า 30-40% เป็นคนไทย อีก 30% เป็นลูกค้าชาวมาเลเซีย ไต้หวัน และสิงคโปร์ ส่วนลูกค้าท้องถิ่นมี 20% ซึ่งใน 5-10 ปีข้างหน้า ก็ต้องการเพิ่มลูกค้าท้องถิ่นให้มีสัดส่วน 30-40% ส่วนธุรกิจที่น่าสนใจในเวียดนาม คือที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค
ขณะที่ "ชดาพร อุรัจฉัท" ผู้จัดการสาขานครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ตั้งเป้าหมายให้สาขานี้เป็นจุดเชื่อมโยงธุรกิจไทยและลาว ซึ่งมี 5 กลุ่มธุรกิจที่โฟกัส ได้แก่ ค้าปลีก โลจิสติกส์ บริการ โรงงานการผลิตต่าง ๆ และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างและวัสดุ
ส่วนน้องใหม่อีก 2 แห่ง "เยี่ยมศรี อุบลพงษ์" ผู้จัดการสาขาพนมเปญ กัมพูชา สาขาที่เพิ่งเปิดบริการเมื่อ ธ.ค. 2557 บอกว่า แม้ในกัมพูชาจะมีสถาบันการเงินกว่า 40 แห่ง แต่ BBL ก็จะมุ่งเน้นให้บริการลูกค้าชาวไทยที่เข้าไปขยายการลงทุนในกัมพูชาเป็นหลัก โดยให้บริการใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ สินเชื่อ เงินฝาก และโอนเงิน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นโอกาส ได้แก่ เสื้อผ้าสิ่งทอ สาธารณูปโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สุดท้าย "ทศทิศ รอดประเสริฐ" หัวหน้าสำนักงานผู้แทนเมียนมาร์ ซึ่งรอแต่งตัวขึ้นเป็น "สาขา" ในเร็ว ๆ บอกว่า ตลาดเมียนมาร์เป็นตลาดใหม่มาก และยังมีข้อจำกัดในการเข้าไปลงทุน ดังนั้นภาคธุรกิจที่เข้าไปต้องศึกษากฎหมายให้ละเอียด โดยเมียนมาร์มีธุรกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า และพลังงานน้ำ
ดังนั้นการตั้งสาขาของ BBL ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็นการเดินเกมเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ขณะที่เป็นการเสริมแกร่งธุรกิจแบงก์แห่งนี้ที่ปัจจุบันมีรายได้จากต่างประเทศในสัดส่วน 16-18% จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ณ สิ้นปี 2557 ที่ 2.76 ล้านล้านบาท
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 21 มี.ค. 2558