อันตรายเงียบระหว่างนอนหลับ รู้จักกับโรค Sleep Apnea
Posted: 23 Mar 2015, 14:15
อันตรายเงียบระหว่างนอนหลับ รู้จักกับโรค Sleep Apnea
การนอนหลับ คือ วีถีชีวิตหนึ่ง ที่คนเราทุกคนควรต้องทำ อันเนื่องมาจากการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่า การนอนหลับคือการพักผ่อนชั้นดีที่จะช่วยให้เรา สามารถมีพละกำลังและพร้อมที่จะสู้ใหม่ ในวันต่อไป ซึ่งการนอนที่เต็มอิ่มย่อมที่จะส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสได้ แม้ว่าจะนอนบนเตียงอันนุ่ม หรือ นอนบนพื้นที่ราบเรียบ ก็ตามที
แต่ในขณะเดียวกัน หากมีอาการหลับๆ ตื่นๆ เข้ามาผสมด้วยแล้ว ซึ่งบางครั้ง อาจจะเป็นไปได้ว่า คงมีอาการทางอารมณ์อยู่บ้าง ทั้งตื่นเต้นก็ดี ความเครียดก็ดี หรือ อารมณ์ต่างๆ ก็คงจะพอเข้าใจ แต่ถ้าไม่มีภาวะอารมณ์มาเกี่ยวข้องและมีภาวะ 'หยุดหายใจขณะนอน' ล่ะ อาการแบบนี้น่าจะเป็นสัญญาณของโรค 'Sleep Apnea' หรือถ้าจะให้เรียกง่ายๆ ก็คือ การง่วง นอนไม่เต็มอิ่ม และ นอนกรน นั่นเอง
อันตรายเงียบระหว่างนอนหลับ รู้จักกับโรค Sleep Apnea
เครดิตภาพ : purrrchase.hk
ภาวะนี้ ย่อมส่งผลต่อร่างกายอย่างเห็นได้ชัด เพราะ จะทำให้ บุคลลที่ประสบภาวะโรคนี้ มักจะมีอาการของการนอนไม่พอ อันเนื่องมาจาก ต้องมักจะมาตื่นในระหว่างการนอนหลับอยู่เสมอๆ และทำให้การใช้ชีวิตของคนที่เป็นโรคนี้ ยุ่งยากกว่าคนปกติทั่วไป เช่น ความสามารถในการจดจำและสาธิลดลง หรือ คนที่ต้องใช้ยานพาหนะ อาจจะมีอาการง่วงหลับขณะขับรถ เป็นต้น
ฉะนั้นแล้ว เรามาทำความรู้จักคร่าวๆ ถึงอาการ “Sleep Apnea” กันดีกว่า ว่าเป็นอย่างไร รวมถึงวิธีการคร่าวๆ ที่จะช่วยคลายให้โรคนี้ทุเลาลงไปไม่มากก็น้อย
อาการของโรค “Sleep Apnea”
อาการของโรคนี้จะมีการหยุดหายใจเป็นระยะๆหรือมีการหายใจตื้นๆสลับกับการหายใจที่เป็นปกติในระหว่างที่นอนหลับ ซึ่งช่วงการหยุดหายใจดังกล่าวอาจเป็นเพียงไม่กี่วินาทีหรืออาจยาวเป็นนาทีก็ได้ โดยมักเกิด 5-30 ครั้งหรือมากกว่าในเวลา 1 ชั่วโมง ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่ และมีอาการง่วงมากผิดปกติในช่วงระหว่างวันตามมา
สาเหตุแห่งโรค
เกิดมาจากคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทางเดินหายใจ การหนาตัวของเนื้อเยื่อผนังคอในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาก การโตของต่อมทอนซิลในเด็ก หรือภาวะเนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งการที่อากาศต้องเดินทางผ่านทางเดินหายใจที่แคบลงสามารถก่อให้เกิดเสียงกรนขึ้นได้ มีสาเหตุมาจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทางเดินหายใจ การหนาตัวของเนื้อเยื่อผนังคอในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาก การโตของต่อมทอนซิลในเด็ก หรือภาวะเนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งการที่อากาศต้องเดินทางผ่านทางเดินหายใจที่แคบลงสามารถก่อให้เกิดเสียงกรนขึ้นได้
ควรทำอย่างไร หากเป็น “Sleep Apnea”
หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ทางที่ดีควรจะต้องรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเร็ว เพื่อไม่ให้อาการลุกลามไปมากกว่าที่เป็นอยู่
สำหรับ พฤติกรรมควร ลด ละ เลิก ควรทำดังนี้
- หลีกเลี่ยง หรือ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
- ไม่ควรใช้ยานอนหลับ หรือ ยากล่อมประสาทบางชนิด เพื่อเป็นตัวช่วยให้หลับ โดยเด็ดขาด
- หากมีสภาวะน้ำหนักเกิน ถึงเวลาที่จะลดและควบคุมอย่างจริงจังเสียที
- ถ้าท่านอนที่นอนอยู่รู้สึกชินและปกติ แนะนำให้ลองเปลี่ยนท่า เป็นนอนตะแคงดู เผื่อช่วยให้อาการทุเลาลง
- สำหรับผู้ที่ติดบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่ไปเลยก็ดีนะ
แต่ถ้ายังไม่ได้ผล คงต้องใช้เครื่องมือช่วย คือ mouthpiece ช่วยปรับให้กรามล่างและลิ้นอยู่ในลักษณะที่ไม่ปิดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ และ continuous positive airway pressure (CPAP) ลักษณะเป็นหน้ากากที่จะให้ลมที่ความดันเป็นบวกออกมา ทำให้ทางเดินหายใจไม่เกิดการอุดกั้น
และถ้าเครื่องมือยังไม่ช่วยแล้ว การผ่าตัด น่าจะเป็นการช่วยในหนทางท้ายสุด ซึ่วงต้องอยู่ในดุลพินิจและการดูแลของทางแพทย์ว่า จะให้การรักษาไปในทิศทางใด
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 22 มีนาคม 2558
การนอนหลับ คือ วีถีชีวิตหนึ่ง ที่คนเราทุกคนควรต้องทำ อันเนื่องมาจากการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่า การนอนหลับคือการพักผ่อนชั้นดีที่จะช่วยให้เรา สามารถมีพละกำลังและพร้อมที่จะสู้ใหม่ ในวันต่อไป ซึ่งการนอนที่เต็มอิ่มย่อมที่จะส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสได้ แม้ว่าจะนอนบนเตียงอันนุ่ม หรือ นอนบนพื้นที่ราบเรียบ ก็ตามที
แต่ในขณะเดียวกัน หากมีอาการหลับๆ ตื่นๆ เข้ามาผสมด้วยแล้ว ซึ่งบางครั้ง อาจจะเป็นไปได้ว่า คงมีอาการทางอารมณ์อยู่บ้าง ทั้งตื่นเต้นก็ดี ความเครียดก็ดี หรือ อารมณ์ต่างๆ ก็คงจะพอเข้าใจ แต่ถ้าไม่มีภาวะอารมณ์มาเกี่ยวข้องและมีภาวะ 'หยุดหายใจขณะนอน' ล่ะ อาการแบบนี้น่าจะเป็นสัญญาณของโรค 'Sleep Apnea' หรือถ้าจะให้เรียกง่ายๆ ก็คือ การง่วง นอนไม่เต็มอิ่ม และ นอนกรน นั่นเอง
อันตรายเงียบระหว่างนอนหลับ รู้จักกับโรค Sleep Apnea
เครดิตภาพ : purrrchase.hk
ภาวะนี้ ย่อมส่งผลต่อร่างกายอย่างเห็นได้ชัด เพราะ จะทำให้ บุคลลที่ประสบภาวะโรคนี้ มักจะมีอาการของการนอนไม่พอ อันเนื่องมาจาก ต้องมักจะมาตื่นในระหว่างการนอนหลับอยู่เสมอๆ และทำให้การใช้ชีวิตของคนที่เป็นโรคนี้ ยุ่งยากกว่าคนปกติทั่วไป เช่น ความสามารถในการจดจำและสาธิลดลง หรือ คนที่ต้องใช้ยานพาหนะ อาจจะมีอาการง่วงหลับขณะขับรถ เป็นต้น
ฉะนั้นแล้ว เรามาทำความรู้จักคร่าวๆ ถึงอาการ “Sleep Apnea” กันดีกว่า ว่าเป็นอย่างไร รวมถึงวิธีการคร่าวๆ ที่จะช่วยคลายให้โรคนี้ทุเลาลงไปไม่มากก็น้อย
อาการของโรค “Sleep Apnea”
อาการของโรคนี้จะมีการหยุดหายใจเป็นระยะๆหรือมีการหายใจตื้นๆสลับกับการหายใจที่เป็นปกติในระหว่างที่นอนหลับ ซึ่งช่วงการหยุดหายใจดังกล่าวอาจเป็นเพียงไม่กี่วินาทีหรืออาจยาวเป็นนาทีก็ได้ โดยมักเกิด 5-30 ครั้งหรือมากกว่าในเวลา 1 ชั่วโมง ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่ และมีอาการง่วงมากผิดปกติในช่วงระหว่างวันตามมา
สาเหตุแห่งโรค
เกิดมาจากคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทางเดินหายใจ การหนาตัวของเนื้อเยื่อผนังคอในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาก การโตของต่อมทอนซิลในเด็ก หรือภาวะเนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งการที่อากาศต้องเดินทางผ่านทางเดินหายใจที่แคบลงสามารถก่อให้เกิดเสียงกรนขึ้นได้ มีสาเหตุมาจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทางเดินหายใจ การหนาตัวของเนื้อเยื่อผนังคอในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาก การโตของต่อมทอนซิลในเด็ก หรือภาวะเนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งการที่อากาศต้องเดินทางผ่านทางเดินหายใจที่แคบลงสามารถก่อให้เกิดเสียงกรนขึ้นได้
ควรทำอย่างไร หากเป็น “Sleep Apnea”
หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ทางที่ดีควรจะต้องรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเร็ว เพื่อไม่ให้อาการลุกลามไปมากกว่าที่เป็นอยู่
สำหรับ พฤติกรรมควร ลด ละ เลิก ควรทำดังนี้
- หลีกเลี่ยง หรือ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
- ไม่ควรใช้ยานอนหลับ หรือ ยากล่อมประสาทบางชนิด เพื่อเป็นตัวช่วยให้หลับ โดยเด็ดขาด
- หากมีสภาวะน้ำหนักเกิน ถึงเวลาที่จะลดและควบคุมอย่างจริงจังเสียที
- ถ้าท่านอนที่นอนอยู่รู้สึกชินและปกติ แนะนำให้ลองเปลี่ยนท่า เป็นนอนตะแคงดู เผื่อช่วยให้อาการทุเลาลง
- สำหรับผู้ที่ติดบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่ไปเลยก็ดีนะ
แต่ถ้ายังไม่ได้ผล คงต้องใช้เครื่องมือช่วย คือ mouthpiece ช่วยปรับให้กรามล่างและลิ้นอยู่ในลักษณะที่ไม่ปิดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ และ continuous positive airway pressure (CPAP) ลักษณะเป็นหน้ากากที่จะให้ลมที่ความดันเป็นบวกออกมา ทำให้ทางเดินหายใจไม่เกิดการอุดกั้น
และถ้าเครื่องมือยังไม่ช่วยแล้ว การผ่าตัด น่าจะเป็นการช่วยในหนทางท้ายสุด ซึ่วงต้องอยู่ในดุลพินิจและการดูแลของทางแพทย์ว่า จะให้การรักษาไปในทิศทางใด
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 22 มีนาคม 2558