กสอ.เผยแผนส่งเสริมนวัตกรรม SME ทดแทนนำเข้า รองรับ AEC
Posted: 23 Mar 2015, 14:29
กสอ.เผยแผนส่งเสริมนวัตกรรม SME ทดแทนนำเข้า รองรับ AEC
กสอ.เผยแผนส่งเสริมนวัตกรรม SME ทดแทนนำเข้า รองรับ AEC
รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผย แนวทางการส่งเสริมนวัตกรรมเป้าหมายมุ่งเน้นผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า โดย ร่วมกับสถาบันวิชาการทั่วประเทศ นำผลงานวิจัยต่างๆ มาสร้างนวัตกรรมใหม่ ชี้แผนปี 2559 พุ่งเป้าไปที่นวัตกรรมใหม่ รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยว่า ในส่วนของแนวทางการสร้างนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เป้าหมายหลักก็เพื่อผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และจะต้องเป็นนวัตกรรมที่ขายได้ โดยทาง กสอ.ได้ร่วมกับ สถาบันวิชาการทั่วประเทศ ในการนำผลงานวิจัยต่างๆที่ประสบความสำเร็จแล้ว มาสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับผู้ผลิตกลุ่มเอสเอ็มอี
โดยจะเริ่มจากการประชุมโฟกัสกรุ๊ปหรือการจัดกลุ่มพูดคุยในทุกปีก่อนปีงบประมาณ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่างๆทั่วประเทศว่า ต้องการให้ช่วยเหลือนวัตกรรมด้านใด เมื่อได้ข้อมูลจากผู้ประกอบการแล้ว ก็จะประสานงานไปยังเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ เข้ามาประสานงานกับผู้ผลิต เพื่อผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ๆที่ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการแบ่งปันค่าตอบแทนให้กับมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าของงานวิจัย ซึ่งตั้งแต่เริ่มโครงการมา 5 ปี มีนวัตกรรมใหม่เฉลี่ยปีละ 50 ผลิตภัณฑ์
“ในปี 2558 นี้มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น เช่น มหาวิทยาลัยเกษตร ได้เข้ามาร่วมกับผู้ผลิตถ่านไม้ สร้างนวัตกรรมใหม่ ผลิตถ่านไม้ไร้ควัน ซึ่งผู้นำเข้าจากญี่ปุ่นได้เข้ามาขอซื้อทั้งหมด จนผลิตไม่ทัน ต้องเร่งขยายโรงงาน และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เป็น 100% นอกจากนี้เป็นนวัตกรรมการผลิตรองเท้าเพื่อสุขภาพ การผลิตสาหร่ายในจ.เชียงใหม่ เพื่อนำมาผลิตวัตถุดิบในเครื่องสำอาง ทดแทนการนำเข้า เป็นต้น สามารถสร้างความเข็มแข็งให้กับเอสเอ็มอีในระยะยาว”นายกอบชัย กล่าว
ส่วนในปีงบประมาณ 2559 จะเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อผลิตสินค้ารองรับตลาดอาเซียน โดยในสัปดาห์หน้า อธิบดี กสอ.จะส่งหนังสือไปยังสถาบันวิจัยต่างๆทั่วประเทศ ให้คัดเลือกผลงานวิจัยนวัตกรรมที่โดดเด่น 5 เรื่อง ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ ส่งเข้ามาที่ กสอ.ภายในเดือนเมษายน 2558 จากนั้นก็จะประชุมโฟกัสกรุ๊ปกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกภาคในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2558 เพื่อสำรวจว่าผู้ประกอบการสนใจงานวิจัยชิ้นใดบ้าง จากนั้นก็จะจับคู่ความร่วมมือ เพื่อผลิตเป็นสินค้าต่อไป
นายอนุชิต นาคกล่อม ผู้จัดการด้านการตลาด บริษัท เซ็นเซอร์นิกส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้วิจัยออกแบบและผลิตเครื่องจักร เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยจะรับโจทย์จากลูกค้าว่าต้องการเครื่องจักรอัตโนมัติผลิตสินค้าชนิดใด จากนั้นก็จะออกแบบและผลิตส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทข้ามชาติหลายรายว่าจ้างให้ผลิตเครื่องจักรประกอบอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ และชิ้นส่วนนาฬิกา เป็นต้น โดยลิขสิทธิ์การผลิตจะเป็นของบริษัทผู้ว่าจ้าง
ทั้งนี้บริษัทได้ร่วมกับ กสอ.และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กระจายเทคโนโลยีไปยังพันธมิตรธุรกิจผลิตเครื่องจักร ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งต่างจากการผลิตให้กับบริษัทรายใหญ่ที่มีอำนาจต่อรองมากกว่า โดยการร่วมกับพันธมิตรที่เป็นเอสเอ็มอีจะทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว และยังทำให้เอสเอ็มอีไทยมีความเข้มแข็งขึ้น
นอกจากนี้ได้เริ่มจดสิทธิบัตรนวัตรกรรมของตัวเอง รวมทั้งได้เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจากเดิมที่ทั้งวิจัย ออกแบบและผลิตเครื่องจักรเอง เป็นการนำผลวิจัยและออกแบบส่งไปให้พันธมิตรทางธุรกิจเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรส่งออก ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 23 มีนาคม 2558
กสอ.เผยแผนส่งเสริมนวัตกรรม SME ทดแทนนำเข้า รองรับ AEC
รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผย แนวทางการส่งเสริมนวัตกรรมเป้าหมายมุ่งเน้นผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า โดย ร่วมกับสถาบันวิชาการทั่วประเทศ นำผลงานวิจัยต่างๆ มาสร้างนวัตกรรมใหม่ ชี้แผนปี 2559 พุ่งเป้าไปที่นวัตกรรมใหม่ รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยว่า ในส่วนของแนวทางการสร้างนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เป้าหมายหลักก็เพื่อผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และจะต้องเป็นนวัตกรรมที่ขายได้ โดยทาง กสอ.ได้ร่วมกับ สถาบันวิชาการทั่วประเทศ ในการนำผลงานวิจัยต่างๆที่ประสบความสำเร็จแล้ว มาสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับผู้ผลิตกลุ่มเอสเอ็มอี
โดยจะเริ่มจากการประชุมโฟกัสกรุ๊ปหรือการจัดกลุ่มพูดคุยในทุกปีก่อนปีงบประมาณ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่างๆทั่วประเทศว่า ต้องการให้ช่วยเหลือนวัตกรรมด้านใด เมื่อได้ข้อมูลจากผู้ประกอบการแล้ว ก็จะประสานงานไปยังเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ เข้ามาประสานงานกับผู้ผลิต เพื่อผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ๆที่ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการแบ่งปันค่าตอบแทนให้กับมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าของงานวิจัย ซึ่งตั้งแต่เริ่มโครงการมา 5 ปี มีนวัตกรรมใหม่เฉลี่ยปีละ 50 ผลิตภัณฑ์
“ในปี 2558 นี้มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น เช่น มหาวิทยาลัยเกษตร ได้เข้ามาร่วมกับผู้ผลิตถ่านไม้ สร้างนวัตกรรมใหม่ ผลิตถ่านไม้ไร้ควัน ซึ่งผู้นำเข้าจากญี่ปุ่นได้เข้ามาขอซื้อทั้งหมด จนผลิตไม่ทัน ต้องเร่งขยายโรงงาน และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เป็น 100% นอกจากนี้เป็นนวัตกรรมการผลิตรองเท้าเพื่อสุขภาพ การผลิตสาหร่ายในจ.เชียงใหม่ เพื่อนำมาผลิตวัตถุดิบในเครื่องสำอาง ทดแทนการนำเข้า เป็นต้น สามารถสร้างความเข็มแข็งให้กับเอสเอ็มอีในระยะยาว”นายกอบชัย กล่าว
ส่วนในปีงบประมาณ 2559 จะเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อผลิตสินค้ารองรับตลาดอาเซียน โดยในสัปดาห์หน้า อธิบดี กสอ.จะส่งหนังสือไปยังสถาบันวิจัยต่างๆทั่วประเทศ ให้คัดเลือกผลงานวิจัยนวัตกรรมที่โดดเด่น 5 เรื่อง ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ ส่งเข้ามาที่ กสอ.ภายในเดือนเมษายน 2558 จากนั้นก็จะประชุมโฟกัสกรุ๊ปกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกภาคในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2558 เพื่อสำรวจว่าผู้ประกอบการสนใจงานวิจัยชิ้นใดบ้าง จากนั้นก็จะจับคู่ความร่วมมือ เพื่อผลิตเป็นสินค้าต่อไป
นายอนุชิต นาคกล่อม ผู้จัดการด้านการตลาด บริษัท เซ็นเซอร์นิกส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้วิจัยออกแบบและผลิตเครื่องจักร เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยจะรับโจทย์จากลูกค้าว่าต้องการเครื่องจักรอัตโนมัติผลิตสินค้าชนิดใด จากนั้นก็จะออกแบบและผลิตส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทข้ามชาติหลายรายว่าจ้างให้ผลิตเครื่องจักรประกอบอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ และชิ้นส่วนนาฬิกา เป็นต้น โดยลิขสิทธิ์การผลิตจะเป็นของบริษัทผู้ว่าจ้าง
ทั้งนี้บริษัทได้ร่วมกับ กสอ.และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กระจายเทคโนโลยีไปยังพันธมิตรธุรกิจผลิตเครื่องจักร ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งต่างจากการผลิตให้กับบริษัทรายใหญ่ที่มีอำนาจต่อรองมากกว่า โดยการร่วมกับพันธมิตรที่เป็นเอสเอ็มอีจะทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว และยังทำให้เอสเอ็มอีไทยมีความเข้มแข็งขึ้น
นอกจากนี้ได้เริ่มจดสิทธิบัตรนวัตรกรรมของตัวเอง รวมทั้งได้เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจากเดิมที่ทั้งวิจัย ออกแบบและผลิตเครื่องจักรเอง เป็นการนำผลวิจัยและออกแบบส่งไปให้พันธมิตรทางธุรกิจเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรส่งออก ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 23 มีนาคม 2558