Page 1 of 1

สั่งสำรวจที่ดินรถไฟ 2 แสนไร่

Posted: 24 Mar 2015, 17:07
by brid.ladawan
สั่งสำรวจที่ดินรถไฟ 2 แสนไร่

ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. สั่งสำรวจที่ดิน 2 แสนไร่ทั่วประเทศ 4 แสนล้านใหม่ หลังเก็บรายได้น้อย แถมแนวโน้มราคาพุ่ง ตั้งเป้าปั้มรายได้เพิ่ม 20%

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ ร.ฟ.ท.ลงไปสำรวจที่ดินของรถไฟกว่า 2 แสนไร่ทั่วประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้ มีที่ดินเชิงพาณิชย์อยู่ 1 แสนไร่ เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่ดินทุกแปลงใหม่ว่ามีราคาประเมิน ราคาตลาด ราคาซื้อขายจริงเท่าไร รวมถึงกวันอังคาร 24 มีนาคม 2558 เวลา 15:30 น.
ำหนดพิกัดจุดอ่อนจุดแข็งให้ชัดเจน และนำมาใช้ประกอบแผนการพัฒนาที่ดินและเพิ่มรายได้แก่ร.ฟ.ท. ให้สูงขึ้น หลังจากที่ผ่านมาพบว่า ร.ฟ.ท.ยังใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ไม่เต็มศักยภาพ และยังมีรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่

“การสำรวจที่ดินล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา โดยขณะนั้นประเมินว่าร.ฟ.ท.มีมูลค่าที่ดิน 4 แสนล้านบาท แต่ขณะนี้เชื่อว่ามูลค่าที่ดินต่างๆ น่าจะเพิ่มสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 10-20% จึงต้องสำรวจใหม่ และตั้งเป้าหมายว่าภายใน 3 เดือนข้อมูลใหม่ต้องเสร็จ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปหารือกับฝ่ายบริหารต่อ ควรนำไปพัฒนารูปแบบสวัสดิการพนักงาน หรือพัฒนาเชิงพาณิชย์ แต่เบื้องต้นเชื่อว่าแผนการสำรวจและพัฒนาที่ดินครั้งนี้น่าจะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้เพิ่มไม่ต่ำกว่า 20%”

สำหรับที่ดินในต่างจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนา เช่น ที่ดิน 1,000 ไร่ ใน จ.กาญจนบุรี ที่มีแนวคิดพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกบุคลากรรถไฟ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รวมถึงอาจนำพื้นที่บางส่วนมาพัฒนาเป็นเส้นทางรถไฟเชิงท่องเที่ยว สำหรับจักรยานตามนโยบาย รมว.คมนาคม ขณะที่ จ.เชียงใหม่ ก็มีพื้นที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ รวมถึงเปิดให้เอกชนมาเช่าลงทุนในเชิงพาณิชย์ เช่น ทำโรงแรมแต่มีสวัสดิการให้พนักงานรถไฟได้พักราคาพิเศษ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สี่คิ้ว จ.นครราชสีมา รวมถึง จ.หนองคาย ซึ่งอยู่ในจังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด้วย

สำหรับการพัฒนาที่ดินในกรุงเทพฯ มีที่ดินสำคัญ เช่น สถานีรถไฟแม่น้ำ 277 ไร่, สถานีรถไฟ กม.11 ขนาด 359 ไร่ และสถานีมักกะสัน 497 ไร่ โดย ขณะนี้ได้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี ให้ไปศึกษาการพัฒนาพื้นที่มักกะสันให้เป็นปลอดของคนกรุงเทพฯ ให้เสร็จภายใน 2 เดือนครึ่ง โดยภายในมีสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์รถไฟ พื้นที่เชิงพาณิชย์ รวมถึงโครงการพระราชดำริแก้มลิง บริเวณบึงมักกะสัน ส่วนพื้นที่อื่นต้องรอผลสำรวจข้อมูลที่ดินใหม่ก่อนว่าเป็นอย่างไร หลังจากนั้นจะนำข้อมูลมาศึกษาเพิ่มเติมต่อว่า การรถไฟควรลงทุน ออกแบบเอง หรือเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนแค่ไหน

ส่วนแผนการนำที่ดินรถไฟไปปลดหนี้นั้น จะต้องรอนโยบายของ รมว.คมนาคม ซึ่งขณะนี้ได้ให้ฝ่ายบัญชีไปพิจารณาแบ่งแยกหนี้มูลค่ากว่าแสนล้านบาทว่า เป็นหนี้ที่เกิดจากการลงทุนของรถไฟ หรือหนี้เชิงสังคมจากการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยหากแยกหนี้ออกมาแล้วจะช่วยให้เห็นชัดเจนว่าหนี้มาจากอะไร และทำให้หนี้ที่เกิดจาก ร.ฟ.ท.เองเหลือน้อยลง ส่วนหนี้เชิงสังคมเห็นว่าภาครัฐควรเข้ามาช่วยรับผิดชอบ

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 24 มีนาคม 2558