สับนโยบายรัฐทำเกษตรอ่อนแอ
Posted: 23 Mar 2015, 10:13
สับนโยบายรัฐทำเกษตรอ่อนแอ
ทีดีอาร์ไอรับ 20ปี รัฐอัดเงินปีละ1ล้านล้านไม่ช่วยอะไรดีขึ้น แนะรัฐเลิกอุ้มเกษตรกรซ้ำซากเพราะเห็นว่าอ่อนแอ หาทางส่งเสริมใหม่เหมือนภาคอุตสาหกรรม
นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการกิตติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า รัฐบาล นักการเมือง และนักวิชาการต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดที่มองว่าภาคเกษตรของไทยอ่อนแอ และเป็นภาคที่ต้องได้รับการส่งเสริมด้วยการอุดหนุนและชดเชยอยู่ตลอดเวลา เพราะปัจจุบันภาคเกษตรของไทยมีความเข้มแข็งในระดับหนึ่งแล้วดังนั้นหากจะ กำหนดแนวทางในการการแก้ปัญหาภาคเกษตรทั้งระบบ ควรคิดเฉพาะการกำหนดนโยบายที่เน้นสร้างความสามารถในการแข่งขันเหมือนกับนโยบายที่ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้
“การพัฒนาของภาคเกษตรไทยในอดีตมีการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนจะมีแผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 มานับ 100 ปี แต่ในช่วง 10 – 20 ปี ที่ผ่านมา นโยบายในภาคเกษตรกลับเปลี่ยนแปลงทำให้ภาคเกษตรอ่อนแอขึ้น โดยเป็นนโยบายที่ใช้ไปกับการอุดหนุนและการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งแต่ละปีมีการให้งบประมาณและสินเชื่อในการอุดหนุนภาคเกษตรสูงถึง 1 ล้านล้านบาท ขณะที่งบประมาณในการพัฒนาและปรับปรุงการชลประทานมีงบประมาณปีละ 30,000 ล้านบาทเศษเท่านั้น ซึ่งแนวนโยบายแบบนี้ทำให้ภาคเกษตรอ่อนแอ ถือว่าเป็นนโยบายที่ผิดพลาด”
ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 23 มีนาคม 2558
ทีดีอาร์ไอรับ 20ปี รัฐอัดเงินปีละ1ล้านล้านไม่ช่วยอะไรดีขึ้น แนะรัฐเลิกอุ้มเกษตรกรซ้ำซากเพราะเห็นว่าอ่อนแอ หาทางส่งเสริมใหม่เหมือนภาคอุตสาหกรรม
นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการกิตติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า รัฐบาล นักการเมือง และนักวิชาการต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดที่มองว่าภาคเกษตรของไทยอ่อนแอ และเป็นภาคที่ต้องได้รับการส่งเสริมด้วยการอุดหนุนและชดเชยอยู่ตลอดเวลา เพราะปัจจุบันภาคเกษตรของไทยมีความเข้มแข็งในระดับหนึ่งแล้วดังนั้นหากจะ กำหนดแนวทางในการการแก้ปัญหาภาคเกษตรทั้งระบบ ควรคิดเฉพาะการกำหนดนโยบายที่เน้นสร้างความสามารถในการแข่งขันเหมือนกับนโยบายที่ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้
“การพัฒนาของภาคเกษตรไทยในอดีตมีการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนจะมีแผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 มานับ 100 ปี แต่ในช่วง 10 – 20 ปี ที่ผ่านมา นโยบายในภาคเกษตรกลับเปลี่ยนแปลงทำให้ภาคเกษตรอ่อนแอขึ้น โดยเป็นนโยบายที่ใช้ไปกับการอุดหนุนและการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งแต่ละปีมีการให้งบประมาณและสินเชื่อในการอุดหนุนภาคเกษตรสูงถึง 1 ล้านล้านบาท ขณะที่งบประมาณในการพัฒนาและปรับปรุงการชลประทานมีงบประมาณปีละ 30,000 ล้านบาทเศษเท่านั้น ซึ่งแนวนโยบายแบบนี้ทำให้ภาคเกษตรอ่อนแอ ถือว่าเป็นนโยบายที่ผิดพลาด”
ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 23 มีนาคม 2558