ลองดีระบบป้องกันฆ่าตัวตาย เฟซบุ๊กส่งตำรวจไปรับถึงที่
Posted: 23 Mar 2015, 15:19
ลองดีระบบป้องกันฆ่าตัวตาย เฟซบุ๊กส่งตำรวจไปรับถึงที่
ลองดีระบบป้องกันฆ่าตัวตาย เฟซบุ๊กส่งตำรวจไปรับถึงที่
เข้มของจริง! มาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายในเฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมออนไลน์แผลงฤทธิ์ หลังมีชายวัย 48 ปี อยากลองดีด้วยการโพสต์ข้อความว่าจะฆ่าตัวตาย สุดท้ายถูกจับกุม และส่งตัวเข้าสถาบันด้านจิตวิทยา 3 วัน
Shane Tusch วัย 48 ปี คือผู้ที่กล้าลองดีมาตรการของเฟซบุ๊ก โดยเขาทำงานเป็นช่างไฟฟ้าพาร์ตไทม์ในซานมาทีโอ แคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันแต่งงานแล้ว แถมมีบุตรถึง 2 คน ซึ่งเขาให้เหตุผลในการโพสต์ครั้งนี้ว่า ต้องการทดสอบโปรแกรมการป้องกันการฆ่าตัวตายแบบใหม่ของเฟซบุ๊กนั่นเอง
สำหรับโพสต์ของ Tusch นั้นระบุว่า เขาจะแขวนคอตัวเองที่สะพานโกลเดนเกทต์ และมีผู้มาพบข้อความนี้เข้าก่อนจะแจ้งตำรวจให้ไปจับกุมเขาในที่สุด ซึ่งทางเฟซบุ๊กก็ได้ล็อกแอ็กเคานต์ของชายคนนี้ไปแล้วเรียบร้อย
ระบบใหม่เข้มเกินไป?
มาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบใหม่ที่เฟซบุ๊กเริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นั้น ได้ให้สิทธิแก่ผู้อ่านในการใส่เครื่องหมายพิเศษลงในโพสต์ของข้อความที่ส่อไปว่าจะเกิดการฆ่าตัวตายได้ เพื่อเฟซบุ๊กจะได้ตรวจสอบข้อความดังกล่าว ก่อนจะส่งทีมงานที่ได้รับการอบรมไปให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่โพสต์ข้อความ
รูปแบบการช่วยเหลือนั้น ทางเฟซบุ๊กจะติดต่อเพื่อเสนอความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งานเมื่อพวกเขาล็อกอินเข้ามาในระบบอีกครั้ง หรือหากเฟซบุ๊กพิจารณาแล้วว่า การฆ่าตัวตายอาจำลังเกิดขึ้น เฟซบุ๊กก็อาจแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองที่ผู้ใช้รายนั้นอยู่ทันที
แต่สำหรับกรณีของชายวัย 48 ปี รายนี้เขาระบุว่า ประสบการณ์ที่เขาได้รับแสดงให้เห็นถึงอันตรายจากวิธีปฏิบัติต่อปัญหาที่เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กได้ทำลงไป
“จุดอ่อนที่อยากชี้ให้เห็นก็คือ ระบบนี้ไม่มีการตรวจสอบ และควบคุมใดๆ เลย เฟซบุ๊กควรปล่อยให้การป้องกันการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องของครอบครัว และเพื่อนของคนคนนั้นมากกว่า และคนที่มาใส่เครื่องหมายให้แก่โพสต์ที่ระบุว่าจะฆ่าตัวตายของผมนั้นก็เป็นคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลยด้วย” Tusch กล่าว
อย่างไรก็ดี ทางกลุ่ม Consumer Watchdog ของสหรัฐอเมริกา ก็ออกมาแสดงความเห็นด้วยต่อชายวัย 48 ปีรายนี้ และได้ส่งจดหมายถึงมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊กแล้วเช่นกัน
จดหมายจากเจมี่ คอร์ท ประธานกลุ่ม Consumer Watchdog ระบุว่า การกระทำของเฟซบุ๊กได้ทำให้ชายผู้นี้สูญเสียอิสรภาพเป็นจำนวน 70 ชั่วโมง และจะมีเหยื่อจากเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ถูกจับจากเว็บของเฟซบุ๊ก หากบริษัทไม่ปรับปรุงขั้นตอนและกระบวนการของโปรแกรมป้องกันการฆ่าตัวตายดังกล่าว
ล่าสุด ยังไม่มีตัวแทนจากเฟซบุ๊กออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 23 มีนาคม 2558
ลองดีระบบป้องกันฆ่าตัวตาย เฟซบุ๊กส่งตำรวจไปรับถึงที่
เข้มของจริง! มาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายในเฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมออนไลน์แผลงฤทธิ์ หลังมีชายวัย 48 ปี อยากลองดีด้วยการโพสต์ข้อความว่าจะฆ่าตัวตาย สุดท้ายถูกจับกุม และส่งตัวเข้าสถาบันด้านจิตวิทยา 3 วัน
Shane Tusch วัย 48 ปี คือผู้ที่กล้าลองดีมาตรการของเฟซบุ๊ก โดยเขาทำงานเป็นช่างไฟฟ้าพาร์ตไทม์ในซานมาทีโอ แคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันแต่งงานแล้ว แถมมีบุตรถึง 2 คน ซึ่งเขาให้เหตุผลในการโพสต์ครั้งนี้ว่า ต้องการทดสอบโปรแกรมการป้องกันการฆ่าตัวตายแบบใหม่ของเฟซบุ๊กนั่นเอง
สำหรับโพสต์ของ Tusch นั้นระบุว่า เขาจะแขวนคอตัวเองที่สะพานโกลเดนเกทต์ และมีผู้มาพบข้อความนี้เข้าก่อนจะแจ้งตำรวจให้ไปจับกุมเขาในที่สุด ซึ่งทางเฟซบุ๊กก็ได้ล็อกแอ็กเคานต์ของชายคนนี้ไปแล้วเรียบร้อย
ระบบใหม่เข้มเกินไป?
มาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบใหม่ที่เฟซบุ๊กเริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นั้น ได้ให้สิทธิแก่ผู้อ่านในการใส่เครื่องหมายพิเศษลงในโพสต์ของข้อความที่ส่อไปว่าจะเกิดการฆ่าตัวตายได้ เพื่อเฟซบุ๊กจะได้ตรวจสอบข้อความดังกล่าว ก่อนจะส่งทีมงานที่ได้รับการอบรมไปให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่โพสต์ข้อความ
รูปแบบการช่วยเหลือนั้น ทางเฟซบุ๊กจะติดต่อเพื่อเสนอความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งานเมื่อพวกเขาล็อกอินเข้ามาในระบบอีกครั้ง หรือหากเฟซบุ๊กพิจารณาแล้วว่า การฆ่าตัวตายอาจำลังเกิดขึ้น เฟซบุ๊กก็อาจแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองที่ผู้ใช้รายนั้นอยู่ทันที
แต่สำหรับกรณีของชายวัย 48 ปี รายนี้เขาระบุว่า ประสบการณ์ที่เขาได้รับแสดงให้เห็นถึงอันตรายจากวิธีปฏิบัติต่อปัญหาที่เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กได้ทำลงไป
“จุดอ่อนที่อยากชี้ให้เห็นก็คือ ระบบนี้ไม่มีการตรวจสอบ และควบคุมใดๆ เลย เฟซบุ๊กควรปล่อยให้การป้องกันการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องของครอบครัว และเพื่อนของคนคนนั้นมากกว่า และคนที่มาใส่เครื่องหมายให้แก่โพสต์ที่ระบุว่าจะฆ่าตัวตายของผมนั้นก็เป็นคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลยด้วย” Tusch กล่าว
อย่างไรก็ดี ทางกลุ่ม Consumer Watchdog ของสหรัฐอเมริกา ก็ออกมาแสดงความเห็นด้วยต่อชายวัย 48 ปีรายนี้ และได้ส่งจดหมายถึงมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊กแล้วเช่นกัน
จดหมายจากเจมี่ คอร์ท ประธานกลุ่ม Consumer Watchdog ระบุว่า การกระทำของเฟซบุ๊กได้ทำให้ชายผู้นี้สูญเสียอิสรภาพเป็นจำนวน 70 ชั่วโมง และจะมีเหยื่อจากเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ถูกจับจากเว็บของเฟซบุ๊ก หากบริษัทไม่ปรับปรุงขั้นตอนและกระบวนการของโปรแกรมป้องกันการฆ่าตัวตายดังกล่าว
ล่าสุด ยังไม่มีตัวแทนจากเฟซบุ๊กออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 23 มีนาคม 2558